ฮาโลเทน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
AHFS/Drugs.com | ข้อมูลยาของ FDA สำหรับผู้เชี่ยวชาญ |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | การสูดดม[1] |
รหัส ATC | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ (CYP2E1[2]) |
การขับออก | ไต, ระบบหายใจ |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.005.270 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C2HBrClF3 |
มวลต่อโมล | 197.381 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
ฮาโลเทน (Halothane) หรือชื่อทางการค้าคือ ฟลูโอเทน (Fluothane) เป็นยาสลบประเภททั่วไป รับโดยการสูดดม[1]ใช้เพื่อทำให้เกิดภาวะไร้ความรู้สึก ยาสงบชนิดนี้มีข้อดีกว่าชนิดอื่นตรงที่ไม่เพิ่มปริมาณน้ำลายซึ่งเป็นอุปสรรคในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
อาการข้างเคียงของการใช้ฮาโลเทน ได้แก่ อัตราชีพจรผิดปกติ, หายใจลำบาก และโรคตับ ยาชนิดนี้สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการตัวร้อนหรือมีประวัติตัวร้อนสูงขั้นรุนแรงได้[1] ยังไม่เป็นที่สรุปว่ายาประเภทนี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้ไม่ถูกแนะนำให้ใช้ในการผ่าท้องทำคลอด[3]
ฮาโลเทนถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2498[4] และเป็นหนึ่งในยาหลักขององค์การอนามัยโลก ใช้กันมากในการรักษาทั่วไป[5] ยาชนิดนี้นิยมใช้กันมากในประเทศกำลังพัฒนา มีราคาขายส่งอยู่ที่ 20.41 ถึง 34.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อขวด 250 มม.[6] แต่ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ยาชนิดนี้ถูกแทนที่ด้วยยาชนิดใหม่กว่าอย่างซีโวฟลูเรน[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 WHO Model Formulary 2008 (PDF). World Health Organization. 2009. pp. 17–18. ISBN 978-92-4-154765-9. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2016.
- ↑ "Halothane". DrugBank: DB01159.
- ↑ "Halothane - FDA prescribing information, side effects and uses". www.drugs.com. มิถุนายน 2005. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2016.
- ↑ Walker, S. R. (2012). Trends and Changes in Drug Research and Development (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 109. ISBN 978-94-009-2659-2.
- ↑ "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2014.
- ↑ Julie E. Frye, บ.ก. (2016). Halothane LIQUID (INHL) (PDF). International Medical Products Price Guide (2015 ed.). Management Sciences for Health. p. A-76. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2024.
- ↑ Yentis, Steven M.; Hirsch, Nicholas P.; Ip, James (2013). Anaesthesia and Intensive Care A-Z: An Encyclopedia of Principles and Practice (ภาษาอังกฤษ) (5 ed.). Elsevier Health Sciences. p. 264. ISBN 978-0-7020-5375-7.