ข้ามไปเนื้อหา

มักกะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มักกะหฺ)
มักกะฮ์

مكة

  • เมืองหลวงศักดิ์สิทธิ์ (العاصمة المقدسة)
  • มารดาที่อยู่อาศัยทั้งปวง (أم القرى)
นคร
Makkah al-Mukarramah (مكة المكرمة)
มัสยิดอัลฮะรอม (มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์)
ย่านมินา
พิกัด: 21°25′21″N 39°49′24″E / 21.42250°N 39.82333°E / 21.42250; 39.82333
ประเทศซาอุดีอาระเบีย
แคว้นมักกะฮ์
เขตผู้ว่าการเขตผู้ว่าการนครศักดิ์สิทธิ์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีSaleh Al-Turki
 • ผู้ว่าการแคว้นคอลิด บิน ฟัยศ็อล อาล ซะอูด
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,200 ตร.กม. (500 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน760 ตร.กม. (290 ตร.ไมล์)
ความสูง277 เมตร (909 ฟุต)
ประชากร
 (2015)
 • ทั้งหมด1,578,722 คน
 • ประมาณ 
(2020)
2,042,000 คน
 • อันดับที่ 3 ในซาอุดีอาระเบีย
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานอาหรับ)
รหัสพื้นที่+966-12
เว็บไซต์hmm.gov.sa

มักกะฮ์ (อาหรับ: مكة)[1] มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (อาหรับ: مكة المكرمة) เป็นเมืองหลักของแคว้นมักกะฮ์ ฮิญาซ ภาคตะวันตกของประเทศซาอุดีอาระเบีย และถือเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลาม[2] ตั้งอยู่ห่างจากญิดดะฮ์ 70 กิโลเมตร และอยู่ในหุบเขาแคบที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร จำนวนประชากรที่บันทึกใน ค.ศ. 2015 มี 1,578,722 คน[3]

มักกะฮ์โดยทั่วไปถือเป็น "แหล่งกำเนิดและอู่ของศาสนาอิสลาม"[4][5] มักกะฮ์ได้รับการนับถือในศาสนาอิสลามในฐานะสถานที่ที่นบีมุฮัมมัดถือกำเนิด ถ้ำฮิรออ์เหนือญะบะลุนนูร ("ภูเขาแห่งแสง") นอกตัวนคร เป็นบริเวณที่มุสลิมเชื่อว่าเป็นที่ที่มุฮัมมัดได้รับโองการจากอัลกุรอานครั้งแรก[6] การเยี่ยมมักกะฮ์ในพิธีฮัจญ์เป็นข้อบังคับสำหรับมุสลิมที่มีความสามารถทุกคน มัสยิดใหญ่แห่งมักกะฮ์ รู้จักกันในชื่อ มัสยิดิลฮะรอม เป็นที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ ซึ่งมุสลิมเชื่อว่าสร้างขึ้นโดยอิบรอฮีมและอิสมาอีล มักกะฮ์เป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอิสลาม และเป็นชุมทิศสำหรับมุสลิมทุกคน (กิบลัต)[7]

ผู้นำมุสลิมทั้งในและรอบภูมิภาคได้พยายามถือครองเมืองนี้และควบคุมให้อยู่ในดินแดนของตน ทำให้นครนี้พบกับการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือการพิชิตในการพิชิตฮิญาซของซาอุดีโดยอิบน์ ซะอูดและพันธมิตรใน ค.ศ. 1925 นับตั้งแต่นั้นมา มักกะฮ์ก็พบกับการขยายขนาดและโครงสร้างพื้นฐานอย่างมากด้วยอาคารที่ใหม่และทันสมัยกว่า รัฐบาลซาอุดีอาระเบียยังมีส่วนในการทำลายล้างโครงสร้างทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานหลายแห่ง[8] เช่น ป้อมปราการอัจญ์ยาด[9][10][11] ผู้ที่มิใช่มุสลิมถูกห้ามไม่ให้เข้าเมืองอย่างเด็ดขาด[12][13]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ศัพทมูลวิทยาของมักกะฮ์ยังคงกำกวม[14] กล่าวกันว่า ชื่อนี้เป็นชื่อแรกของหุบเขาที่ตั้งอยู่ในนั้นโดยเฉพาะ ในขณะที่นักวิชาการมุสลิมใช้สื่อถึงพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองที่อยู่ล้อมรอบ และรวมกะอ์บะฮ์[15][16]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อัลกุรอาน 48:22
  2. Merriam-Webster, Inc (2001). Merriam-Webster's Geographical Dictionary. p. 724. ISBN 978-0-87779-546-9.
  3. "Government statistics of Makkah in 2015" (PDF). 17 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 November 2018. สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.
  4. Ogle, Vanessa (2015). The Global Transformation of Time: 1870–1950. Harvard University Press. p. 173. ISBN 9780674286146. Mecca, "the fountainhead and cradle of Islam," would be the center of Islamic timekeeping.
  5. Nicholson, Reynold A. (2013). Literary History Of The Arabs. Routledge. p. 62. ISBN 9781136170164. Mecca was the cradle of Islam, and Islam, according to Muhammad, is the religion of Abraham.
  6. Khan, A M (2003). Historical Value Of The Qur An And The Hadith. Global Vision Publishing Ho. pp. 26–. ISBN 978-81-87746-47-8.; Al-Laithy, Ahmed (2005). What Everyone Should Know About the Qur'an. Garant. pp. 61–. ISBN 978-90-441-1774-5.
  7. Nasr, Seyyed (2005). Mecca, The Blessed, Medina, The Radiant: The Holiest Cities of Islam. Aperture. ISBN 0-89381-752-X.
  8. "Wahhābī (Islamic movement)". Encyclopædia Britannica. Edinburgh: Encyclopædia Britannica, Inc. 9 June 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2020. สืบค้นเมื่อ 8 September 2020. Because Wahhābism prohibits the veneration of shrines, tombs, and sacred objects, many sites associated with the early history of Islam, such as the homes and graves of companions of Muhammad, were demolished under Saudi rule. Preservationists have estimated that as many as 95 percent of the historic sites around Mecca and Medina have been razed.
  9. Taylor, Jerome (24 September 2011). "Mecca for the rich: Islam's holiest site 'turning into Vegas'". The Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2017.
  10. A Saudi tower: Mecca versus Las Vegas: Taller, holier and even more popular than (almost) anywhere else, The Economist (24 June 2010), Cairo.
  11. Fattah, Hassan M.Islamic Pilgrims Bring Cosmopolitan Air to Unlikely City เก็บถาวร 24 กันยายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The New York Times (20 January 2005).
  12. Peters, Francis E. (1994). The Hajj: The Muslim Pilgrimage to Mecca and the Holy Places. Princeton University Press. p. 206. ISBN 978-0-691-02619-0.
  13. Esposito, John L. (2011). What everyone needs to know about Islam. Oxford University Press. p. 25. ISBN 978-0-19-979413-3. Mecca, like Medina, is closed to non-Muslims
  14. Versteegh, Kees (2008). C.H.M. Versteegh; Kees Versteegh (บ.ก.). Encyclopedia of Arabic language and linguistics, Volume 4 (Illustrated ed.). Brill. p. 513. ISBN 978-90-04-14476-7.
  15. อัลกุรอาน 3:96
  16. Peterson, Daniel C. (2007). Muhammad, prophet of God. Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 22–25. ISBN 978-0-8028-0754-0.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

ออนไลน์

[แก้]
  • Mecca Saudi Arabia, in Encyclopædia Britannica Online, by John Bagot Glubb, Assʿad Sulaiman Abdo, Swati Chopra, Darshana Das, Michael Levy, Gloria Lotha, Michael Ray, Surabhi Sinha, Noah Tesch, Amy Tikkanen, Grace Young and Adam Zeidan

แหล่งข้อมูลลอื่น

[แก้]