ข้ามไปเนื้อหา

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน
Alexander Hamilton
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน ค.ศ. 1789 – 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1795
ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปโอลิเวอร์ โวลคอตต์
ผู้บัญชาการกองทัพบก
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1800
ประธานาธิบดีจอห์น อดัมส์
ก่อนหน้าจอร์จ วอชิงตัน
ถัดไปเจมส์ วิลกินสัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มกราคม ค.ศ. 1755(1755-01-11) หรือ 1757
ชาร์ลส์ทาวน์, เนวิส
จักรวรรดิอังกฤษ สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต12 กรกฎาคม 1804 (อายุ 49 หรือ 47)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
พรรคการเมืองFederalist
คู่สมรสElizabeth Schuyler
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ รัฐนิวยอร์ก (1775–1777)
 สหรัฐอเมริกา (1777–1800)
สังกัด New York Company of Artillery
สหรัฐอเมริกา กองทัพภาคพื้นทวีป
 กองทัพบกสหรัฐ
ประจำการ1775–1776 (Militia)
1776–1781
1798–1800
ยศ พลตรี
เจ้าพนักงานอาวุโสแห่งกองทัพบก

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) เกิดในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1755 และเสียชีวิตในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1804 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งของประเทศสหรัฐ (The Founding Fathers) นักเศรษฐศาสตร์ นักปรัชญาการเมือง เขาเป็นคนเรียกให้มีการประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (the Philadelphia Convention) อันเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งประเทศใหม่ เป็นนักกฎหมายรัฐธรรมนูญคนแรก เป็นคนเขียนเอกสารของพวกอเมริกันนิยม (Federalist Papers) และเป็นผู้ตีความเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่สำคัญ (Constitutional interpretation) แฮมิลตันเสียชีวิตเนื่องจากการดวลปืนกับ แอรอน เบอร์ (Aaron Burr) ในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1804

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน เกิดที่เมือง Nevis และได้รับการศึกษาในเขตที่เรียกว่า “นิวอิงแลนด์” ซึ่งเป็นเขตตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐในปัจจุบัน เป็นเขตที่ชาวอังกฤษมาก่อตั้งชุมชนอาณานิคมใหม่ขึ้นในทวีปอเมริกา

เขาเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครร่วมรบในสงครามการปฏิวัติอเมริกา ที่ชาวอาณานิคมได้ยืนหยัดขบถไม่ยอมอยู่ในอำนาจการปกครองของอังกฤษอีกต่อไป โดยแฮมิลตันสมัครเป็นทหารพราน (Militia) และได้เติบโตในวงการทหาร ได้รับเลือกให้เป็นนายพันกองทหารปืนใหญ่ และได้เป็นนายทหารอาวุโสช่วยงาน (aide-de-camp) ของนายพลจอร์จ วอชิงตัน ผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ในการสู้รบในสงครามปฏิวัติ เป็นผู้นำกองทหารในการสู้รบใหญ่ 3 ครั้ง ในการเข้ายึดเมือง Yorktown และเมื่อสงครามได้ยุติลง เขาได้กลับเข้ามาทำงานด้านนิติบัญญัติให้กับรัฐนิวยอร์ก และเป็นชาวนิวยอร์กคนเดียวที่ลงนามในการประชุมใหญ่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย

เมื่อนายพลจอร์จ วอชิงตันได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ เขาได้รับบทบาทเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และมีบทบาทอย่างสูงในคณะรัฐมนตรีของวอชิงตัน

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของวอชิงตัน เขาได้ผลักดันให้เกิดนโยบายภาครัฐของรัฐบาลกลางใหม่ๆ โดยเขายกย่องระบบการเมืองของประเทศอังกฤษ แฮมิลตันเน้นการมีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง และนั่นหมายถึงต้องมีอำนาจทางการทหาร แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐสภา (U.S. Congress) เขาต้องการให้มีระบบดูแลหนี้ของรัฐบาลกลาง โดยให้รัฐแต่ละรัฐ ต้องมีบทบาทหน้าที่และรับผิดชอบด้านการจัดเก็บภาษีและจัดส่งสู่ส่วนกลางจำนวนหนึ่ง เขาสร้างระบบธนาคารกลาง และการกำหนดภาษีขาเข้าและภาษีเหล้า

ในราวปี ค.ศ.1792 แนวร่วมแฮมิลตัน และกลุ่มของเจฟเฟอร์สัน-เมดิสัน ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแนวนโยบาย แฮมิลตันเน้นความเข้มแข็งของรัฐบาลกลาง (Federalist Party) และฝ่าย เจฟเฟอร์สัน-เมดิสัน เป็นพรรคเน้นสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Democratic-Republican Party) ที่ไม่ต้องการขยายบทบาทของรัฐบาลกลาง และให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยในแบบที่ไม่มีกษัตริย์ ในช่วงการเลือกประธานาธิบดีคนที่สอง หลังจากยุควอชิงตัน เขาเลือกบุคคลที่เป็นคู่แข่งในพรรค Federalist คือจอห์น แอดัมส์ ทำให้กลุ่ม Federalist มีฐานสนับสนุนเหนือกลุ่มของ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ซึ่งทำให้ฝ่ายเน้นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐบาลกลางได้มีอำนาจในการบริหารประเทศต่อมา และเมื่อต้องมีการเลือกประธานาธิบดีสมัยต่อมาในปี ค.ศ. 1800 ผู้รับการเสนอชื่อสำคัญ 2 คนมีคะแนนเท่ากัน คือ เจฟเฟอร์สัน และ อารอน เบอร์ แม้ฝ่าย Federalist ของเขาได้พ่ายแพ้ไปแล้ว แต่เขาก็ใช้อิทธพลหันมาหนุนให้กับเจฟเฟอร์สัน จึงทำให้เจฟเฟอร์สัน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และ อารอน เบอร์ ทีมีคะแนนรองลงมาได้เป็นรองประธานาธิบดี โดยเห็นว่าระหว่างผู้รับการเลือกตั้งสองคนนี้เจฟเฟอร์สันเป็นคนที่ดีกว่า หรือจะว่าเลวหรือเป็นอันตรายต่อกลุ่มของเขาน้อยกว่า

ในช่วงปี ค.ศ 1801 เมื่อเขาหมดบทบาทในรัฐบาลกลาง แฮมิลตันได้หันมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์เป็นกระบอกเสียงให้กับกลุ่ม Federalist ที่มีชื่อว่า New-York Evening Post. ในช่วงดังกล่าว ได้มีการกระทบกระทั่งกันบ่อยครั้งระหว่างเขาและรองประธานาธิบดี อารอน เบอร์ จนในที่สุดมีการท้าดวลปืนกัน ซึ่งเป็นผลให้เขาได้รับบาดเจ็บหนักและเสียชีวิตในวันต่อมา หลังจากสงครามในปี ค.ศ. 1812 กับประเทศอังกฤษ ฝ่ายที่เป็นปฏิบักษ์ของเขาในยุคต่อมา ก็หันมาใช้นโยบายของเขา คือสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบรัฐบาลกลาง คนเหล่านี้ได้แก่ เมดิสัน และ อัลเบิร์ต กัลแลติน มีการจัดทำโปรแกรมของรัฐบาลกลางขึ้น อันได้แก่ การให้มีธนาคารแห่งชาติ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง การมีระบบภาษี การมีกองทัพบก กองทัพเรือที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง และแนวนโยบายที่เขาเสนอก็ยังมีบทบาทต่อมาจนถึงรัฐบาลสหรัฐในยุคปัจจุบัน

ชีวิตในวัยเริ่มแรก

[แก้]

จากคำบอกเล่าของเขา แฮมิลตัน เกิดที่เมือง Charlestown เป็นเมืองหลวงของ Nevis ในทางหมู่เกาะอินเดียตะวันตก (West Indies) Nevis อ่านว่า นีวีส เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะแคริบเบียน (Caribbean) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของหมู่เกาะ Lesser Antilles ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 350 กิโลเมตรทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของ Puerto Rico และ 80 กิโลเมตรทางตะวันตกของ Antigua เป็นเกาะมีพื้นที่ประมาณ 93 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของ Nevis ชื่อ Charlestown.

แฮมิลตัน เป็นลูกที่เกิดนอกสมรสของนาง Rachel Faucett lavien อันมีเชื้อสายในราชวงศ์ Huguenot ของฝรั่งเศส กับ James A. Hamilton อันเป็นบุตรคนที่ 4 ของชาวสก๊อต ชื่อว่า laird อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน แห่ง Grange, Ayrshire. เขาเกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1755 หรืออาจเป็นปี ค.ศ. 1757 แม้นักประวัติศาสตร์ในยุคต่อมามีความเห็นว่าน่าจะเป็นปี ค.ศ. 1755 แฮมิลตัน อาจพยายามแจ้งว่าเขาเกิดปี ค.ศ. 1757 เพื่อทำให้อายุน้อย เพราะในชั้นเรียน หากแจ้งว่าอายุมากก็จะดูแตกต่างจากเพื่อนร่วมห้องในรุ่นเดียวกัน และบางครั้งเขาอ้างว่าเกิดปี ค.ศ. 1755 เพราะในขณะที่เขาต้องการทำงานหลังจากที่มารดาของเขาเสียชีวิต ในช่วงชีวิตของเขาไม่เคยได้พูดถึงอายุจริง เป็นลักษณะอายุประมาณการตลอด

แฮมิลตันในช่วงยังเยาว์วัย

แม่ของ แฮมิลตัน ได้เลิกกับ Johann Michael Lavien แห่ง St. Croix เพื่อหนีจากชีวิตการแต่งงานที่ไม่มีความสุข แม่และเขาได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านเกิด คือที่ Nevis ที่ซึ่งเธอได้รับมรดกจากบิดาของเธอ แม่ของ แฮมิลตัน มีลูกสองคน คือ James, Jr., และ อเล็กซานเดอร์ เพราะ James ผู้พ่อ และ Rachel ไม่เคยได้แต่งงานกันอย่างถูกกฎหมาย ทางศาสนา คือ Church of England จึงปฏิเสธ อเล็กซานเดอร์ ที่จะได้เป็นสมาชิกของโบสถ์ และทำให้เขาไม่ได้รับการศึกษา ด้วยเหตุดังกล่าว อเล็กซานเดอร์ น้อยนี้จึงต้องรับการศึกษาแบบครูสอนพิเศษ และเรียนร่วมกับชั้นเรียนที่เป็นของศาสนาในนิกายยิว อเล็กซานเดอร์ ได้เลือกเรียนเสริมจากห้องสมุดของครอบครัว ซึ่งมีหนังสืออยู่ 34 เล่ม รวมทั้งหนังสือที่เกี่ยวกับกรีกและโรมัน

ในปีค.ศ. 1765 เพราะกิจการธุรกิจของครอบครัว จึงทำให้ James ต้องอพยพครอบครัวไปอยู่ที่ Christiansted, St. Croix และทำให้เขาต้องละทิ้งครอบครัว ทั้งแม่และลูกสองคนไว้ตามลำพัง Rachel ต้องช่วยตัวเองและลูกๆ ทำร้านค้าขนาดเล็กที่ Christiansted และในระยะต่อมาเธอได้ติดโรคไข้รุนแรง ทำให้เสียชีวิตในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1768 ทำให้ อเล็กซานเดอร์ เป็นเด็กกำพร้าโดยปริยาย อันเป็นผลกระทบต่อจิตใจของเขาที่นับว่ารุนแรง แม้ในมาตรฐานของเด็กในยุคศตวรรษที่ 18 นั้น ในการตัดสินเกี่ยวกับมรดก ทำให้พี่น้องต่างมารดาของเขาได้รับมรดกไป ของหลายอย่างในครอบครัวต้องมีการประมูลกันออกไป แต่มีส่วนที่เป็นหนังสือนั้นญาติๆได้ช่วยกันประมูล และมอบให้ อเล็กซานเดอร์ ด้วยเหตุว่าเขาเป็นคนสนใจศึกษาเล่าเรียน ในหลายปีต่อมา อเล็กซานเดอร์ ได้รับจดหมายแจ้งการตายของพี่น้องต่างมารดาของเชา และได้มีเงินส่วนหนึ่งมีเงินส่วนหนึ่งที่ไม่มากนักให้มาด้วย

อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน ในขณะนั้นได้เข้าทำงานเป็นเสมียนห้างธุรกิจด้านนำเข้าและส่งออกสินค้า ชื่อ Beekman and Cruger ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับทาง New England ในขณะนั้นเขาได้รับอนุเคราะห์จากญาติ ชื่อ Peter Lytton และเมื่อ Peter ได้ฆ่าตัวตาย อเล็กซานเดอร์ เองก็แยกทางจากพี่ของเขา คือ James โดย James ได้ฝึกงานเป็นช่างไม้ในท้องที่นั้น ส่วน อเล็กซานเดอร์ ได้รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมโดยพ่อค้าจาก Nevis ชื่อ Thomas Stevens มีหลักฐานบางประการบ่งว่า Stevens อาจเป็นพ่อแท้ๆตามสายเลือดของ แฮมิลตัน เพราะลูกชายของเขาอีกคน คือ Edward Stevens ซึ่งได้กลายเป็นเพื่อนสนิทของ อเล็กซานเดอร์ มีหน้าตาคล้ายกันมาก และทั้งคู่ต่างเก่งภาษาฝรั่งเศส และมีความสนใจในหลายๆอย่างคล้ายกัน อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน คงทำงานเป็นเสมียน ยังคงเป็นนักอ่านที่จริงจัง พัฒนาตนเองทางด้านการเขียน และแสวงหาโอกาสของชีวิตนอกเกาะเล็กๆนั้น จดหมายฉบับแรกของ แฮมิลตัน ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ชื่อ Royal Danish-American Gazette พรรณนาถึงพายุเฮอริเคนที่ทำลายเมือง Christiansted ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1772 ชาวเมืองและชุมชนของเขาได้ประทับใจในความสามารถนี้และได้รวบรวมเงินเป็นทุน ส่งเสียให้ แฮมิลตัน น้อยนี้ได้มีโอกาสศึกษาต่อใน New England ที่มีความเจริญมากกว่า แฮมิลตัน ได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมในขณะนั้น (grammar school) ที่เมือง Elizabethtown, ในรัฐ นิวเจอร์ซี, อันเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ.1772.

การศึกษา

[แก้]

ใน ปี ค.ศ. 1776 แฮมิลตัน ได้เข้าเรียนในหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา (college-preparatory program) กับ Francis Barber ที่เมือง Elizabethtown, ในรัฐ นิวเจอร์ซี ในช่วงดังกล่าว เขาได้รับอิทธิพลจากปัญญาชนนักปฏิวัติชื่อ William Livingston.[ตามประวัติ แฮมิลตัน อาจได้สมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยแห่ง นิวเจอร์ซี ในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันคือ Princeton University แต่ไม่ได้รับโอกาส เพราะทางสถาบันเห็นว่าเขามีพื้นฐานมาแบบกวดวิชา แฮมิลตัน ได้ตัดสินใจเข้าเรียนที่ King's College ซึ่งในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง New York City ขณะที่ศึกษาอยู่ที่ King's College เขาและเพื่อนร่วมชั้นได้จัดตั้งสมาคมนักเขียนและนักโต้วาที ซึ่งได้กลายเป็นสมาคมชื่อ Philolexian Society แห่งมหาวิทยาลัย Columbia ในปัจจุบัน

เมื่อทางศาสนานิกาย Church of England โดยพระชื่อ Samuel Seabury โดยออกเอกสารสนับสนุนกลุ่ม Tory ในอังกฤษ ในปีต่อมา แฮมิลตัน ได้ตอบโต้ด้วยงานเขียนทัศนะด้านการเมืองของเขา ชื่อ, A Full Vindication of the measures of Congress, และ The Farmer Refuted งานทั้งสองชิ้นนี้เป็นการโจมตี นิติบัญญัติชื่อ Quebec Act แล้วเขายังเขียนงานที่ไม่ลงชื่อผู้แต่งอีก 14 รายการ ลงในคอลัม "The Monitor" ให้กับ Holt's ในหนังสือพิมพ์ชื่อ New York Journal. อย่างไรก็ตาม แม้ แฮมิลตัน เป็นฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติประกาศอิสรภาพจากอาณานิคมอังกฤษในช่วงเริ่มแรก นี้ แต่เขาไม่เห็นด้วยที่จะใช้ฝูงชนเข้าตอบโต้กับฝ่ายอังกฤษ หรือคนที่ไม่เห็นด้วย ในหลักฐานหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับคือ เขาได้ปกป้องอธิการบดีของ King’s Collegeซึ่งอยู่ในกลุ่มสนับสนุน Tory ที่ชื่อว่า Myles Cooper โดยได้พูดปราศรัยกับฝูงชนที่บ้าคลั่งเป็นเวลานานพอที่จะทำให้ Cooper ได้หนีจากสถานการณ์อันตรายนั้นได้ทัน

ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพ

[แก้]

ชีวิตทางการทหารเริ่มแรก

[แก้]

ในปี ค.ศ 1775 ในช่วงที่มีการสู้รบกันระหว่างกองกำลังฝ่ายอเมริกัน กับฝ่ายอังกฤษที่เมืองบอสตัน (Boston) แฮมิลตัน ได้เข้าร่วมกับกองกำลังอาสาสมัครแห่งนิวยอร์ก ได้มีการจัดตั้งเป็นกองทหารพรานอาสาสมัคร เรียกตัวเองว่า กลุ่ม the Hearts of Oak, ในการจัดตั้งนี้เป็นการร่วมกับนักศึกษาของวิทยาลัย King's College เขาได้ฝึกฝนกองทหารของเขาก่อนเข้าชั้นเรียนที่สุสานใกล้กับโบสถ์ ชือ. St. Paul's Chapel. เขาศึกษาประวัติศาสตร์การทหาร และยุทธวิธีต่างๆด้วยตัวเอง และได้ก้าวหน้าในอาชีพทหารจนรับตำแหน่งเป็นนายร้อยแห่งกองทัพ

ในช่วงถูกโจมตีจาก the HMS Asia, เขาได้นำทหารรุกเข้าชิงปืนใหญ่จากฝ่ายกองทัพอังกฤษ การได้ครอบครองปืนใหญ่และการควบคุมคณะทหารของเขา จึงทำให้ได้ฉายาว่า กองกำลังปืนใหญ่ Hearts of Oak และด้วยความที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มรักชาติแห่งเมืองนิวยอร์กอย่าง อเล็กซานเดอร์ McDougall และ John Jay เขาได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทหารปืนใหญ่ที่มีกำลังพล 60 คนในปี ค.ศ. 1776 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายพันกองทหารของเขาได้เข้าร่วมรณรงค์ในปี ค.ศ. 1776 ในเขตรอบๆเมืองนิวยอร์ก ได้เข้าร่วมในการรบที่ the Battle of White Plains; และที่ Battle of Trentonโดยเขาได้ตั้งมั่นในที่สูงของเมืองซึงในปัจจุบันคือเขต Warren และถนนชื่อ Broad Streets เพื่อตรึงกำลังกลุ่ม Hessians ให้จำกัดอยู่ในป้อม Trenton Barracks

คณะทำงานให้กับวอชิงตัน

[แก้]

แฮมิลตัน ได้รับเชิญเข้าร่วมกับนายพลคนสำคัญของฝ่ายปฏิวัติ ได้เป็นนายทหารประจำตัวของ Nathaniel Greene และคนอื่นๆจนในที่สุด ได้เป็นคณะทำงานให้กับผู้บัญชาการรบสูงสุด คือ George วอชิงตัน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1777 โดยได้รับตำแหน่งเป็นนายพันระดับ Lieutenant Colonel เขาทำงานอยู่ 4 ปี ก่อนที่จะได้เป็นคณะเสนาธิการสูงสุด (Chief of Staff) เขาทำหน้าที่ร่างจดหมายที่เขียนติดต่อกับผู้ว่าการรัฐทั้งหลาย และกับนายพลผู้ทรงอิทธิพลต่างๆของกองทัพบกแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Army) ที่สู้รบกับฝ่ายอังกฤษ

เขา ได้ร่างจดหมายคำสั่งและการสั่งการ และในที่สุดได้รับอนุญาตจาก วอชิงตัน ให้สามารถสั่งการแทนได้ด้วยลายเซนต์ตนเอง แฮมิลตัน ได้เข้าเกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ทั้งการสืบราชการลับ การทูต และการเจรจากับบรรดานายพลต่างๆ ทั้งในฐานะทูตและจารบุรุษ ได้รับความไว้วางใจจาก วอชิงตัน อย่างสูงด้วยความสามารถและบุคลิกในขณะนั้น และในระยะต่อมา อำนาจเหล่านี้เป็นอำนาจอันเกิดจากความไว้วางใจที่เจ้านายมีต่อเขา

ในสถานการณ์สำคัญหนึ่ง วอชิงตัน ได้ส่ง แฮมิลตัน ไปพบนายพล Horatio Gates เพื่อต่อรองการโอนคนของ Gates ไปสู่ วอชิงตัน ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจและทำให้เกิดเหตุการณ์ใกล้กับการล้มล้างอำนาจของ วอชิงตัน ที่เรียกว่า "Conway Cabal" อันประกอบด้วย Conway, Gates, และคนอื่นๆ ได้วิพากษ์ วอชิงตัน และมีความพยายามที่จะปลดเขาออกจากเป็นผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายภาคพื้นทวีป และโดยไม่ใช่ความผิดของ แฮมิลตัน จดหมายดังกล่าวที่มีถึงรัฐสภาได้เปิดเผยสู่สาธารณะ วอชิงตัน โกรธมากและเรียกให้ต้องมีการชี้แจง เพื่อหลีกเลี่ยงจากเรื่องนี้ Gate แก้ตัวว่า แฮมิลตัน ได้ขโมยเอกสารของเขาไปในขณะเรียกกำลังพล แต่เหตุการณ์ปรากฏว่า แฮมิลตัน ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นแต่ประการใด แต่คำกล่าวนี้ทำให้เกิดความไม่พอใจกันเป็นส่วนตัวระหว่าง แฮมิลตัน กับ Gates และ แฮมิลตัน ได้แสดงให้เห็นความสวามิภักดิ์ของเขาต่อ วอชิงตัน ตลอดเวลาต่อมา

ในช่วงสงคราม แฮมิลตัน ได้สร้างพรรคพวกเพื่อนฝูงกับบรรดานายทหารทั้งหลาย รวมทั้ง John Laurens และ Marquis de Lafayette. ในช่วงดังกล่าว Jonathan Katz ได้เปิดเผยจดหมายของ Laurens แสดงเป็นนัยว่า แฮมิลตัน อาจมีลักษณะเป็นพวกรักร่วมเพศ Ron Chernow (ผู้แต่งหนังสือชีวประวัติ Alexander Hamilton) แสดงเป็นนัยเมื่อมีการสื่อสารกับ Laurens ในอีกด้านหนึ่ง Thomas Flexner ได้แสดงสัมพันธ์ในลักษณะรักร่วมเพศกับ Lafayette ซึ่งมีนักประวัติศาสตร์บางส่วนให้ความเห็นว่าผู้เขียนบันทึกอัตตชีวประวัติ ของคนในสมัยปลายศตวรรษที่ 18 ได้ตีความข้อความในยุคนั้นไม่เข้าใจยุคแห่งอารมณ์ร่วม (age of sentiment)

แต่ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ แฮมิลตัน ได้อยู่ในสถานะของอำนาจ แม้ไม่ใช่อำนาจโดยตรงของเขา แต่เป็นอำนาจที่มีฐานจาก วอชิงตัน แต่ก็ทำให้มีทั้งคนที่รักและพอใจในการทำงานของเขา ทำให้มีพรรคพวกเพื่อนฝูงที่เป็นฐานอำนาจให้ในเวลาต่อมา แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้มีคนที่ไม่ชอบอย่างมากๆ ทั้งในส่วนตัวของเขา และในแนวคิดและอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับการปกครองประเทศ

ชีวิตครอบครัวและการแต่งงาน

[แก้]

ใน ช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1779 แฮมิลตัน ได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ John Laurens เพื่อให้เขาช่วยเสาะหาคนที่เหมาะสมจะเป็นภรรยาของเขาที่ South Carolina เขาเขียนจดหมายถึงเพื่อนเกี่ยวกับลักษณะหญิงที่ต้องการดังต่อไปนี้

"เธอ ต้องยังสาว สวย (ผมขอเน้นว่าต้องมีรูปร่างดี) มีความเป็นเหตุเป็นผล มีการศึกษาดีก็ยิ่งดี ได้รับการอบรมดี เป็นพรหมจรรย์ และอ่อนหวาน ผมเป็นคนจริงจังกับความซื่อสัตย์และความรักอย่างจริงใจ เป็นคนใจกว้าง ไม่งกเงิน ผมไม่ชอบคนที่ปากร้าย และคนที่เอาแต่คิดเรื่องเงินดังเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ในทางการเมืองนั้นผมไม่สนใจว่าเธอมีทัศนะอย่างไร จะอยู่ฝ่ายไหน เพราะผมคิดว่าผมคงสามารถเปลี่ยนใจเธอให้เห็นตามผมได้ ในทางศาสนา หาระดับกลางๆพอ เธอต้องเชื่อในพระเจ้า แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นพวกคลั่งไคล้ แต่ในด้านโชคลาภแล้ว หากเธอมีฐานะเท่าใดก็ยิ่งดี"

แฮมิลตัน ได้พบเจ้าสาวของเขาเองในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1780 โดยเขาได้แต่งงานกับ Elizabeth Schuyler, ธิดาของนายพล Philip Schuyler, ผู้ที่ทั้งรวยและมีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดคนหนึ่งของรัฐนิวยอร์ก การแต่งงานมีขึ้นที่คฤหาสถ์ของ Schuyler Mansion ใน Albany, New York. แฮมิลตัน มีความใกล้ชิดอย่างมากกับพี่สาวของ Eliza ชื่อ Angelica Church ซึ่งแต่งงานกับ Barker Church, ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาของประเทศอังกฤษ (Member of Parliament in Great Britain) นักประวัติศาสตร์บางคนคาดเดาว่าเขาอาจมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับ Angelica แต่เนื่องด้วยเอกสารต่างๆมีการเรียบเรียงใหม่ มีการตัดตอนจากบรรดาลูกหลาน จนยากที่จะยืนยันได้แน่ชัด

ภายใต้สหพันธรัฐ

[แก้]

ในการก่อตั้งประเทศในช่วงแรกยังอยู่ในสถานะ สหพันธรัฐ (A confederation) อันหมายถึงกลุ่มของชุมชนหรือรัฐ สรรสร้างขึ้นด้วยข้อตกลง โดยมีรัฐธรรมนูญร่วมกัน สหพันธรัฐมีแนวน้าที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์วิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น มารวมตัวกันเพื่อการป้องกันประเทศร่วมกัน เพื่อการต่างประเทศ การค้าขายระหว่างประเทศ การกำหนดค่าเงินร่วมกัน โดยมีรัฐบาลกลางเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนสมาชิกชุมชนหรือรัฐ ในช่วงการเกิดประเทศสหรัฐอเมริกามีลักษณะที่ยังไม่มีความเป็นประเทศดังที่เป็นในปัจจุบัน

แฮมิลตัน เข้าสู่สภา

[แก้]

หลังจากงานในหน้าที่ของเขาที่ Yorktown เขาได้ลาออกจากหน้าที่และเข้าสู่การเมือง โดยได้รับเลือกเป็นสมาชิกจาก New York ในคณะ Continental Congress ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1782 ในขณะที่เขาทำงานเป็นทีมงานการทหารให้กับนายพลวอชิงตัน เขาอึดอัดกับธรรมชาติของสภาฯ (Continental Congress) ที่มีลักษณะการกระจายอำนาจที่ไม่มีความสะดวกในการบริหารการเงินที่จะใช้ใน กิจกรรมสงคราม สภาฯในช่วงปฏิวัติไม่มีอำนาจในการเรียกเก็บภาษี หรือไม่มีเงินจากแต่ละรัฐมาช่วย และด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้เกิดการขาดแคลนการส่งกำลังบำรุงและการสนับสนุน ในเกือบจะทุกด้าน ทั้งเงินเดือนทหาร เสบียงกรัง ดังนั้นเมื่อเขาเข้าสู่สภาฯ เป้าหมายของเขาคือการเพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลกลาง และการทำให้รัฐบาลกลางที่ต้องอยู่ในสถานะสู้รับได้มีความเป็นอิสระในทางการ เงินมากขึ้น

สำหรับคนอื่น รวมถึง James Madison เป็นส่วนที่ต้องการให้มีมาตรการทางการเงินที่จะให้รัฐบาลกลาง (Federal government) มีความเป็นอิสระในการจัดการด้านการเงิน และในเรื่องดังกล่าว Madison ได้ร่วมกับ แฮมิลตัน ในการผลักดันให้มีการจัดเก็บภาษีเข้าสู่รัฐบาลกลางได้ร้อยละ 5 จากการนำสินค้าเข้าในทุกรายการ ภาษีนี้ไม่เคยไดรับการอนุมัติอย่างเต็มที่ และดังนั้นจึงยังไม่ได้เป็นกฎหมาย แฮมิลตัน และ Madison ยังได้ร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลกลางสามารถมีกฎหมายที่ต้องอยู่เหนือกฎหมายของ แต่ละรัฐ (Individual states)

ในรัฐสภาและกองทัพ

[แก้]

สำหรับเพื่อนร่วมงานในแนวทางเดียวกับ แฮมิลตัน ที่สำคัญได้แก่ ผู้ดูแลด้านการเงิน (superintendent of finance) ชื่อ Robert Morris, และผู้ช่วยของเขาชื่อ Gouverneur Morris ได้พยายามผลักดันให้เกิดแหล่งเงินที่เป็นอิสระเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง รัฐบาลกลาง (Federal government) เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค้างจ่ายเบี้ยบำนาญสำหรับคนที่ไปทำหน้าที่เป็นทหาร เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มคนดังกล่าวที่จะผลักดัน โดยอาศัยความไม่พอใจของบรรดาทหาร ดังในกรณีของ Newburgh conspiracy เพิ่มแรงผลักดันให้ใช้บังคับในทั้งสองกรณี ในวันที่ 15 มีนาคม วอร์ชิงตันได้เข้าแก้ไขสถานการณ์ โดยในช่วงหลังจากนั้นเขาได้เขียนจดหมายถึง แฮมิลตัน ตำหนิในสิ่งที่เขาคิดว่า แฮมิลตัน ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบดังกล่าว ในที่สุดสภาฯ ได้ผ่านกฎหมายที่เป็นข้อตกลงด้านเบี้ยบำนาญและการจ่ายเงินเดือนให้ 5 ปีสำหรับเงินเดือนและค่าจ้างในการเป็นทหาร และอีกครั้งหนึ่งที่รัฐไม่ได้ให้การอนุมัติตามมาตรการที่เสนอ ทหารจำนวนมากไม่ได้รับเงินบำนาญทีค้างจ่าย สภาฯได้มีคำสั่งเลิกทัพและไม่มีการจ่ายเงินบำนาญในช่วงเดือนเมษายน ค.ศ. 1783

ในช่วงเดือนมิถุนายน ได้มีกลุ่มทหารอื่นๆจาก Lancaster, เพนซิลวาเนีย ได้ยื่นจดหมายเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินเดือนที่ค้างไว้ และเมื่อพวกเขาเริ่มเดินขบวนไปยัง Philadelphia สภาฯได้สั่งให้ แฮมิลตัน และคนอื่นๆอีก 2 คน ได้เข้าหยุดฝูงชน แฮมิลตัน ได้ขอกำลังทหารพราน (Militia) จากสภาบริหารสูงสุดแห่ง เพนซิลวาเนีย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ แฮมิลตัน ได้สั่งให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีสงคราม William Jackson ให้เข้าไปหยุดฝูงชน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ใน ที่สุดฝูงคนที่ไม่พอใจได้มาถึงเมือง Philadelphia และเข้ากดดันรัฐสภาเพื่อให้จ่ายค่าจ้าง ประธานรัฐสภาในขณะนั้น คือ John Dickinson ไม่มีความไว้วางใจกองทหารพรานจากรัฐ เพนซิลวาเนีย จึงปฏิเสธความช่วยเหลือ แฮมิลตัน ได้แนะนำให้ย้ายสภาฯ ไปอยู่ที่เมือง Princeton ในรัฐ นิวเจอร์ซี รัฐสภาได้ตอบตกลง และได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ เมืองดังกล่าว

ด้วยความ ที่อึดอัดในความอ่อนแอของรัฐบาลกลาง แฮมิลตัน ได้ร่างบางมาตราที่ว่าด้วยความเป็นสหพันธรัฐในขณะที่อยู่ที่เมือง Princeton คำร่างนั้นเป็นหลายๆส่วนของรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่ทำให้มีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง มีความสามารถในการจัดเก็บภาษีและการจัดตั้งกองทัพบกได้ รวมถึงการแบ่งอำนาจของสามสถาบัน อันได้แก่ ฝ่ายบริหาร (Executive), ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislative) และฝ่ายตุลาการ (Judicial branches)

กลับสู่นิวยอร์ก

[แก้]

แฮมิลตัน ได้ลาออกจากสภาฯ และในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1783 ได้รับเข้าเป็นสมาชิกของเนติสภาแห่งรัฐนิวยอร์ก (New York Bar) ทั้งนี้โดยเขาได้ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่หลายเดือน เขาได้เริ่มทำงานด้านกฎหมายที่เมืองนิวยอร์ก และเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง Tories และเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศอังกฤษ Rutgers v. Waddington ที่เขาว่าความให้การเรียกร้องค่าเสียหายโรงกลั่นเหล้าของชาวอังกฤษที่ทาง ทหารได้เข้ายึดครองในช่วงสงคราม โดยเขาได้เสนอให้การตีความตามกฎหมายต้องให้ยึดหลักข้อคกลงตามข้อตกลงปารีส (1783 Treaty of Paris) ที่มีผลทำให้สงครามปฏิวัติได้ยุติลง

ในปี ค.ศ. 1784 เขาได้ก่อตั้งธนาคารแห่งนิวยอร์ก (Bank of New York) ซึ่งตราบถึงปัจจุบัน จัดเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา แฮมิลตัน ยังได้เป็นผู้กลับไปบูรณะ King's College ซึ่งต้องปิดตัวลงในช่วงสงครามปฏิวัติ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Columbia College วิทยาลัยดังกล่าวได้รับความเสียหายอย่างมากในช่วงสงคราม งานด้านสาธารณะของเขาได้กลับมาเริ่มอีกครั้งเมื่อเขาเข้าร่วมการประชุม Annapolis Convention โดยเป็นตัวแทนจากรัฐ ซึ่งทำให้ความหวังของเขาประสบผล คือการทำให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง มีอำนาจ มีอิสระทางการเงิน สามารถมีกฎหมายรองรับจัดเก็บภาษีเพื่อมาดำเนินการได้

การร่างรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลกลาง

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1787 แฮมิลตัน ได้ร่วมเป็นสมาชิกรัฐสภาจากเขต New York County ในรัฐสภาของรัฐนิวยอร์ก และเป็นสมาชิกคนแรกที่ได้เข้าไปร่วมในสภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constitutional Convention) แม้เขาจะเป็นหนึ่งในผู้นำที่เรียกร้องให้มีการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ แต่บทบาทโดยตรงของเขาต่อการร่างฯ น้อยมาก ส่วนของผู้ว่าการรัฐในขณะนั้น คือ George Clinton ได้เลือกตัวแทนอีกสองคน คือ John Lansing และRobert Yates ให้เป็นตัวแทน และทั้งสองมีทัศนะที่ตรงกันข้ามกับ แฮมิลตัน ที่ต้องการให้มีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง และเมื่อใดที่ทั้งสองคนปฏิเสธการลงคะแนนเสียงและเดินออกจากที่ประชุม แม้ แฮมิลตัน จะอยู่ในที่ประชุม แต่ก็ไม่มีสิทธิโวตสนับสนุน ได้ เพราะตามข้อตกลง ตัวแทนรัฐจะออกเสียงได้จะต้องมีเสียงที่ห็นด้วยอย่างน้อยสองในสาม

ในระยะแรกของการประชุม สุนทรพจน์ของ แฮมิลตัน มีลักษณะความเป็นระบบกษัตริย์ แสดงความดุดันเผ็ดร้อน แต่มีผลต่อการประชุมไม่มากนัก ข้อเสนอของเขาคือการให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสมาชิกของรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง แต่ให้อยู่ในตำแหน่งได้จนตลอดชีวิตขึ้นอยู่กับคามประพฤติ และการจะถอดถอนให้เป็นเรื่องของการคอรัปชั่นและการใช้อำนาจอย่างผิดๆ แผนงานของเขาเน้นไปที่เสรีภาพแห่งสาธารณรัฐ (liberties of a republic) ซึ่งเป็นตัวป้องกันระบบความสับสนยุ่งเหยิง และในอีกด้านหนึ่งคือการไม่ปล่อยให้มีเผด็จการเข้าครองอำนาจ แนวคิดของเขาไว้ใจประชาชนและเชื่อในสติปัญญาของประชาชนน้อย สำหรับการลงคะแนนเสียงของรัฐสภาให้ใช้การลงคะแนนลับ เพื่อให้สมาชิกสามารถได้ลงมติได้อย่างเสรี และการแสดงความคิดเป็นไปอย่างกว้างขวาง และด้วยความที่เสนอให้วาระการดำรงตำแหน่งของผู้อยู่ในอำนาจเป็นไปตลอดชีวิต ทำให้คนในยุคต่อๆมามองเขาว่ามีลักษณะเป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราช (Monarchial) และหลายๆฝ่ายมองเขาว่าเป็นพวกที่นิยมระบบกษัตริย์

ในที่ประชุมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ เขาได้ร่างรัฐธรรมนูญในแบบของเขาเพื่อเป็นฐานของการอภิปราย แต่ไม่ได้มีโอกาสนำเสนอจริง ข้อร่างของเขามีรายละเอียดเหมือนกับเป็นรัฐธรรมนูญจริง มีรายละเอียดจนถึงระดับการออกเสียงที่เสนอให้ใช้สองในห้า (three-fifths clause) สมาชิกวุฒิสภาให้มาจากการเลือกตั้งตามสัดส่วนประชากร การเลือกประธานาธิบดีและวุฒิสมาชิกเป็นแบบซ้อนหลายระดับ (complex multi-stage elections) โดยประชาชนเป็นผู้เลือก “ผู้ทำหน้าที่เลือก” (Electors) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นองค์ประชุมของคณะผู้เลือก ซึ่งเขาเหล่านี้จะอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต แต่จะถูกถอดถอนด้วยเหตุแห่งความประพฤติ ประธานาธิบดีจะมีสิทธิคัดค้าน (absolute veto) มีระบบศาลสูง (Supreme Court) ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลด้านกฎหมายทั่วมวลของประเทศ ผู้ว่การรัฐ (State governors) ได้รับการต่างตั้งจากรัฐบาลกลาง (Federal government)

ในการสิ้นสุดของการประชุม แฮมิลตัน ก็ยังไม่พอใจกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายนัก แต่ก็ร่วมลงนาม ส่วนที่ว่าด้วยความเป็นสหพันธรัฐ (Confederation) ได้มีการปรับเปลี่ยนไปมากพอสมควร และเขาได้ผลักดันให้ตัวแทนจากรัฐได้ร่วมลงนามด้วย

ด้วยความที่สมาชิกตัวแทนจากรัฐนิวยอร์กอีกสองคน อันได้แก่ Lansing และ Yates ได้ถอนตัวไป แฮมิลตัน จึงเป็นเพียงคนเดียวจากรัฐนิวยอร์กที่ได้ร่วมลงนามในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ

แฮมิลตัน ได้เข้ามีบทบาทอย่างมากในการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงบทว่าด้วยรัฐบาลกลางที่ได้จัดให้มีขึ้นที่ New York ในปี ค.ศ. 1788 ซึ่งจัดเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยได้สรรหาผู้ร่วมความคิดอนได้แก่ John Jay และ James Madison ให้มาร่วมร่างข้อเสนอในรัฐธรรมนูญที่เรียกกันว่า “บทความว่าด้วยรัฐบาลกลาง (Federalist Papers) จัดได้ว่าเป็นการนำเสนอที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีบทความข้อเขียนกว่า 51 จาก 85 รายการที่ได้ตีพิมพ์ Madison เขียน 29 รายการ และ Jay เขียน 5 รายการ ข้อเขียนของเขามีอิทธิพลในรัฐนิวยอร์กและในที่อื่นๆ และได้กลายเป็นเอกสารอ้างอิงให้กับคณะลูกขุน (Jurists) นักกฎหมาย นักประวัติศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการตีความของรัฐธรรมนูญ

การเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

[แก้]

ประธานาธิบดี George วอชิงตัน ได้แต่งตั้งให้ แฮมิลตัน ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นคนแรก (Secretary of the Treasury) ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1789 และเขาได้พ้นจากตำแหน่งในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1795 ซึ่งโครงสร้างของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐได้มีการดำเนินการไปมากแล้วในช่วง เวลา 5 ปีดังกล่าว เริ่มตั้งแต่โครงสร้างคณะรัฐมนตรี (Cabinet) มีคนที่ไม่เห็นด้วยวิจารณ์ว่าสำนักงานกระทรวงการคลังนี้มีลักษณะคล้ายกับ ระบบ Chancellor of the Exchequer และ แฮมิลตัน ทำหน้าที่ของเขาคล้ายกับนายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ดูแลคณะทำงานของเขาให้กับประธานาธิบดี George วอชิงตัน เพราะท่านมักจะเรียกใช้ แฮมิลตัน นอกขอบข่ายของกระทรวงการคลัง (Treasury Department.)

แฮมิลตัน เป็นคนทำงานมีประสิทธิภาพ ภายในหนึ่งปี เขาได้ส่งรายงาน 5 เรื่องที่สำคัญและเป็นรากฐานดังต่อไปนี้

  • รายงานสถานะการเงิน (First Report on the Public Credit) รายงานต่อสมาชิกสภาผู้แทนในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1790
  • การดำเนินการด้านจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้า (Operations of the Act Laying Duties on Imports:) ต่อสมาชิกสภาผู้แทนในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1790
  • รายงานสถานะการเงินของสาธารณรัฐครั้งที่ 2 (Second Report on Public Credit) รายงานต่อสมาชิกสภาผู้แทนในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1790
  • รายงานการจัดตั้งโรงกษาปน์ (Report on the Establishment of a Mint) สื่อสารต่อสภาผู้แทนฯ ในวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1791
  • รายงานด้านการดำเนินการด้านระบบอุตสาหกรรม (Report on Manufactures) สื่อสารต่อสภาผู้แทนฯ ในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1791

รายงานสถานการเงิน

[แก้]

ใน รายงานด้านการเงิน (Public Credit) ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไดเสนอให้รัฐบาลกลาง (Federal Government) มีหน้าที่รับผิดชอบต่อหนี้ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพ (ค.ศ. 1776) ซึ่งจะทำให้รัฐบาลกลางมีอำนาจในการรับผิดชอบด้านการเงิน แทนที่จะเป็นรัฐบาลของแต่ละรัฐ (Stae governments) คำวิพากษ์ในแผนงานนี้มาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (Secretary of State) ในคณะรัฐบาลเอง ซึ่งคือ Thomasเจฟเฟอร์สัน และตัวแทนจากรัฐในขณะนั้นคือ James Madison เนื่องด้วยรัฐบางรัฐดังเช่น Virginia ที่เจฟเฟอร์สัน เคยเป็นผู้ว่าการฯ มาก่อนนั้นได้จ่ายหนี้นี้ไปครึ่งหนึ่งแล้ว และเห็นว่าผู้เสียภาษีไม่ควรต้องไปเสียภาษีซ้ำ และในอีกด้านหนึ่งเห็นว่าสิ่งที่เสนอนั้นจะไปก้าวล่วงเกินที่รัฐธรรมนูญได้ กำหนด ส่วน Madison ได้วิจารณ์ข้อเสนอของ แฮมิลตัน เห็นว่าควรจะลดอัตราดอกเบี้ย และควรเลื่อนการจ่ายเงิน หรือเห็นว่าไม่ควรต้องจ่ายเต็มตามจำนวน และเขาเห็นว่าจะทำให้เกิดการคาดการณ์ผลประโยชน์ต่างๆที่จะตกอยู่กับคน บางกลุ่ม ส่วนเงินหนี้ที่ได้ใช้ไปในสงครามนั้นจะไปตกกับทหารผ่านศึก ซึ่งสภาภาคพื้นทวีป (Continental Congress) ในขณะนั้นจะไม่มีเงินจ่าย เพราะเงินหนี้สินนั้นความจริงมิได้สูงมากนัก แต่ด้วยดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทำให้เกิดภาระที่ต้องบานปลาย

ส่วน Samuel Livermore จาก New Hampshire หวังว่าควรจะมีการสกัดพวกเก็งกำไร และทำให้ภาระเสียภาษีลดลง โดยมีการจ่ายเพียงบางส่วนของเงินพันธบัตรที่รัฐบาลได้ค้ำประกันไปแล้ว ความไม่เห็นด้วยระหว่าง Madison และ แฮมิลตัน ได้กลายเป็นความเห็นที่แตกต่างระหว่างฝ่ายเจฟเฟอร์สัน และ แฮมิลตัน ที่ได้ยืดยาวไปสู่ส่วนอื่นๆที่มีการเสนอต่อรัฐสภา (Congress) ฝ่าย แฮมิลตัน ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้สนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่แข็งแรง (Federalists) และฝ่ายเจฟเฟอร์สัน ถือเป็นฝ่าย “สาธารณรัฐ (Republicans) ความ แตกต่างระหว่าง แฮมิลตัน และเจฟเฟอร์สัน นั้นเป็นความแตกต่างกันทั้งทางด้านแนวคิด การดำเนินการ และพื้นฐานดั้งเดิม แฮมิลตัน เป็นฝ่ายที่ต้องปฏิบัติงานที่เขาประสบกับความขัดสนของกองทัพที่ไม่สามารถได้ รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ และขณะเดียวกันต้องเริ่มกองทัพที่มีแต่เด็กหนุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทางการ ทหารมาก่อน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายรัฐสภา ที่มีตัวแทนมาจากทางรัฐแต่ละรัฐที่เป็นผู้มีพื้นฐานจากชนชั้นสูง มีการศึกษา มีฐานะทางครอบครัวที่ดี และไม่ได้เป็นฝ่ายไปรบในสงคราม ไม่ได้เห็นปัญหาทีได้เกิดขึ้นในภาคสนาม แฮมิลตัน เป็นคนกล้าได้กล้าเสีย ฉลาด เรียนมาสูง สู้ชีวิตจากครอบครัวที่ยากจน ปากกัดตีนถีบ แต่เจฟเฟอร์สัน เป็นคนฉลาดอย่างมากเช่นกัน เรียนมาสูง คิดอย่างปรัชญา แต่ไม่ได้ลงปฏิบัติในสนามรบเหมือนกับ George วอชิงตัน หรือ แฮมิลตัน

แฮมิลตัน แม้เป็นฝ่ายกำลังทหารต่อสู้กับอังกฤษ แต่ชื่นชอบระบบการปกครองและแนวทางแบบอังกฤษ ส่วนเจฟเฟอร์สัน ในฐานะทำงานการทูตและการต่างประเทศ ได้เห็นและชื่นชอบระบบของฝรั่งเศส

แม้ ในท้ายสุดทุกฝ่ายจะเห็นด้วยในความจำเป็นต้องมีเมืองหลวง (Capital City) เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการบริหาร แต่ฝ่าย แฮมิลตัน ก็ต้องเจรจาและยอมตามเจฟเฟอร์สัน ที่ต้องการให้เมืองหลวงตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำ Potomac และเจฟเฟอร์สัน ก็เป็นฝ่ายชักจูงส่วนอื่นๆให้ยอมรับแผนงานด้านการจัดตั้งรัฐบาลกลาง การแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลกลาง และการผลักดันให้มีนิติบัญญัติขึ้นมารองรับ และผ่านร่างไปในที่สุดในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1790

การจัดตั้งโรงกษาปณ์

[แก้]

แฮมิลตัน ได้ผลักดันให้เกิดระบบโรงกษาปณ์ (United States Mint) ธนาคารแห่งชาติ (first national bank) และเพื่อให้สามารถมีอำนาจบังคับด้านการเสียภาษี จึงได้มีหน่วยงานที่เรียกว่า Revenue Cutter Service ทำหน้าที่โดยมีกองเรือติดอาวุธ มีหน้าที่สมบูรณ์ในการตรวจจับผู้ลักลอบน้ำเข้าหรือส่งออกสินค้า โดยหลีกเลี่ยงหรือหนีภาษี ในระยะต่อมา หน่วยงานนี้ได้เปลี่ยนเป็น United States Coast Guard ซึ่งในช่วงแรกมีหน้าที่ในการบังคับการดำเนินการด้านภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก ระบบที่นำเสนอโดย แฮมิลตัน ลดความสับสนของระบบการเงิน สร้างเสถียรภาพ ทำให้ประเทศมีเครื่องมือที่จะใช้ในการค้าขายทั้งภายในและระหว่างประเทศ สร้างความั่นใจให้กับนักลงทุนด้วยการมีพันธบัตรรับประกันโดยรัฐบาลกลาง (Government bonds)

แหล่งของการเงิน

[แก้]

แหล่งการเงินที่จะมีขึ้นให้กับรัฐบาลกลาง คือการจัดเก็บอากรเหล้า (excise tax on whiskey) ฝ่ายที่ต่อต้านการจัดเก็บภาษีเหล้าคือพวกที่เป็นผู้ผลิตฝ้าย (cottage producers) ในเขตชนบทห่างไกล เพราะคนกลุ่มดังกล่าวมองเห็นว่าการต้มเหล้าบริโภคกันเองนั้น คือเป็นสิทธิของประชาชนที่จะทำได้ จึงทำให้เกิดกบฏเหล้า (Whiskey Rebellion) ขึ้นในปี ค.ศ. 1794; ในแขตตะวันตกของรัฐเพนซิลเวเนีย (Western เพนซิลวาเนีย) และตะวันตกของเวอร์จิเนีย (western Virginia) ซึ่งในขณะนั้น เหล้าถือเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนที่เปรียบเหมือนทำหน้าที่แทนเงินในชุมชน แต่ในช่วงดังกล่าว ได้มีการระดมกำลังคนเพื่ออำนาจรัฐบาลกลาง ที่มากเสียยิ่งกว่าในการรบในสงครามประกาศอิสรภาพ ทัพที่นำโดยนายพล Henry "Light Horse Harry" Lee ที่ประธานาธิบดี George วอชิงตัน ได้ส่งไปนั้นเป็นการแสดงพลังของรัฐบาลกลาง และทำให้ฝ่ายกบฏต้องยอมสงบ โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ

ระบบอุตสาหกรรม

[แก้]
อนุสาวรีย์ แฮมิลตัน โดย Franklin Simmons, กำลังมองไปยัง Great Falls of the Passaic River ใน Paterson, รัฐ นิวเจอร์ซี. แฮมิลตัน มองว่าน้ำตกหรือพลังน้ำนี้จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนโรงงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รายงาน ระบบอุตสาหกรรม (Report on Manufactures) ที่มีต่อรัฐสภา โดยไม่มีการอภิปรายกันมากนัก ยกเว้น Madison ได้อภิปรายในประเด็นเพื่อสวัสดิการทั่วไป ในขณะนั้น เขตอาณานิคม และเมื่อเป็นประเทศใหม่ อเมริกาก็ยังเป็นดินแดนชนบทที่ห่างไกลความเจริญ เป็นเขตการเกษตรที่ส่งผลผลิตไปขายยังยุโรป ใน ค.ศ. 1791 แฮมิลตัน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ทำงานในฐานะเอกชนที่จะจัดตั้ง “สมาคมก่อตั้งระบบอุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์” (Society for the Establishment of Useful Manufactures) จัดเป็นวิสาหกิจเอกชนที่จะใช้อำนาจในการอุตสาหกรรมโดยตรง ในระยะแรกไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากการปล่อยให้มีการเช่าที่ดินให้แก่คนที่จะนำไปทำโรงสีข้าว และพลังงานในโรงงานอื่นๆ ที่ส่งผลในช่วง 150 ปีต่อมา เมื่อสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนไปเป็นเมืองอุตสาหกรรมมากขึ้น

การเกิดพรรคใหม่

[แก้]

ประธานาธิบดี George วอชิงตัน เป็นคนแรกและคนเดียวที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอย่างไม่มีคู่ แข่ง และไม่มีพรรคการเมืองสนับสนุน ถือเป็นมติเอกฉันท์ แต่ในยุคต่อๆมา ก็เริ่มมีความแตกต่างทางความคิดทางการเมือง และนำไปสูการมีระบบพรรคการเมืองในระยะต่อมา

กลุ่ม ในแนวทางของ แฮมิลตัน ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กลายเป็นกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์ ของตนเองชัดเจนมากขึ้น และเรียกตัวเองว่าพวก Federalists อันเป็นกลุ่มสนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง มีระบบการเงินเป็นอิสระ และสนับสนุนให้มีกองทัพเป็นของส่วนกลางได้ และในขณะเดียวกันในรัฐสภา ก็ได้เกิดกลุ่มที่นำโดย James Madison และ William Giles ที่ต่อต้านแนวทางของกลุ่ม แฮมิลตัน และแนวทางด้านการเงินของเขา เมื่อเจฟเฟอร์สัน ได้กลับจากประเทศฝรั่งเศสจากงานด้านการทูต กลุ่มนี้เป็นฝ่ายเห็นตรงกันข้ามกับ แฮมิลตัน ในเกือบจะทุกกรณี และได้เรียกตัวเองว่า กลุ่มสาธารณรัฐ กลุ่มเจฟเฟอร์สัน ซึ่งได้รับคะแนนนิยมจากลุ่มประชาชนฐานราก และตัวแทนจากรัฐต่างๆ ที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และเห็นว่าบทบาทของรัฐบาลกลางควรมีอย่างจำกัด และด้วยความเห็นชอบของแต่ละรัฐเท่านั้น

เมื่อเป็นพรรคการเมืองในทางพฤตินัย ต่างก็มีกระบอกเสียงและสื่อที่เป็นของตนเอง ฝ่าย Federalists มีหนังสือพิมพ์ของตน โดยมี Noah Webster, John Fenno, และรวมถึง William Cobbett เป็นบรรณาธิการให้กับกลุ่ม ในทางการ George วอชิงตัน ไม่ได้อยู่ในกลุ่มการเมือง รวมทั้ง John Adams ก็ไม่ประกาศตัวเป็นส่วนของกลุ่มการเมือง แต่ในทางปฏิบัติ ก็ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม Federalists ดังกล่าว ซึ่งทำงานเพื่อความเข้มแข็งของส่วนรัฐบาลกลาง และทำให้งานของประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางง่ายขึ้น ส่วนฝ่ายตรงกันข้าม Benjamin Franklin Bache และ Philip Freneau เป็นฝ่ายของกลุ่มสาธารณรัฐ โดยมีหนังสือพิมพ์ “สาธารณรัฐประชาธิปไตย” (Democratic-Republicans) ทั้งสองฝ่ายนอกจากจะเป็นการแสดงทัศนะทางการเมืองแล้ว ยังมีการกระทบกระทั่งกัน และมีการโจมตีเป็นการส่วนตัวไปด้วย

ในปี ค.ศ. 1801 แฮมิลตัน ได้จัดตั้งหนังสือพิมพ์ของตนเองขึ้นในนิวยอร์ก เรียกว่า New-York Evening Post โดยมี William Coleman เป็นบรรณาธิการ และจัดว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการนำเสนอต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดในสหรัฐ และในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ New York Post.[52]

The New York Post จัดเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดเป็นอันดับ ที่ 13 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพิมพ์ติดต่อเป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ในประวัติศาสตร์หลังจากที่ได้มีการก่อตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน มีการหยุดำเนินการเป็นระยะด้วยปัญหาแรงงาน ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นเจ้าของโดยกลุ่มของมหาเศรษฐีชาวออสเตรเลีย ชื่อ Rupert Murdoch จัดเป็นหนังสือพิมพ์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของสหรัฐ ปัจจุบันมีสำนักงานอยู่ที่ 1211 ถนนที่เรียกว่า Avenue of the Americas, ในเกาะ Manhattan เมืองนิวยอร์ก

สงครามปฏิวัติ

[แก้]

ในท่ามกลางความขัดแย้งในยุโรปของสองมหาอำนาจ นโยบายต่อการเป็นฝ่ายอังกฤษ หรือฝรั่งเศส เมื่อ ฝรั่งเศสและอังกฤษได้ประกาศสงครามต่อกันในช่วงเดือนมกราคม ค.ศ.1793 ผู้นำของสหรัฐได้มีการหารือกับบุคคลสำคัญในคณะรัฐมนตรีทั้ง 4 คน และได้มีมติเป็นเอกฉันท์ที่จะวางตัวเป็นกลางในสงครามดังกล่าว แฮมิลตัน และเจฟเฟอร์สัน ได้เป็นสถาปนิกหลักในการทำรายละเอียดในการที่จะบังคับใช้เพื่อรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด

ในช่วง แฮมิลตัน ร่วมในคณะรัฐมนตรีปีสุดท้าย นโยบายต่ออังกฤษได้กลายเป็นเรื่องสำคัญในทั้งสองพรรคการเมือง แฮมิลตัน และกลุ่ม Federalists หวังว่าจะเพิ่มการค้ากับทางอังกฤษ ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้จากการค้าที่มาจากภาษีอากรต่างๆ ฝ่ายพวก Democratic-Republicans ต้องการบังคับใช้นโยบายห้ามการค้ากับอังกฤษ เพื่อทำให้อังกฤษต้องหันมาให้ความเคารพสิทธิประเทศสหรัฐ และยกเลิกป้อมค่ายต่างๆที่ยังตั้งอยู่ในแผ่นดินอเมริกัน ที่ตรงกันข้ามกับสัญญาที่ได้กระทำที่กรุงปารีส (Treaty of Paris)

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม ประธานาธิบดี วอชิงตัน ได้ส่งหัวหน้าฝ่ายยุติธรรม ชื่อ John Jay ไปเจรจากับอังกฤษในปี ค.ศ.1794 ฝ่าย แฮมิลตัน เป็นฝ่ายเขียนในรายละเอียด ผลจึงได้เกิดสนธิสัญญาใหม่ที่เรียกว่า Jay's Treaty สนธิสัญญานี้ไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก และฝ่าย Democratic-Republicans ได้ต่อต้านเนื่องจากในสัญญาไม่ได้ให้ความสำคัญต่อข้อเรียกร้องที่มีมาก่อน หน้านี้ ไม่ได้เป็นการบ่งบอกถึงการที่อังกฤษได้ฝ่าฝืนความเป็นกลางของสหรัฐในช่วงสงครามกับฝรั่งเศส

ในช่วงความขัดแย้งดังกล่าว หลายประเทศในยุโรปได้จัดตั้งกลุ่มเป็นกลางทางการทหาร (League of Armed Neutrality) คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลประธานาธิบดี วอชิงตัน ในช่วงดังกล่าวได้หารือกันที่จะไม่เข้าร่วมกับกลุ่มเป็นกลางหรือกลุ่มใดๆ แต่ยังเก็บไว้เป็นความลับ Jay ในขณะนั้นอยู่ที่กรุงลอนดอน ได้ขู่ฝ่ายอังกฤษว่าจะเข้าร่วมกับกลุ่มหากสิทธิสภาพของสหรัฐได้รับการคุกคาม แต่ แฮมิลตัน ได้เปิดเผยการตัดสินใจกับ George Hammond ซึ่งเป็นรัฐมนตรีของอังกฤษประจำสหรัฐ และโดยที่ไม่ได้บอกเรื่องนี้กับ Jay หรือคนอื่นๆ ความมาเปิดเผยเอาในปี ค.ศ.1920 ซึ่งอาจเป็นผลทีทำให้การเจรจาความที่ส่ง Jay ไปนั้น กระทำได้อย่างจำกัด Jay ได้มีการขู่อังกฤษในการเจรจา แต่อังกฤษไม่ได้จริงจังกับเรื่องของ League มากนัก เกษียณอายุจากรัฐบาลกลางRetirement from federal service

เกษียณอายุจากรัฐบาลกลาง

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1791 แฮมิลตัน ได้มีเรื่องอื้อฉาวขึ้นกับ Maria Reynolds หญิงที่มีสามีแล้ว และ James Reynolds ผู้สามีได้นำความนี้มาดัดหลัง แฮมิลตัน เพื่อเรียกร้องเงิน และขู่ว่าจะบอก Elizabeth ภรรยาของ แฮมิลตัน เมื่อ James ได้ถูกจับด้วยทำผิดกฎหมายการปลอมแปลง เขาได้นำความนี้ไปบอกแก่สมาชิกหลายคนของพรรค Democratic-Republican ที่ชัดเจนที่สุดคือ James Monroe และ Aaron Burr และขู่ว่าจะเปิดเผยเรื่องทั้งหมดนี้แก่สาธารณะ ทั้งสองได้เข้าพบ แฮมิลตัน และบอกว่า James Raynolds อาจนำเรื่องส่วนตัวนี้เปิดเผยอันจะทำให้สถานะของ แฮมิลตัน ในคณะรัฐมนตรีของ วอชิงตัน ได้เสื่อมเสียไป แฮมิลตัน ได้ตัดสินใจเปิดเผยเรื่องของเขากับ Maria Reynolds อย่างหมดเปลือก และยืนยันว่าเขาไม่เคยทำผิดในหน้าที่ของบ้านเมือง และเมื่อมีข่าวลือมากขึ้น แฮมิลตัน ได้พิมพ์คำสารภาพเรื่องส่วนตัวของเขา ทำให้ครอบครัวของเขาและผู้ให้การสนับสนุนทั้งหลายตระหนกและตกใจในรายละเอียด ในคำสารภาพนั้น และสิ่งนี้ได้ทำให้ชื่อเสียงของ แฮมิลตัน ได้รับความกระทบกระเทือนไปตลอดชีวิตการงานของเขาในระยะต่อมา

ใน ครั้งแรก แฮมิลตัน โกรธและได้กล่าวหาว่า Monroe ได้นำเรื่องส่วนตัวของเขาเปิดเผยต่อสาธารณะ จนระดับท้า Monroe เพื่อดวลปืนตัดสินกัน แต่ Aaron Burr ได้เข้าขวางและหว่านล้อม แฮมิลตัน ว่า Monroe ไม่รู้เรื่องและไม่ได้เกี่ยวข้องในการกล่าวหานั้น และด้วยอารมณ์ร้อนของ แฮมิลตัน ได้ท้าอีกหลายๆคนเพื่อดวลปืนในช่วงการทำงานในชีวิตของเขา

แฮมิลตัน ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะที่เรื่องส่วนตัวของ เขาได้รับการสอบสวน เขาได้ยื่นใบลาออกในวันที่ 1 ธ้นวาคม ค.ศ. 1794 และมีผลในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1795

การเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ.1796

[แก้]

แฮมิลตัน เมื่อลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (Secretary of the Treasury) ที่ทรงอำนาจในปี ค.ศ.1795 นั้น ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเขาต่อการทำงานการเมืองให้กับประเทศได้ถดถอยลง เขาได้กลับไปทำงานด้านกฎหมาย และยังมีความใกล้ชิดกับ วอชิงตัน ทั้งในฐานะที่ปรึกษาและเป็นเพื่อน เขายังมีบทบาทในด้านการเขียนงานให้กับ วอชิงตัน และยังเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะรัฐมนตรีที่มาปรึกษากับเขา

ใน ช่วงการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1796 การเลือกประธานาธิบดีเป็นการเลือกทางอ้อมผ่านตัวแทนผู้เลือก (Electors) ผู้เลือกแต่ละคนเลือกได้ 2 คน คนที่ได้รับคะแนนสูงสุดได้เป็นประธานาธิบดี และคนที่ได้รับคะแนนอันดับที่สอง ได้เป็นรองประธานาธิบดี ระบบนี้ได้ออกแบบมาในแบบที่ไม่ได้เน้นการมีระบบพรรคการเมือง ทำให้เกิดการเลือกตั้งที่แตกแยกและสับสน ฝ่าย Federalists หวังว่าจะเลือกเพื่อให้ได้ John Adams เป็นรองประธานาธิบดี แต่ให้เป็นอันดับสองรองจากคนของเขา

แฮมิลตัน โดยส่วนตัวไม่ชอบ Adams นัก และเห็นโอกาส ได้วิ่งเต้นผลักดันให้ผู้ทำหน้าที่เลือกจากรัฐฝ่ายเหนือในออกเสียงให้กับ Adams และ โดยไม่ปล่อยให้เจฟเฟอร์สัน ได้เข้ามามีบทบาทในรัฐบาล และในขณะเดียวกันได้ตกลงกับฝ่ายใต้ให้เลือกทั้งเจฟเฟอร์สัน และ Pinckney ตามแผนของเขา Pinckney จะได้คะแนนมากกว่าทั้งสองคน และได้เป็นประธานาธิบดี ส่วน Adams ที่ได้คะแนนรองลงมาจะได้เป็นรองประธานาธิบดี แต่การไม่ได้เป็นประธานาธิบดี ดังนั้น พวก Federalists ฝ่ายทางเหนือ เลือก Adams แต่ไม่เลือก Pinckney ทำให้ Pinckney ไม่ได้รับคะแนนเลือกมากพอ และกลายเป็นอันดับสาม Adams ได้นำมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้เป็นประธานาธิบดี ตามมาด้วยเจฟเฟอร์สัน ซึ่งได้เป็นรองประธานาธิบดี ส่วน Pinckney ได้คะแนนไม่พอ กลายเป็นที่สาม และตกไป

Adams ไม่ชอบวิธีการของ แฮมิลตัน และอิทธิพลของเขาที่มีต่อ วอชิงตัน และเห็นว่า แฮมิลตัน เป็นคนมักใหญ่ไฝ่สูง ส่วน แฮมิลตัน มองว่า Adams เป็นคนอารมณ์ไม่คงเส้นคงวา วางใจไม่ได้กับการทำงานกับประธานาธิบดี วอชิงตัน แต่การได้ Adams เป็นประธานาธิบดียังดีกว่าได้เจฟเฟอร์สัน ที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามอย่างชัดเจน

สงคราม Quasi-War

[แก้]

Quasi-War คือสงครามแบบครึ่งๆกลางๆ เป็นสงครามที่ไม่มีการประกาศ เป็นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 1798-1800 ซึงสงครามนี้ในสหรัฐเรียกว่า "สงครามที่ไม่มีการประกาศ" (Undeclared War) เป็นสงครามโจรสลัด และสงครามแบบครึ่งๆ กลางๆ

ในช่วงสงคราม Quasi-War ในปี ค.ศ. 1798–1800 ด้วยการสนับสนุนของ วอชิงตัน ทำให้ Adams ต้องสนับสนุนและแต่งตั้ง แฮมิลตัน ให้เป็น Major General ของกองทัพบก เพื่อไปนำรบในสงครามนี้ สงครามนี้หากเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ จะทำให้ขับไล่ฝรั่งเศสให้พ้นอิทธิพลไปได้อย่างกว้างไกล ตามความเห็นของ แฮมิลตัน กองทัพบกจะสามารถรบชนะและครอบครองเขตอาณานิคมภาคเหนือที่เคยเป็นของฝรั่งเศส และสเปนที่ติดชายแดนสหรัฐ

เพื่อให้การสนับสนุนกองทัพ แฮมิลตัน ได้เขียนจดหมายถึง Oliver Wolcott ซึ่งเป็นผู้สืบตำแหน่งรัฐมตนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อจากเขา และเขียนถึง William Loughton Smith ซึ่งมีอิทธิพลในรัฐสภา และ Theodore Sedgwick, จากรัฐ Massachusetts เขาได้เร่งให้ผ่านกฎหมายเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีเพื่อการสงคราม Smith ได้ลาออกในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1797 เพราะถูก แฮมิลตัน ตะคอกว่าเป็นพวกล่าช้า และเขาได้บงการให้ Wolcott ได้เปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีจากแทนที่จะเป็นเก็บตามที่ดิน ให้เก็บที่บ้านเรือนแทน

ใน โปรแกรมของเขา จะรวมถึงการมีรายได้จากอากรแสตมป์ (Stamp Act) เหมือนกับประเทศอังกฤษในช่วงก่อนสงครามประกาศอิสรภาพ การเก็บภาษีของเขาจะรวมถึงการเก็บจากที่ดิน (land) บ้าน (houses) การมีและครอบครองทาส (slaves) และมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างกันไปตามลักษณะของรัฐ มีวิธีการจัดเก็บที่ซับซ้อนตามการประเมินลักษณะบ้าน ทำให้เกิดการต่อต้านจากรัฐเพนซิลเวเนียทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ แฮมิลตัน ได้มีความพยายามผลักดันให้กองทัพบกมีการพัฒนา เขาได้รับใช้ในกองทัพบกสหรัฐและรับตำแหน่งในฐานะ Major General ในช่วงวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1800 หน้าที่ของกองทัพคือการปกป้องต่อการรุกรานของฝรั่งเศส และ แฮมิลตัน ยังได้เสนอว่านโยบายคือการเดินหน้าเข้าครอบครองพื้นที่ๆปกครองโดยสเปน ซึ่งในขณะนั้นเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส และนั่นหมายถึงการเข้ายึดเขตแดน Louisiana ซึ่งปกครองโดยฝรั่งเศส และ Mexico ที่เป็นของสเปน

จาก จดหมายติดต่อของเขา เขาต้องการกลับมามีบทบาทในกองทัพ เขาฝันว่าหากกลับมามีอำนาจ รัฐบาลจะต้องมีกำลัง โดยไม่มีบทบาทของฝ่ายผู้ยึดถือในแนวทางของเจฟเฟอร์สัน แต่ Adams ซึ่งไม่ได้ต้องการทำสงครามมากมายอย่างที่ แฮมิลตัน ต้องการ ได้สกัดแผนดังกล่าวที่จะไม่ให้เกิดสงคราม และได้เปิดเจรจากับฝรั่งเศส Adams เมื่อเป็นประธานาธิบดีได้ใช้สิทธิที่จะคงคณะรัฐมนตรีของ วอชิงตัน ยกเว้นในประเนที่เขาพบว่าในปี ค.ศ. 1800 ที่เมื่อ วอชิงตัน ได้เสียชีวิตแล้ว เขาได้เชื่อ แฮมิลตัน มากกว่าตัวของเขาเอง และได้ปลดหลายคนออก

การเลือกตั้งปี ค.ศ. 1800

[แก้]

อนุสาวรีย์ แฮมิลตัน ที่ตั้งอยู่ในโถงที่ United States Capitol rotunda ในกรุงวอร์ชิงตัน ดีซี


ใน การเลือกต้ง ปี ค.ศ. 1800 แฮมิลตัน ได้ทำงานที่จะไม่เอาชนะฝ่ายตรงกันข้าม คือตัวแทนจากฝ่าย Democratic-Republican แต่รวมไปถึงตัวแทนของฝ่ายเขาเองในขณะนั้น คือ John Adams ในเดือนกันยายน เขาได้เขียนแผ่นปลิว กล่าวหาบุคลิกภาพของ John Adams ในการทำงานเป็นประธานาธิบดีของประเทศ เป็นการวิจารณ์ Adams อย่างเสียๆหายๆ แม้ในที่สุดเขาจะสนับสนุน Adams แต่จดหมายดังกล่าวได้ไปอยู่ในมือของกลุ่ม Democratic-Republican และได้มีการนำไปพิมพ์เผยแพร่ต่อ ซึ่งมีผลกระทบต่อ Adams ในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่ม Federalists และทำให้ชัยชนะไปตกอยู่กับมือของกลุ่ม Democratic-Republican Party ที่นำโดยเจฟเฟอร์สัน ในการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1800 และได้ทำลายโอกาสตำแหน่งของ แฮมิลตัน ในกลุ่มของ Federalists ในเวลาต่อมา

แฮมิลตัน ได้เสนอให้รัฐนิวยอร์ก ที่ Burr ได้ชัยชนะให้กลุ่มเจฟเฟอร์สัน ควรจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่ในบางเขต แต่ John Jay ผู้ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นประธานศาลสูง และมารับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ได้เขียนในจดหมายตอบข้อเสนอว่า แม้จะเป็นข้อเสนอโดยพรรค แต่เขาจะไม่ปฏิบัติตาม และไม่ตอบจดหมายจาก แฮมิลตัน

John Adams ได้รณรงค์ใหม่ คราวนี้กับพี่ชายของ Pinckney ชื่อ Charles Coteworth Pinckney ในคราวนี้ แฮมิลตัน ได้เดินทางทั่วเขต New England และสนับสนุนผู้ทำหน้าที่เลือกตั้งให้ยึดมั่นใน Pinckney โดยหวังให้ Pinckney ได้มีหวังเป็นประธานาธิบดี แต่คราวนี้ปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้เลือก (Electors) กลุ่มเจฟเฟอร์สัน คือไปสนับสนุนเจฟเฟอร์สัน และ Burr เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลุ่ม Federalists กลับเข้ามามีอำนาจอีก ในฝ่าย Federalists เอง ก็มีคนไม่เห็นด้วย ดังผู้ว่าการรัฐ Arthur Fenner แห่ง Rhode Island ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเล่นเกมส์ของ แฮมิลตัน จึงทำให้คะแนนของฝ่ายเจฟเฟอร์สัน และ Burr ได้เท่ากัน เป็นอันดับหนึ่งและสอง ส่วน Pinckney ได้มาเป็นอันดับที่สี่

เมื่อ ฝ่าย Federalists แตกแยกและอ่อนกำลังลงเจฟเฟอร์สัน จึงจะชนะ Adams แต่ด้วยเจฟเฟอร์สัน และ Aaron Burr ได้รับคะแนนเสียง 73 คะแนนเท่ากันในระบบเลือกผ่านตัวแทน (Electoral College) ดังนั้นในคณะตัวแทนของประชาชนจึงต้องมาเลือกกันว่าระหว่างสองคนนั้นใครควรจะ เป็นประธานาธิบดี ผลจากดังกล่าวจึงต้องมีการมาปรับแก้รัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีดังที่เป็นในปัจจุบัน ที่เลือกประธานาธิบดีในฐานะผู้นำฝ่ายบริหารเป็นหลัก มิใช่ไปเลือกตัวแทนแล้วนับคะแนนคนเป็นประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดี โดยเลือกจากคนที่ได้อันดับหนึ่งและสอง

ใน ครั้งนั้นฝ่าย Federalists หลายคนต่อต้านเจฟเฟอร์สัน และสนับสนุน Burr แต่ แฮมิลตัน ลังเลที่จะดำเนินการดังนั้น โดยได้ให้คะแนนไปที่เจฟเฟอร์สัน โดยให้สมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งในฝ่าย Federalists งดออกเสียงที่ไปเท่ากันที่ 36 คะแนน ทำให้เจฟเฟอร์สัน ได้รับเลือกป็นประธานาธิบดี แทนที่จะเป็น Burr ที่เป็นดังกล่าว เพราะแม้ แฮมิลตัน จะไม่ชอบเจฟเฟอร์สัน และมีความเห็นไม่ลงรอยกันในหลายๆกรณี แต่เขาเห็นว่า “Jefferson เป็นคนซื่อสัตย์” ดังนั้น Burr จึงกลายเป็นรองประธานาธิบดี และเมื่อในระยะต่อมา Burr ไม่ได้ถูกขอให้ลงชิงตำแหน่งร่วมกับเจฟเฟอร์สัน อีก เขาจึงกลับไปสมัครเป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1804 ในนามตัวแทนของกลุ่ม Federalists โดยฝ่ายตรงข้ามคือตัวแทนพรรคเจฟเฟอร์สันian คือ Morgan Lewis แต่ต้องพ่ายแพ้ไปด้วยกำลังส่วนหนึ่งที่หนุนหลังโดย แฮมิลตัน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ Burr กับ แฮมิลตัน ได้ผูกใจเจ็บต่อกันไปตลอดชีวิต

การดวลปืน และการเสียชีวิต

[แก้]
ภาพการดวลปืนระหว่างเบอร์ กับ แฮมิลตัน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1804 โดย เจ. มันด์

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 11 กรกฎาคม 1804 โดย อะรอน เบอร์ และ แฮมิลตัน ได้เดินทางโดยเรือคนละลำจากเมืองแมนฮัตตัน เพื่อข้ามไปยังแม่น้ำฮัดสัน ที่เมืองนิวเจอร์ซีย์ เมื่อถึงที่หมายแล้ว เบอร์ได้ลั่นไกใส่แฮมิลตัน (หลักฐานบางประการกล่าวว่า แฮมิลตันยิงปืนขึ้นฟ้าแล้วกระสุนตกลงมาโดนต้นไม้) จนได้รับบาดเจ็บสาหัส จนกระทั่งเวลา 2.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยผู้สังเกตการณ์ได้พยุงร่างที่บาดเจ็บของแฮมิลตันไว้ที่บ้านพักของ วิลเลียม บายาร์ด เพื่อนสนิทของเขา จนกระทั่งครอบครัว พี่น้อง และผองเพื่อนเขาเข้ามาเยี่ยมได้ไม่นาน ในเวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น แฮมิลตันก็เสียชีวิตลงเนื่องจากทนพิษบาดแผลไม่ไหว หลังจากการเสียชีวิตของแฮมิลตัน เบอร์ ก็ถูกถอดออกจากการชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีโดย ทอมัส เจฟเฟอร์สัน

อ้างอิง

[แก้]
"The long tradition of Hamilton biography has, almost without exception, been laudatory in the extreme. Facts have been exaggerated, moved around, omitted, misunderstood and imaginatively created. The effect has been to produce a spotless champion...Those little satisfied with this reading of American history have struck back by depicting Hamilton as a devil devoted to undermining all that was most characteristic and noble in American life." James Thomas Flexner, The Young Hamilton, pp. 3–4.

Secondary sources

[แก้]

Biographies

[แก้]
  • Brookhiser, Richard. Alexander Hamilton, American. Free Press, (1999) (ISBN 0-684-83919-9).
  • Chernow, Ron. Alexander Hamilton. Penguin Books, (2004) (ISBN 1-59420-009-2). full length detailed biography
  • Ellis, Joseph J. Founding Brothers: The Revolutionary Generation (2002), won Pulitzer Prize.
  • Ellis, Joseph J. His Excellency: George Washington. (2004).
  • Flexner, James Thomas. The Young Hamilton: A Biography. Fordham University Press, (1997) (ISBN 0-8232-1790-6).
  • Fleming, Thomas. Duel: Alexander Hamilton, Aaron Burr, and the Future of America. (2000) (ISBN 0-465-01737-1).
  • McDonald, Forrest. Alexander Hamilton: A Biography(1982) (ISBN 0-393-30048-X), biography focused on intellectual history esp on AH's republicanism.
  • Miller, John C. Alexander Hamilton: Portrait in Paradox (1959), full-length scholarly biography; online edition
  • Mitchell, Broadus. Alexander Hamilton (2 vols., 1957–62), the most detailed scholarly biography; also published in abridged edition
  • Randall, Willard Sterne. Alexander Hamilton: A Life. HarperCollins, (2003) (ISBN 0-06-019549-5). Popular.
  • Don Winslow Alexander Hamilton: In Worlds Unknown (Script and Film New York Historical Society).

Specialized studies

[แก้]
  • Adair, Douglas, and Marvin Harvey: "Was Alexander Hamilton a Christian Statesman?]" The William and Mary Quarterly, 3rd Ser., Vol. 12, No. 2, Alexander Hamilton: 1755–1804. (Apr., 1955), pp. 308–29. in JSTOR
  • Austin, Ian Patrick.Common Foundations of American and East Asian Modernisation: From Alexander Hamilton to Junichero Koizumi. Select Books. Singapore (2009)
  • Brown, Christopher Leslie, and Philip D. Morgan, eds. Arming slaves: from classical times to the modern age, esp. 180–208 on the American Revolution, by Morgan and A. J. O'Shaubhnessy.
  • Douglas Ambrose and Robert W. T. Martin, eds. The Many Faces of Alexander Hamilton: The Life & Legacy of America's Most Elusive Founding Father (2006).
  • Brant, Irving: The Fourth President: a Life of James Madison. Bobbs-Merill, 1970. A one-volume recasting of Brant's six-volume life.
  • Burns, Eric. Infamous Scribblers: The Founding Fathers and the Rowdy Beginnings of American Journalism. (2007).
  • Chan, Michael D. "Alexander Hamilton on Slavery." Review of Politics 66 (Spring 2004): 207–31.
  • Fatovic, Clement. "Constitutionalism and Presidential Prerogative: Jeffersonian and Hamiltonian Perspectives." American Journal of Political Science 2004 48(3): 429–44. Issn: 0092-5853 Fulltext in Swetswise, Ingenta, Jstor, Ebsco.
  • Flaumenhaft; Harvey. The Effective Republic: Administration and Constitution in the Thought of Alexander Hamilton Duke University Press, 1992.
  • Flexner, James Thomas. George Washington. Little Brown, 1965–72. Four volumes, with various subtitles, cited as "Flexner, Washington". Vol. IV. ISBN 0316286028.
  • Harper, John Lamberton. American Machiavelli: Alexander Hamilton and the Origins of U.S. Foreign Policy. (2004).
  • Horton, James Oliver. "Alexander Hamilton: Slavery and Race in a Revolutionary Generation" New York Journal of American History 2004 65(3): 16–24. ISSN 1551-5486 online version.
  • Kennedy, Roger G. ; Burr, Hamilton, and Jefferson: A Study in Character Oxford University Press (2000).
  • Knott, Stephen F. Alexander Hamilton and the Persistence of Myth University Press of Kansas, (2002) ISBN 0-7006-1157-6.
  • Kohn, Richard H. "The Inside History of the Newburgh Conspiracy: America and the Coup d'État"; The William and Mary Quarterly, Third Series, Vol. 27, No. 2 (Apr., 1970), pp. 188–220. JSTOR link. A review of the evidence on Newburgh; despite the title, Kohn is doubtful that a coup d'état was ever seriously attempted.
  • Larsen, Harold. "Alexander Hamilton: The Fact and Fiction of His Early Years]" The William and Mary Quarterly, 3rd Ser., Vol. 9, No. 2. (Apr., 1952), pp. 139–51. [in JSTOR
  • Levine, Yitzchok. "The Jews Of Nevis And Alexander Hamilton." Glimpses Into American Jewish History, The Jewish Press. May 2, 2007.
  • Littlefield, Daniel C. "John Jay, the Revolutionary Generation, and Slavery." New York History 2000 81(1):91–132. ISSN 0146-437X.
  • Lomask, Milton. Aaron Burr, the Years from Princeton to Vice President, 1756–1805. Farrar, Straus & Giroux, 1979. ISBN 0374100160. First volume of two, but this contains Hamilton's lifetime.
  • Martin, Robert W.T. "Reforming Republicanism: Alexander Hamilton's Theory of Republican Citizenship and Press Liberty." Journal of the Early Republic 2005 25(1):21–46. Issn: 0275-1275 Fulltext online in Project Muse and Ebsco.
  • McManus, Edgar J. History of Negro Slavery in New York. Syracuse University Press, 1966.
  • Mitchell, Broadus: "The man who 'discovered' Alexander Hamilton". Proceedings of the New Jersey Historical Society 1951. 69:88–115.
  • Monaghan, Frank: John Jay. Bobbs-Merrill (1935).
  • Nettels, Curtis P. The Emergence of a National Economy, 1775–1815 (1962).
  • Newman, Paul Douglas: Fries's Rebellion; The Enduring Struggle for the American Revolution. University of Pennsylvania Press, 2004.
  • Rakove, Jack N. The beginnings of National Politics: an interpretive history of the Continental Congress, Knopf, 1979.
  • Rossiter, Clinton. Alexander Hamilton and the Constitution (1964).
  • Sharp, James. American Politics in the Early Republic: The New Nation in Crisis. (1995), survey of politics in 1790s.
  • Sheehan, Colleen. "Madison V. Hamilton: The Battle Over Republicanism And The Role Of Public Opinion" American Political Science Review 2004 98(3): 405–24.
  • Smith, Robert W. Keeping the Republic: Ideology and Early American Diplomacy. (2004).
  • Staloff, Darren. "Hamilton, Adams, Jefferson: The Politics of Enlightenment and the American Founding." (2005).
  • Stourzh, Gerald. Alexander Hamilton and the Idea of Republican Government (1970).
  • Stryker, William S[cudder]: The Battles of Trenton and Princeton; Houghton Mifflin, 1898.
  • Thomas, Charles Marion: American neutrality in 1793; a study in cabinet government, Columbia, 1931.
  • Trees, Andrew S. "The Importance of Being Alexander Hamilton." Reviews in American History 2005 33(1): 8–14. Issn: 0048-7511 Fulltext: in Project Muse.
  • Trees, Andrew S. The Founding Fathers and the Politics of Character. (2004).
  • Wallace, David Duncan: Life of Henry Laurens, with a sketch of the life of Lieutenant-Colonel John Laurens Putnam (1915).
  • Weston, Rob N. "Alexander Hamilton and the Abolition of Slavery in New York". Afro-Americans in New York Life and History 1994 18(1): 31–45. ISSN 0364-2437 An undergraduate paper, which concludes that Hamilton was ambivalent about slavery.
  • White, Leonard D. The Federalists (1949), coverage of how the Treasury and other departments were created and operated.
  • White, Richard D. "Political Economy and Statesmanship: Smith, Hamilton, and the Foundation of the Commercial Republic" Public Administration Review, Vol. 60, 2000.
  • Wood, Gordon s. Empire of Liberty: A History of the Early Republic, 1789-1815 (2009), the most recent synthesis of the era
  • Wright, Robert E. Hamilton Unbound: Finance and the Creation of the American Republic (2002).
  • Wright, Robert E. One Nation Under Debt: Hamilton, Jefferson, and the History of What We Owe New York: McGraw-Hill (2008).

Primary sources

[แก้]
  • Hamilton, Alexander. (Joanne B. Freeman, ed.) Alexander Hamilton: Writings (2001), The Library of America edition, 1108 pages. ISBN 978-1-93108204-4; all of Hamilton's major writings and many of his letters
  • Syrett, Harold C.; Cooke, Jacob E.; and Chernow, Barbara, eds. The Papers of Alexander Hamilton (27 vol, Columbia University Press, 1961–87); includes all letters and writing by Hamilton, and all important letters written to him; this is the definitive edition of Hamilton's works, intensively annotated.
  • Goebel, Julius, Jr., and Smith, Joseph H., eds., The Law Practice of Alexander Hamilton (5 vols., Columbia University Press, 1964–80); the legal counterpart to the Papers of Alexander Hamilton.
  • Morris, Richard. ed. Alexander Hamilton and the Founding of the Nation (1957), excerpts from AH's writings
  • Selected Writings and Speeches of Alexander Hamilton. Morton J. Frisch ed. (1985).
  • The Works of Alexander Hamilton edited by Henry Cabot Lodge (1904) full text online at Google Books online in HTML edition. This is the only online collection of Hamilton's writings and letters. Published in 10 volumes, containing about 1.3 million words.
  • Federalist Papers under the shared pseudonym "Publius" by Alexander Hamilton (c. 52 articles), James Madison (28 articles) and John Jay (five articles)
  • Report on Manufactures, his economic program for the United States.
  • Report on Public Credit, his financial program for the United States.
  • Cooke, Jacob E. ed., Alexander Hamilton: A Profile (1967), short excerpts from AH and his critics.
  • Cunningham, Noble E. Jefferson vs. Hamilton: Confrontations that Shaped a Nation (2000), short collection of primary sources with commentary.
  • Taylor, George Rogers, ed., Hamilton and the National Debt, 1950, excerpts from all sides in 1790s.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]