ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอกันทรารมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.กันทรารมย์)
อำเภอกันทรารมย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Kanthararom
คำขวัญ: 
กันทรารมย์อุดมพริกหอมกระเทียม ยอดเยี่ยมกลองตุ้ม
ปลาชุมมูลชี หม้อดินดีโพนทราย
มีฝายหัวนา งามสง่าพระมงคลมิ่งเมือง
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอกันทรารมย์
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอกันทรารมย์
พิกัด: 15°6′24″N 104°34′12″E / 15.10667°N 104.57000°E / 15.10667; 104.57000
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด664.21 ตร.กม. (256.45 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด99,389 คน
 • ความหนาแน่น149.64 คน/ตร.กม. (387.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33130
รหัสภูมิศาสตร์3303
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอกันทรารมย์ หมู่ที่ 5 ถนนประชารังสฤษดิ์ ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 33130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เขื่อนหัวนา

กันทรารมย์ [กัน-ทะ-รา-รม][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่บนเส้นทางหลักเชื่อมระหว่างจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งการขนส่งทางบก และการขนส่งทางรางรถไฟ

อนึ่ง ในอำเภอกันทรารมย์ไม่มีตำบลที่ชื่อ "กันทรารมย์" ส่วนตำบลกันทรารมย์นั้นตั้งอยู่ในเขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอกันทรารมย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ห้วยขะยุงมาบรรจบกับแม่น้ำมูล
ด้านบนของเขื่อนหัวนา
ทางหลวงหมายเลข 2412 (ท่าวารี-ละทาย)
ทางหลวงหมายเลข 2412 (ท่าวารี-ละทาย)

ประวัติ

[แก้]

อำเภอกันทรารมย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2443 ชื่อว่าอำเภออุไทยศีร์ษะเกษ ตั้งอยู่ที่บ้านพันทา ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ มีหลวงพิศาลบรมศักดิ์ ซึ่งเป็นคนพื้นเมืองของท้องถิ่นนี้เป็นนายอำเภอคนแรก และได้ขึ้นการปกครองอยู่กับมณฑลอุบลราชธานี ต่อมาได้ยุบมณฑลอุบลราชธานี ตั้งเป็นจังหวัด อำเภอกลางศีร์ษะเกษ อำเภอปัจจิมศีร์ษะเกษ และอำเภออุไทยศีร์ษะเกษ จึงได้แยกย้ายกันไปตั้งอยู่แห่งใหม่

เมื่อปี พ.ศ. 2449 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภออุไทยศีร์ษะเกษ จากบ้านพันทา ไปตั้งอยู่ที่บ้านท่าช้าง ตำบลหนองบัว อำเภอกันทรารมย์ ในปัจจุบันทางฝั่งขวาริมแม่น้ำมูล​ เพื่ออาศัยแม่น้ำมูลเป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น ตลอดทั้งการไปติดต่อราชการ จังหวัดจะได้สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัยกว่าเดิมมาก ขณะที่กำลังก่อสร้างอาคารที่ว่าการยังไม่แล้วเสร็จ ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติงานจึงได้ไปอาศัยศาลา วัดบ้านหนองกก ตำบลยาง ในปัจจุบันเป็น ที่ทำการชั่วคราว จนถึง พ.ศ. 2451 จึงได้ย้ายที่ทำการจากศาลาวัดบ้านหนองกก ไปปฏิบัติราชการอยู่ที่ที่ว่าการอำเภอที่ตำบลหนองบัว

เมื่อ พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยศีร์ษะเกษ เป็นอำเภอกันทรารมย์ โดยเอาชื่อเมืองกันทรารมย์ ที่ถูกยุบลงเป็นตำบลกันทรารมย์ บ้านลุมพุก ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน มาเป็นชื่อของอำเภอเพราะต้องการรักษาชื่อเมืองและอนุรักษ์ชื่อ เมืองกันทรารมย์เดิม อันปรากฏในประวัติศาสตร์ไว้ คำว่า อำเภอกันทรารมย์มาจาก 2 คำรวม กันทรา และ รมย์ คำว่า กันทรา หมายความว่า ถ้ำ ซอกเขา ลำน้ำ คำว่า รมย์ หมายความว่าความร่มรื่นหรือความรื่นรมย์ กันทรารมย์จึงหมายความว่า ลำน้ำแห่งความรื่นรมย์ ซึ่งหมายถึงลำน้ำมูลหรือห้วยสำราญ

  • วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยศีร์ษะเกษ จังหวัดขุขันธ์ มณฑลอุบลราชธานี เป็น อำเภอกันทรารมย์[2]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2467 โอนพื้นที่ตำบลบัวน้อย และตำบลอีปาด อำเภอคง (อำเภอราษีไศล) มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์[3]
  • วันที่ 19 พฤษภาคม 2472 โอนพื้นที่ตำบลโนนค้อ (11 หมู่บ้าน) จากอำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และโอนพื้นที่ 2 หมู่บ้าน (ที่เหลือ) ของตำบลโนนค้อ อำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นตำบลจานใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ และโอนพื้นที่ตำบลเมืองน้อย ตำบลละทาย จากอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์[4]
  • วันที่ 3 กันยายน 2476 โอนพื้นที่ตำบลตูม ของอำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับอำเภอน้ำอ้อม (อำเภอกันทรลักษ์)[5]
  • วันที่ 14 มีนาคม 2479 โอนพื้นที่หมู่ 12,13,16 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองน้อย ไปขึ้นกับตำบลบัวน้อย[6]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 โอนพื้นที่ตำบลทาม ตำบลหนองแวง และตำบลหนองแก้ว ของอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และโอนพื้นที่ตำบลโนนค้อ หมู่ 1,2,3,4,5,6 (ในขณะนั้น) กับหมู่ 22,23 ตำบลหนองไฮ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มาขึ้นกับอำเภอกันทรารมย์[7]
  • วันที่ 2 มกราคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลยาง ไปขึ้นกับตำบลโนนสัง[8]
  • วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 โอนพื้นที่ตำบลตำแย (ยกเว้นหมู่บ้านบัวระรมย์) ของอำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ และโอนพื้นที่หมู่บ้านเขวาทะนัง ของตำบลบก อำเภอกันทรารมย์ ไปขึ้นกับตำบลเสียว อำเภอกันทรลักษ์[9]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลตองปิด แยกออกจากตำบลละเอาะ และตำบลจาน ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลดู่ และตำบลยาง ตั้งตำบลหนองแวง แยกออกจากตำบลหนองแก้ว ตั้งตำบลเมืองน้อย แยกออกจากตำบลละทาย และตำบลบัวน้อย ตั้งตำบลอีปาด แยกออกจากตำบลบัวน้อย ตั้งตำบลทาม แยกออกจากตำบลละทาย[10]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกันทรารมย์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลดูน[11]
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลโพธิ์ แยกออกจากตำบลบก และตั้งตำบลโนนผึ้ง แยกออกจากตำบลโนนสัง[12]
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโนนผึ้ง เป็นตำบลโนนสัง และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลโนนสัง เป็นตำบลหนองหัวช้าง[13]
  • วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลหนองกุง แยกออกจากตำบลโนนค้อ[14]
  • วันที่ 6 กันยายน 2520 แยกพื้นที่ตำบลโนนค้อ ตำบลโพธิ์ ตำบลบก และตำบลหนองกุง จากอำเภอกันทรารมย์ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอโนนคูณ และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกันทรารมย์[15]
  • วันที่ 7 มกราคม 2529 แยกพื้นที่ตำบลน้ำเกลี้ยง ตำบลละเอาะ ตำบลตองปิด และตำบลเขิน จากอำเภอกันทรารมย์ ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกันทรารมย์[16]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลเขิน แยกออกจากตำบลน้ำเกลี้ยง[17]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2529 ตั้งตำบลเหล่ากวาง แยกออกจากตำบลโพธิ์[18]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอโนนคูณ อำเภอกันทรารมย์ เป็น อำเภอโนนคูณ[19]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกันทรารมย์[20] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลคำเนียม แยกออกจากตำบลดูน[21]
  • วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลรุ่งระวี แยกออกจากตำบลละเอาะ และตำบลเขิน[22]
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอกันทรารมย์ เป็น อำเภอน้ำเกลี้ยง[23]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลกันทรารมย์ เป็นเทศบาลตำบลกันทรารมย์[24] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกันทรารมย์แบ่งพื้นที่การปกครองย่อยออกเป็น 16 ตำบล 175 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ดูน (Dun) 14 หมู่บ้าน 9. เมืองน้อย (Mueang Noi) 10 หมู่บ้าน
2. โนนสัง (Non Sang) 14 หมู่บ้าน 10. อีปาด (I Pat) 5 หมู่บ้าน
3. หนองหัวช้าง (Nong Hua Chang) 12 หมู่บ้าน 11. บัวน้อย (Bua Noi) 11 หมู่บ้าน
4. ยาง (Yang) 12 หมู่บ้าน 12. หนองบัว (Nong Bua) 7 หมู่บ้าน
5. หนองแวง (Nong Waeng) 11 หมู่บ้าน 13. ดู่ (Du) 8 หมู่บ้าน
6. หนองแก้ว (Nong Kaeo) 7 หมู่บ้าน 14. ผักแพว (Phak Phaeo) 18 หมู่บ้าน
7. ทาม (Tham) 11 หมู่บ้าน 15. จาน (Chan) 15 หมู่บ้าน
8. ละทาย (Lathai) 9 หมู่บ้าน 16. คำเนียม (Kham Niam) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกันทรารมย์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกันทรารมย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดูน (เฉพาะหมู่ที่ 2, 5, 6, 9, 12, 13)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดูน (เฉพาะหมู่ที่ 1, 3, 4, 7, 8, 10, 11, 14)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหัวช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละทาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละทายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอีปาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอีปาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบัวน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผักแพว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักแพวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำเนียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำเนียมทั้งตำบล

การขนส่ง

[แก้]

อำเภอกันทรารมย์เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟกันทรารมย์ โดยเป็นสถานีรถไฟที่มีผู้โดยสารมาใช้บริการจำนวนมาก และมีขบวนรถไฟโดยสารจอดทุกขบวน อาทิ รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา (23), รถด่วนพิเศษดีเซลรางที่ 21 และรถด่วนดีเซลรางที่ 71

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1536–1537. October 12, 1913. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่อำเภอคง จังหวัดขุขันธ์ สำหรับตำบลลิ้นฟ้า ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอศรีสะเกษ และตำบลบัวน้อย กับตำบลอีปาด ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอกันทรารมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 185. October 26, 1924.
  4. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ง): 514–515. May 19, 1929.
  5. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งได้ยุบโอนและตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 50 (0 ก): 521–522. September 3, 1933.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดขุขันธ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 4065. March 14, 1936.
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3285–3286. January 2, 1938.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. February 18, 1947.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 71-72. November 28, 1956.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (112 ง): 3389–3391. December 30, 1958.
  13. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. October 29, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2446–2450. September 1, 1970.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอโนนคูณ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (82 ง): 3665. September 6, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (9 ง): 157. January 7, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 56-81. October 10, 1986.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอราษีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย และกิ่งอำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6103–6118. December 11, 1986.
  19. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอนามน อำเภอพระยืน อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอจะแนะ อำเภอหนองหงส์ อำเภอนาโพธิ์ อำเภอเกาะยาว อำเภอแกดำ อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโนนคูณ อำเภอควนโดน อำเภอไชยวาน อำเภอหนองแสง และอำเภอตาลสุม พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (278 ก): (ฉบับพิเศษ) 33-37. December 31, 1987.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลกันทรารมย์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (125 ง): 4610–4611. July 2, 1987.
  21. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (178 ง): (ฉบับพิเศษ) 45-53. October 18, 1989.
  22. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-83. August 17, 1990.
  23. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
  24. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.