ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอนครชัยศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.นครไชยศรี)
อำเภอนครชัยศรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nakhon Chai Si
ลำน้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำนครชัยศรี คือแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดนครปฐม แต่เดิมเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลายเคยเป็นที่ตั้งมณฑลนครชัยศรี ดังนั้นแม่น้ำที่ไหลผ่านบริเวณดังกล่าว จึงมีผู้นิยมเรียกกันว่า "แม่น้ำนครชัยศรี"
ลำน้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำนครชัยศรี คือแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดนครปฐม แต่เดิมเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลายเคยเป็นที่ตั้งมณฑลนครชัยศรี ดังนั้นแม่น้ำที่ไหลผ่านบริเวณดังกล่าว จึงมีผู้นิยมเรียกกันว่า "แม่น้ำนครชัยศรี"
คำขวัญ: 
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอนครชัยศรี
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอนครชัยศรี
พิกัด: 13°48′4″N 100°16′18″E / 13.80111°N 100.27167°E / 13.80111; 100.27167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด284.031 ตร.กม. (109.665 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด111,723 คน
 • ความหนาแน่น393.35 คน/ตร.กม. (1,018.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73120
รหัสภูมิศาสตร์7303
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี เลขที่ 7
หมู่ที่ 1 ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครชัยศรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

สถานีรถไฟนครชัยศรี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ได้ดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการประชาชนที่ใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มานานกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีการอนุรักษ์อาคารอยู่ในสภาพที่ดีมาก
วัดกลางบางแก้ว เดิมชื่อว่าวัดคงคาราม คนทั่วไปแถบบริเวณนครชัยศรีนี้ มักเรียกว่า วัดกลาง เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหรือตอนปลายของยุคอู่ทอง

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอนครชัยศรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

วัดบางพระ สร้างราวปี พ.ศ. 2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากรพิจารณาดินเผาของพระอุโบสถ อยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ส่วนพระประธานที่เป็นพระปฏิมากรหินทรายแดงจัดให้อยู่ในสมัยอโยธยาสุพรรณภูมิ (อู่ทอง)

ประวัติ

[แก้]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่อำเภอนครชัยศรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองนครชัยศรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111) โปรดให้สร้างเมืองใหม่ แขวงเมืองราชบุรีจึงถูกแบ่งพื้นที่บางส่วนรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี เพื่อรองรับพลเมืองไทยที่หนีสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089) ไปอยู่ตามป่าเขา ให้กลับเข้ามาเป็นกำลังของพระนครยามมีศึก มีตัวเมืองอยู่ใต้ปากคลองบางแก้ว (ห่างจากตัวอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร) เดิมนั้นสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้โอนไปสังกัดกรมท่า

เมืองนครชัยศรีมีความสำคัญมากในยุคนั้น ดังจะเห็นได้จากมีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ทะลุจากแม่น้ำเจ้าพระยามายังแม่น้ำนครชัยศรี และขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ที่เมืองนครปฐมเมื่อครั้งยังเป็นมณฑลนครชัยศรี นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ไปถึงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแล้วเสร็จในสมัยรัชการที่ 6 โดยในเขตอำเภอนครชัยศรี มีสถานีรถไฟถึง 3 สถานี คือ สถานีรถไฟวัดงิ้วราย สถานีรถไฟนครชัยศรี (บ้านเขมร) และสถานีรถไฟท่าแฉลบ ไม่นับรวมสถานีรถไฟคลองมหาสวัสดิ์ สถานีรถไฟวัดสุวรรณ และสถานีรถไฟศาลายา ในเขตอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งแยกออกไปจากอำเภอนครชัยศรี เมื่อปี พ.ศ. 2534

ครั้นเมื่อมีการปรับปรุงการปกครองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2437 ในรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น และจัดรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองนครชัยศรีได้โอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และตั้งมณฑลขึ้นโดยรวมเมืองนครชัยศรี เมืองสมุทรสาคร และเมืองสุพรรณบุรีไว้ในมณฑลเดียวกัน เรียกว่า มณฑลนครชัยศรี (เดิมเขียนเป็น มณฑลนครไชยศรี) มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองนครชัยศรี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยุบมณฑลนครชัยศรีลง เมืองนครชัยศรีเดิมถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอนครชัยศรี ขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม

  • วันที่ 18 กรกฏาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี ในพื้นที่บางส่วนของตำบลวัดแค ตำบลนครชัยศรี ตำบลบางกะเบา และ ตำบลท่าตำหนัก [1]
  • วันที่ 14 กันยายน 2522 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู ในพื้นที่บางส่วนตำบลห้วยพลู [2]
  • วันที่ 1 มกราคม 2527 ได้โอนพื้นที่หมู่ 3 และ หมู่ 6 (ที่มีพื้นที่อยู่ในพุทธมณฑล) ของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับ ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี (ในขณะนั้น) [3]
  • วันที่ 1 เมษายน 2534 จัดตั้ง กิ่งอำเภอพุทธมณฑล โดยแยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และ ตำบลมหาสวัสดิ์ โดยให้ขึ้นกับอำเภอนครชัยศรี [4]
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2539 ยกฐานะเป็น อำเภอพุทธมณฑล [5]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครชัยศรี และ สุขาภิบาลห้วยพลู เป็น เทศบาลตำบลนครชัยศรี และ เทศบาลตำบลห้วยพลู
แม่น้ำนครชัยศรี มุมมองจากฝั่งตำบลนครชัยศรี
"ส้มโอหวาน" ท่อนแรกของคำขวัญจังหวัดนครปฐม หรือส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งของนครชัยศรี เป็นผลไม้เลื่องชื่อที่จำหน่ายอยู่ตามริมถนนสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ริมถนนเพชรเกษม รวมทั้งตลาดในอำเภอนครชัยศรี
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่อยู่คู่ประเทศไทยมามากกว่า 20 ปี เป็นอาคารสองชั้นจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสที่มีความสวยงามและสมจริง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนแก้ว
พิพิธภัณฑ์จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ภายในอาคารมีการจัดแสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงค์จักรี เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอนครชัยศรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 ตำบล 108 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[6]
1 นครชัยศรี Nakhon Chai Si
3
3,815
2 บางกระเบา Bang Krabao
3
5,038
3 วัดแค Wat Khae
4
2,456
4 ท่าตำหนัก Tha Tamnak
4
9,525
5 บางแก้ว Bang Kaeo
4
3,826
6 ท่ากระชับ Tha Krachap
4
3,988
7 ขุนแก้ว Khun Kaeo
4
7,852
8 ท่าพระยา Tha Phraya
5
3,834
9 พะเนียด Phaniat
4
3,822
10 บางระกำ Bang Rakam
4
4,873
11 โคกพระเจดีย์ Khok Phra Chedi
5
4,699
12 ศีรษะทอง Sisa Thong
5
7,108
13 แหลมบัว Laem Bua
8
7,250
14 ศรีมหาโพธิ์ Si Maha Pho
5
4,266
15 สัมปทวน Sampathuan
6
3,761
16 วัดสำโรง Wat Samrong
4
1,829
17 ดอนแฝก Don Faek
4
3,036
18 ห้วยพลู Huai Phlu
5
4,701
19 วัดละมุด Wat Lamut
5
5,584
20 บางพระ Bang Phra
4
2,788
21 บางแก้วฟ้า Bang Kaeo Fa
5
2,976
22 ลานตากฟ้า Lan Tak Fa
5
8,516
23 งิ้วราย Ngio Rai
4
2,946
24 ไทยาวาส Thaiyawat
4
2,888

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอนครชัยศรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 25 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครชัยศรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนครชัยศรี ตำบลบางกระเบา ตำบลวัดแค ตำบลท่าตำหนัก และตำบลบางแก้ว
  • เทศบาลตำบลห้วยพลู ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยพลู
  • เทศบาลตำบลขุนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศีรษะทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครชัยศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครชัยศรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดแค (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตำหนัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระเบาและตำบลท่าตำหนัก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้ว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากระชับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพระยาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพะเนียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพะเนียดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพึ้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกพระเจดีย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีมหาโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสัมปทวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสัมปทวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแฝกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยพลู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยพลู)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดละมุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้วฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลานตากฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทยาวาสทั้งตำบล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-88. 3 สิงหาคม 2499.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (184 ง): 3890–3891. 30 ตุลาคม 2522.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสามพราน กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (206 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. 31 ธันวาคม 2526.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพุทธมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): (ฉบับพิเศษ) 1067. 31 มกราคม 2534. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19.
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19.
  6. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.