ข้ามไปเนื้อหา

อ่าวคาร์เพนแทเรีย

พิกัด: 14°S 139°E / 14°S 139°E / -14; 139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ่าวคาร์เพนทาเรีย)
ที่ตั้งอ่าวคาร์เพนแทเรีย กินพื้นที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (120,000 ตารางไมล์)
อ่าวคาร์เพนแทเรียจากแผนที่ดัตช์ใน ค.ศ. 1859
อ่าวคาร์เพนแทเรียจาก MODIS

อ่าวคาร์เพนแทเรีย (อังกฤษ: Gulf of Carpentaria, /kɑːrpənˈtɛəriə/, 14°S 139°E / 14°S 139°E / -14; 139) เป็นทะเลตื้นขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยออสเตรเลียตอนเหนือทั้งสามด้าน และทางเหนือติดกับทะเลอาราฟูราตะวันออก (ตั้งอยู่ระหว่างออสเตรเลียกับนิวกินี) ขอบเขตทางเหนือโดยทั่วไปสิ้นสุดที่เส้นจาก Slade Point รัฐควีนส์แลนด์ (มุมตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเคปยอร์ก) ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงแหลมอาร์นเฮมที่คาบสมุทรโกฟ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (จุดตะวันออกสุดของอาร์นเฮมแลนด์) ทางตะวันตก

ตรงปากอ่าวนี้มีความกว้าง 590 กิโลเมตร (370 ไมล์) และทางใต้มีความกว้าง 675 กิโลเมตร (419 ไมล์) ความยาวจากเหนือลงใต้อยู่ที่ 700 กิโลเมตร (430 ไมล์) กินพื้นที่น้ำประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (120,000 ตารางไมล์) ความลึกทั่วไปอยู่ที่ระหว่าง 55 และ 66 เมตร (30 และ 36 ฟาทอม) และไม่เกิน 82 เมตร (45 ฟาทอม)[1] ช่วงน้ำขึ้นน้ำลงในอ่าวคาร์เพนแทเรียอยู่ที่ระหว่าง 2 และ 3 เมตร (6.6 และ 9.8 ฟุต)[2] ตัวอ่าวและแผ่นซาฮุลเคยเป็นผืนดินแห้งในช่วงสูงสุดของยุคน้ำแข็งตอนปลายเมื่อ 18,000 ปีก่อน เมื่อระดับน้ำทะเลทั่วโลกอยู่ต่ำกว่าระดับปัจจุบันที่ประมาณ 120 เมตร (390 ฟุต) ณ เวลานั้น มีทะเลสาบตื้นตรงกลางบริเวณที่ปัจจุบันคืออ่าว[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Sector 1: North Coast of Australia – Gulf of Carpentaria". Sailing Directions (enroute).: North, west, and south coasts of Australia. National Imagery and Mapping Agency. 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ 6 October 2020. or Sector 1: North Coast of Australia – Gulf of Carpentaria
  2. David Hopley; Scott Smithers (2010). "Queensland". ใน Eric C.F. Bird (บ.ก.). Encyclopedia of World's Coastal Landforms. Springer. p. 1255. ISBN 978-1-4020-8638-0.
  3. Torgersen, T., Hutchinson, M.F., Searle, D.E., Nix, H.A., 1983. General bathymetry of the Gulf of Carpentaria and the Quaternary physiography of Lake Carpentaria. Palaeogeogr., Palaeoclimatol., Palaeoecol. 41, 207-225

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]