ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอขลุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.ขลุง)
อำเภอขลุง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khlung
เขื่อนคิรีธารในพื้นที่อำเภอขลุง
เขื่อนคิรีธารในพื้นที่อำเภอขลุง
คำขวัญ: 
ผู้คนสามัคคี เมืองมีความสะอาด
ธรรมชาติเขียวขจี มากมีกุ้งหอยปูปลา นานาผลไม้
ยิ่งใหญ่ป่าชายเลนลุ่มน้ำเวฬุ เขื่อนคิรีธาร
แสนสำราญน้ำตกตรอกนอง
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอขลุง
แผนที่จังหวัดจันทบุรี เน้นอำเภอขลุง
พิกัด: 12°27′17″N 102°13′17″E / 12.45472°N 102.22139°E / 12.45472; 102.22139
ประเทศ ไทย
จังหวัดจันทบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด756.038 ตร.กม. (291.908 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด55,824 คน
 • ความหนาแน่น73.84 คน/ตร.กม. (191.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 22110,
22150 (เฉพาะตำบลบ่อเวฬุ)
รหัสภูมิศาสตร์2202
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอขลุง เลขที่ 98 ถนนเทศบาลสาย 1 ตำบลขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 22110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ขลุง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี คำว่า "ขลุง" หมายถึงพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง เดิมชาวขลุงมีอาชีพทำนาและประมง ปัจจุบันมีการปลูกผลไม้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตามตำนานเล่ากันว่าชาวพื้นเมืองมีเชื้อสายจาก "ชอง" มีภาษาพูดเป็นภาษาชองซึ่งแตกต่างจากภาษาเขมรและไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอขลุงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดจันทบุรี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 26.45 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 756.038 ตารางกิโลเมตร หรือ 742,523.75 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

สมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) สยามเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสซึ่งทำให้ต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไปโดยได้ตกลงทำสัญญาว่า ฝรั่งเศสจะยึดจันทบุรีไว้เป็นประกันนานถึง 11 ปีเศษ ในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) ได้มีการใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ คือจัดตั้งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านขึ้น ที่ทำงานของรัฐบาลในอำเภอเรียกว่า "ที่ว่าการอำเภอ" ซึ่งมีผลทำให้ขลุงจัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอขลุง ในปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117)

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอขลุงแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 90 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ขลุง (Khlung) - 7. ซึ้ง (Sueng) 11 หมู่บ้าน
2. บ่อ (Bo) 10 หมู่บ้าน 8. มาบไพ (Map Phai) 6 หมู่บ้าน
3. เกวียนหัก (Kwian Hak) 10 หมู่บ้าน 9. วังสรรพรส (Wang Sappharot) 9 หมู่บ้าน
4. ตะปอน (Tapon) 6 หมู่บ้าน 10. ตรอกนอง (Trok Nong) 6 หมู่บ้าน
5. บางชัน (Bang Chan) 6 หมู่บ้าน 11. ตกพรม (Tok Phrom) 11 หมู่บ้าน
6. วันยาว (Wan Yao) 8 หมู่บ้าน 12. บ่อเวฬุ [บ่อ-เวน] (Bo Wen) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอขลุงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองขลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขลุงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ่อเวฬุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อเวฬุทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเกวียนหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกวียนหักทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลตกพรม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตกพรมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลวันยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวันยาวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลซึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซึ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะปอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางชันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมาบไพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบไพทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังสรรพรส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสรรพรสทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตรอกนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรอกนองทั้งตำบล

ภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพพื้นที่ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นรูปเรียวยาว มีทั้งส่วนที่เป็นภูเขา ที่ราบ และป่าชายเลน

  • ภูเขา อยู่ในพื้นที่ตำบลบ่อเวฬุ ตำบลตรอกนอง มีลักษณะเป็นดอนสูง มีป่าและภูเขาอยู่ทั่วไป
  • ที่ราบ อยู่ในพื้นที่ตำบลวังสรรพรส ตำบลมาบไพ ตำบลตะปอน ตำบลซึ้ง โดยที่ตำบลบางชันและตำบลบ่อติดชายฝั่งทะเล (อ่าวไทย)
  • แม่น้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเวฬุ ไหลจากทิศเหนือของอำเภอลงสู่ทะเลที่บ้านเกาะจิก ตำบลบางชัน นอกจากนี้ ยังมีคลองน้ำจืดไหลผ่านหลายตำบล เช่น คลองขลุง คลองซึ้ง คลองตะปอน คลองเกวียนหัก คลองตรอกนอง คลองมาบไพ คลองเขาอ่าง คลองมะกอก เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]