ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอทุ่งเสลี่ยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.ทุ่งเสลี่ยง)
อำเภอทุ่งเสลี่ยม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thung Saliam
คำขวัญ: 
พระศิลามิ่งขวัญ โด่แม่ถันเด่นสง่า สวยล้ำค่าหินอ่อน เอื้ออาทรน้ำใจ รักษาไว้วัฒนธรรม
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอทุ่งเสลี่ยม
แผนที่จังหวัดสุโขทัย เน้นอำเภอทุ่งเสลี่ยม
พิกัด: 17°19′16.69″N 99°33′42.12″E / 17.3213028°N 99.5617000°E / 17.3213028; 99.5617000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุโขทัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด569.932 ตร.กม. (220.052 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด49,075 คน
 • ความหนาแน่น86.11 คน/ตร.กม. (223.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 64150
รหัสภูมิศาสตร์6409
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทุ่งเสลี่ยม หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย 64150
เว็บไซต์http://www.thungsaliam.org/ อำเภอทุ่งเสลี่ยม
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทุ่งเสลี่ยม[1] (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลนาทุ่ง อำเภอสวรรคโลก ซึ่งจัดตั้งเป็นตำบลทุ่งเสลี่ยมในปี พ.ศ. 2479 และจัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอทุ่งเสลี่ยมใน พ.ศ. 2500 และยกฐานะเป็นอำเภอทุ่งเสลี่ยม ในปี พ.ศ. 2502 เป็นประตูสู่อารยธรรมล้านนา โดย "ทุ่งเสลี่ยม" เป็นภาษาล้านนา หมายถึง ทุ่งสะเดา

นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม ปัจจุบัน นางสุภาวิณี นวลหงษ์

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอทุ่งเสลี่ยมมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติ

[แก้]

  ทุ่งเสลี่ยม  คนพื้นบ้านออกเสียงว่า โต้ง – สะ – เหลี่ยม “โต้ง” คือ “ทุ่ง” “เสลี่ยม” มาจากคำว่า “สะเลียม” สะเลียมเป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ทั่วไป  มีรสขม ดอกและใบรับประทานได้ ก็คือสะเดานั่นเอง อำเภอทุ่งเสลี่ยมเคยมีต้นสะเดามากมาย ต่อมามีคนเขียนผิดจากสะเลียม เป็น “เสลียม” จึงต้องอ่านว่า สะ – เหลียม ซึ่งเป็นวิธีอ่านอักษรนำ บ้านโต้งสะเลียมจึงเป็นบ้านโต้งเสลียม (สะเหลียม) ทุ่งเสลี่ยมขณะนั้นอยู่ในเขตการปกครองของตำบลนาทุ่ง   อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสวรรคโลก คนบ้านทุ่งสะเหลี่ยมส่วนใหญ่มาจากอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ใช้ภาษาล้านนา เมื่ออยู่ในปกครองของสุโขทัยจึงพยายามพูดเหมือนคนสุโขทัย เมื่อเขียนตามคำบอกออกเสียง สะ – เหลี่ยม จึงเขียนว่า “เสลี่ยม” ตามสำเนียงของชาวสุโขทัย เมื่อเป็นทุ่งเสลี่ยมชาวสุโขทัยก็ออกเสียงว่า  “ทุ่งซะเหลียม”

  • วันที่ 1 พฤศจิกายน 2479 ตั้งตำบลทุ่งเสลี่ยม แยกออกจากตำบลนาทุ่ง[2]
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน 2484 ตั้งตำบลกลางดง แยกออกจากตำบลทุ่งเสลี่ยม[3]
  • วันที่ 1 มกราคม 2485 ยุบตำบลกลางดง รวมกับตำบลทุ่งเสลี่ยม
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลกลางดง แยกออกจากตำบลทุ่งเสลี่ยม[4]
  • วันที่ 4 มิถุนายน 2500 แยกพื้นที่ตำบลทุ่งเสลี่ยม ตำบลกลางดง จากอำเภอสวรรคโลก มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอทุ่งเสลี่ยม[5] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสวรรคโลก
  • วันที่ 24 กันยายน 2500 ตั้งตำบลไทยชนะศึก แยกออกจากตำบลเมืองบางขลัง และตำบลทุ่งเสลี่ยม[6]
  • วันที่ 10 มกราคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอสวรรคโลก เป็น อำเภอทุ่งเสลี่ยม[7]
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งเสลี่ยม ในท้องที่บางส่วนของหมู่ 1,2,3,4 ตำบลทุ่งเสลี่ยม[8]
  • วันที่ 16 กันยายน 2508 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย มาขึ้นกับตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม และโอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านแก่ง อำเภอศรีสัชนาลัย มาขึ้นกับตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม[9]
  • วันที่ 28 กันยายน 2514 ตั้งตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล แยกออกจากตำบลไทยชนะศึก[10]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ แยกออกจากตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล[11]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะสภาตำบลทุ่งเสลี่ยม (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลทุ่งเสลี่ยม) สภาตำบลกลางดง สภาตำบลไทยชนะศึก สภาตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล และสภาตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเสลี่ยม องค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง องค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ตามลำดับ[12]
  • วันที่ 27 พฤษภาคม 2541 กำหนดพื้นที่เขตตำบลในท้องที่ใหม่ โดยให้ตำบลกลางดง มี 13 หมู่บ้าน ตำบลทุ่งเสลี่ยม มี 10 หมู่บ้าน ตำบลไทยชนะศึก มี 8 หมู่บ้าน ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ มี 7 หมู่บ้าน และตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล มี 5 หมู่บ้าน[13]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลทุ่งเสลี่ยม เป็นเทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม ด้วยผลของกฎหมาย[14]
  • วันที่ 23 มีนาคม 2549 จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ในเขตอำเภอทุ่งเสลี่ยม ดังนี้[15]
    • (1) แยกบ้านใหม่ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านใหม่เขาแก้ว
    • (2) แยกบ้านสามหลัง หมู่ที่ 5 ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 10 บ้านศรีสมบูรณ์
    • (3) แยกบ้านใหม่ หมู่ที่ 3 ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านใหม่ไทยชนะศึก
    • (4) แยกบ้านกมลราษฎร์ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 9 บ้านใหม่ไชยเจริญ
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ เป็น เทศบาลตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์[16]
  • วันที่ 27 มกราคม 2557 ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง เป็นเทศบาลตำบลกลางดง[17]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอทุ่งเสลี่ยมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 59 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านใหม่ไชยมงคล (Ban Mai Chai Mongkhon) 9 หมู่บ้าน
2. ไทยชนะศึก (Thai Chana Suek) 11 หมู่บ้าน
3. ทุ่งเสลี่ยม (Thung Saliam) 13 หมู่บ้าน
4. กลางดง (Klang Dong) 15 หมู่บ้าน
5. เขาแก้วศรีสมบูรณ์ (Khao Kaeo Si Sombun) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอทุ่งเสลี่ยมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 9 รวมถึงบางส่วนของหมู่ที่ 2-8 ของตำบลทุ่งเสลี่ยม
  • เทศบาลตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลกลางดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลางดงทั้งตำบล (จะเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมืองในวันที่ 28 มีนาคม 2568)[18]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ไชยมงคล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ไชยมงคลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทยชนะศึก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทยชนะศึกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเสลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งเสลี่ยม (นอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งเสลี่ยม)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ทุ่งเสลี่ยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-07. สืบค้นเมื่อ 2011-05-01.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอวังไม้ขอน จังหวัดสวรรคโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 2012–2013. November 1, 1936.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุโขทัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 4061–4062. November 18, 1941.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (51 ง): 1281–1282. June 4, 1957. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่จังหวัดสุโขทัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (80 ง): 2307–2308. September 24, 1957.
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-11. January 10, 1959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (105 ง): 2450–2451. October 29, 1963.
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (77 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. September 16, 1965.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสวรรคโลก และอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (104 ง): 2680–2684. September 28, 1971.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (146 ง): 3819–3821. October 16, 1984.
  12. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (จำนวน ๒๑๔๓ แห่ง)
  13. [2] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
  14. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-22.
  15. [3]ประกาศจังหวัดสุโขทัย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน [อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอสำโรง อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอกงไกรลาศ อำเภอทุ่งเสลี่ยม]
  16. [4]เทศบาลตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์
  17. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย เป็นเทศบาลตำบลกลางดง
  18. https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/47884.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]