อำเภอกุดข้าวปุ้น
อำเภอกุดข้าวปุ้น | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kut Khaopun |
คำขวัญ: กุดข้าวปุ้น เมืองอู่ข้าว พระเจ้าใหญ่ขุมคำ งามล้ำผ้าทอ บ้านก่อปอถัก ภูขามงามนัก ประชารักสามัคคี | |
แผนที่จังหวัดอุบลราชธานี เน้นอำเภอกุดข้าวปุ้น | |
พิกัด: 15°47′30″N 104°59′48″E / 15.79167°N 104.99667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 320.0 ตร.กม. (123.6 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 41,029 คน |
• ความหนาแน่น | 128.22 คน/ตร.กม. (332.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 34270 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3412 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกุดข้าวปุ้น หมู่ที่ 14 ถนนตระการพืชผล-กุดข้าวปุ้น ตำบลข้าวปุ้น อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี 34270 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
กุดข้าวปุ้น เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด แยกเขตการปกครองออกมาจากอำเภอตระการพืชผล เมื่อปี พ.ศ. 2514
ภูมิศาสตร์
[แก้]ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอกุดข้าวปุ้นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเขมราฐ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขมราฐและอำเภอโพธิ์ไทร
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอตระการพืชผล
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปทุมราชวงศา (จังหวัดอำนาจเจริญ)
ป่าไม้
[แก้]ป่าภูขาม เป็นส่วนหนึ่งในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงขุมคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทันน้ำ อำเภอกุดข้าวปุ้น และตำบลแก้งเหนือ ตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ จากนโยบายเปิดให้สัมปทานป่าไม้ในปี พ.ศ. 2514 ทำให้สภาพพื้นที่ป่าส่วนใหญ่ถูกทำลายลงจนเหลือพื้นที่ป่าอยู่ประมาณ 3,900 ไร่ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2525 ภูขามจึงถูกประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และมีการผลักดันชาวบ้านออกนอกพื้นที่ ในขณะที่การตัดไม้กับทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงมีชาวบ้านบางกลุ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่าภูขามอย่างยั่งยืน จึงเกิดเป็นเครือข่ายป่าชุมชนภูขามขึ้นมา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ บ้านโนนหินแร่ ตำบลหนองทันน้ำ
ปัจจุบันสถานการณ์ภายในพื้นที่ป่าภูขามมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินผืนป่าอย่างกว้างขวาง บริเวณพื้นที่รอบๆ ภูเขาได้มีการจับจองที่ดินทำกินกลายเป็นเรือกสวนไร่นาหมดสิ้น และมีสวนยางพาราผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ได้มีการอนุรักษ์ป่าไม้บางส่วนเป็นหัวไร่ปลายนาไว้เป็นแนวกันชนพื้นที่ป่าด้วยเช่นกัน [1]
แหล่งน้ำ
[แก้]อ่างเก็บน้ำห้วยหินกอง หรือชื่อเดิม อ่างเก็บน้ำห้วยตาเที่ยว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ใน 2 อำเภอคือ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ มีพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ความจุน้ำ 4 ล้านลูกบาศก์เมตร
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอกุดข้าวปุ้นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 75 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ข้าวปุ้น | (Khaopun) | 15 หมู่บ้าน | |||
2. | โนนสวาง | (Non Sawang) | 20 หมู่บ้าน | |||
3. | แก่งเค็ง | (Kaeng Kheng) | 13 หมู่บ้าน | |||
4. | กาบิน | (Ka Bin) | 14 หมู่บ้าน | |||
5. | หนองทันน้ำ | (Nong Than Nam) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอกุดข้าวปุ้นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลข้าวปุ้น
- องค์การบริหารส่วนตำบลข้าวปุ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลข้าวปุ้น (นอกเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสวางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเค็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งเค็งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกาบิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกาบินทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทันน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองทันน้ำทั้งตำบล
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนกุดข้าวปุ้นวิทยา
- โรงเรียนขุมคำวิทยาคาร
- โรงเรียนโนนสวางประชาสรรค์
การขนส่ง
[แก้]การเดินทางโดยรถยนต์ ถือเป็นเป็นการคมนาคมที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งของอำเภอกุดข้าวปุ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการสร้างทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดขึ้นมาหลายสาย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอข้างเคียง ทำให้การเดินทางมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และยังช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุนภายในอำเภอไปในตัวอีกด้วย ทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญในอำเภอกุดข้าวปุ้น ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 2232 เริ่มต้นจากอำเภอกุดข้าวปุ้น ผ่านเขตตำบลโนนสวาง บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 202 (ชัยภูมิ-เขมราฐ) ที่แยกบ้านหนองผือ ซึ่งสามารถเดินทางต่อไปยังอำเภอเขมราฐ หรืออำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญได้
- ทางหลวงหมายเลข 2252 เป็นเส้นทางสายสำคัญที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอปทุมราชวงศา ในจังหวัดอำนาจเจริญ มีความยาวประมาณ 15 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 2197 เริ่มต้นจากอำเภอกุดข้าวปุ้น ผ่านเขตตำบลกาบิน แล้วไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 2134 (โขงเจียม-แยกทางหลวง 212 (ลืออำนาจ)) ที่บ้านนาสะไม ช่วยเชื่อมต่อระหว่างอำเภอกุดข้าวปุ้นกับอำเภอข้างเคียงคือ อำเภอตระการพืชผลและอำเภอพนา
- ทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลราชธานี-เขมราฐ) พาดผ่านอำเภอกุดข้าวปุ้นทางด้านตะวันออก เขตตำบลแก่งเค็ง