ซีโวฟลูเรน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | Sojourn, Ultane, Sevorane, ฯลฯ |
AHFS/Drugs.com | ข้อมูลยาสำหรับผู้บริโภค |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | หายใจเข้า |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ ผ่านทาง CYP2E1 |
สารซึ่งได้หลังการเปลี่ยนแปลงยา | Hexafluoroisopropanol |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 15–23 ชั่วโมง |
การขับออก | Kidney |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.171.146 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C4H3F7O |
มวลต่อโมล | 200.056 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดเดือด | 58.5 องศาเซลเซียส (137.3 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ซีโวฟลูเรน (อักษรโรมัน: Sevoflurane) หรือชื่อการค้า เช่น ซีโวเรน (Sevorane) เป็นไอโซโพรพิลอีเธอร์ ชนิดฟลูออรีเนตที่ปริมาณสูง มีคุณสมบัติไม่ติดไฟและมีกลิ่นหอมหวาน ใช้เป็นยาระงับความรู้สึกชนิดสูดดมเพื่อใช้ชักนำและคงระดับของการระงับความรู้สึกทั่ว มีระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์เร็วที่สุดเป็นที่สอง เป็นรองเพียงเดสฟลูเรน[1] ซีโวฟลูเรนเป็นหนึ่งในยาระงับความรู้สึกชนิดสารระเหยที่นิยมใช้มากที่สุดในทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการระงับความรู้สึกสำหรับกรณีผู้ป่วยนอก [2] มีใช้ในทุกชืวงอายุ และมีใช้ในสัตวแพทย์เช่นกัน ซีโวฟลูเรนและเดสฟลูเรนเข้ามาแทนที่ไอโซฟลูเรน และ ฮาโลเธน ในหัตถการวิสัญญียุคใหม่ ส่วนใหญ่ให้แก่ผู้ป่วยผ่านการผสมกับไนตรัสออกไซด์และออกซิเจน
ซีโวฟลูเรนมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการลดความดันเลือดและปริมาณเลือดออกจากหัวใจ (cardiac output) โดยสัมพันธ์กับขนาดยา (dose dependent) และมีฤทธิ์ขยายหลอดลม กระนั้น ในผู้ป่วยรายที่มีพยาธิสภาพที่ปอดอยู่เดิม อาจไปกระตุ้นให้เกิดการไอและการหดตัวของลาริงซ์ ซีโวฟลูเรนออกฤทธิ์ลดการตอบสนองการหายใจต่อภาวะออกซิเจนต่ำและภาวะคาร์บอนไดออกไซด์สูง และต้านการบีบตัวของหลอดเลือดปอดในภาวะออกซิเจนต่ำ นอกจากนี้ ฤทธิ์การขยายหลอดเลือดยังส่งผลให้ไปเพิ่มความดันในช่องสมอง (intracranial pressure) และปริมาณเบือดเลี้ยงสมอง (cerebral blood flow) แต่ลดอัตราเมทาบอลิสม์ของสมอง (cerebral metabolic rate)[3][4]
ซีโวฟลูเรนมีรายงานความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม[2] แต่ยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบถึงภาะวพิษต่อระบบประสาท และอาจส่งผลเพิ่มความเร็วในการเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์์[5] ซีโวฟลูเรนเป็นสารที่นิยมสำหรับการชักนำผ่านหน้ากากก๊าส (mask induction) เนื่องมาจากมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุมิวคัสน้อยกว่า ซีโวฟลูเรนยังนิยมใช้ในการชักนำ (induction) กับคงระดับ (maintenance) ของยาระงับความรู้สึกเด็กเพื่อทำหัตถการทางศัลยกรรม[6] ในระหว่างการตื่นจากยา มีรายงานว่าซีโรฟลูเรนมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไม่ให้ความร่วมมือ (agitation) และ ดีลิเรียม ในเด็กวัยก่อนประถมที่เข้ารับการผ่าตัดเล็ก[6] ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะสามารถป้องกันได้หรือไม่[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sakai EM, Connolly LA, Klauck JA (December 2005). "Inhalation anesthesiology and volatile liquid anesthetics: focus on isoflurane, desflurane, and sevoflurane". Pharmacotherapy. 25 (12): 1773–1788. doi:10.1592/phco.2005.25.12.1773. PMID 16305297. S2CID 40873242.
- ↑ 2.0 2.1 "Drug Record: Sevoflurane". Livertox: Clinical and Research Information on Drug-Induced Liver Injury. 2 July 2014. PMID 31643176. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
- ↑ Edgington TL, Muco E, Maani CV (2022). "Sevoflurane". StatPearls. PMID 30521202.
- ↑ Green WB (December 1995). "The ventilatory effects of sevoflurane". Anesthesia and Analgesia. 81 (6 Suppl): S23–S26. doi:10.1097/00000539-199512001-00004. PMID 7486144.
- ↑ "Anesthetic May Affect Tau Spread in the Brain to Promote Alzheimer's Disease Pathology". Neuroscience News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Costi D, Cyna AM, Ahmed S, Stephens K, Strickland P, Ellwood J, และคณะ (September 2014). "Effects of sevoflurane versus other general anaesthesia on emergence agitation in children". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 9 (9): CD007084. doi:10.1002/14651858.CD007084.pub2. PMID 25212274.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Patel SS, Goa KL (April 1996). "Sevoflurane. A review of its pharmacodynamic and pharmacokinetic properties and its clinical use in general anaesthesia". Drugs. 51 (4): 658–700. doi:10.2165/00003495-199651040-00009. PMID 8706599. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2010-05-29.
Haria M, Bryson HM, Goa KL, Patel SS (August 1996). "Erratum". Drugs. 52 (2): 253. doi:10.1007/bf03257493. - Wallin RF, Regan BM, Napoli MD, Stern IJ (Nov–Dec 1975). "Sevoflurane: a new inhalational anesthetic agent". Anesthesia and Analgesia. 54 (6): 758–766. doi:10.1213/00000539-197511000-00021. PMID 1239214. S2CID 26832938.