อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ
อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย | |
สัตหีบ ชลบุรี | |
ฐานทัพเรือในปี พ.ศ. 2555 | |
พิกัด | 12°37′38″N 100°55′41″E / 12.627146°N 100.928003°E |
ประเภท | อู่ต่อเรือ |
ข้อมูล | |
เจ้าของ | กรมอู่ทหารเรือ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการ |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 |
การใช้งาน | 21 เมษายน พ.ศ. 2541 |
อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ (อังกฤษ: Mahidol Adulyadej Naval Dockyard) เป็นอู่ต่อเรือของกองทัพเรือไทยในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อู่นี้ตั้งชื่อตามสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ผู้ทรงประจำการในกองทัพเรือไทยระหว่างปี พ.ศ. 2455 ถึง พ.ศ. 2457 ซึ่งมีแผนที่จะใช้เป็นฐานเรือดำน้ำของไทยไว้ที่อู่แห่งนี้[1]
ประวัติ
[แก้]อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช เริ่มต้นจากการประเมินแล้วว่าอู่เรือ 2 แห่งแรกของกองทัพเรือ คืออู่ทหารเรือธนบุรี และอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า ไม่สามารถรองรับการซ่อมบำรุงเรือสมัยใหม่ขนาดใหญ่ได้[2] โดยมีเรือที่ต้องเข้าคิวเพื่อซ่อมบำรุงในอู่แห้งมากถึง 35-40 ลำ และต้องมีระวางน้ำไม่เกิน 5,000 ตัน ความยาวเรือไม่เกิน 120 เมตร ในขณะที่กองทัพเรือมีการจัดหาเรือขนาดใหญ่เพื่อทดแทนเรือแบบเก่าซึ่งไม่สามารถเข้าซ่อมบำรุงที่อู่แห้งของทั้งสองอู่เรือเดิมได้ ทำให้กองทัพเรือพิจารณาหาพื้นที่สำหรับสร้างอู่เรือแห่งใหม่ พบว่าพื้นที่บริเวณอ่าวจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรีมีความเหมาะสม เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ฐานทัพเรือสัตหีบที่เป็นกำลังหลักทางเรือ ใกล้กับกองกำลังป้องกันชายฝั่ง มีภูมิประเทศที่สงบจากการป้องกันของเกาะและเขื่อนกั้นคลื่น รวมถึงยังใกล้กับท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และสนามบินอู่ตะเภา สะดวกต่อการส่งกำลังบำรุงทั้งทางอากาศและทางน้ำ สามารถพัฒนาต่อได้ในเชิงพาณิชย์ จึงได้เสนอต่อกระทรวงกลาโหมเพื่อก่อสร้างอู่เรือแห่งใหม่ โดยได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ด้วยวงเงินงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท เป็นอู่สำหรับซ่อมบำรุงเรือรบขนาดใหญ่ของกองทัพเรือไทย มีศักยภาพรองรับเรือรบขนาดใหญ่มากกว่า 20,000 ตัน (Displacement Ton)[3] และเรือสินค้าขนาดมากกว่า 1 แสนตันกรอส (Gross Tonnage)[4] โดยอู่ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้นามว่า "อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช" เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นศิริมงคลต่ออู่เรือ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดชเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2541[5]
ในปี พ.ศ. 2560 กองทัพเรือมีแผนที่จะพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงเรือดำน้ำที่กองทัพเรือมีแผนจะจัดหามาในพื้นที่ของอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช เป็นเนื้อที่ประมาณ 40.78 ไร่ สำหรับการก่อสร้างโรงซ่อมเรือดำน้ำขนาดความกว้าง 50 เมตร ความยาว 100 เมตร ความสูง 25 เมตร ซึ่งมีขนาดสำหรับซ่อมบำรุงเรือดำน้ำชั้นหยวน เอส 26 ที จากประเทศจีนในบริเวณอ่าวสัตหีบใกล้กับจุกเสม็ด[6]
โครงสร้าง
[แก้]อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกรมอู่ทหารเรือ มีบุคลากรและกำลังพลในสังกัดประมาณ 805 นาย มีโครงสร้างภายใน[3] ดังนี้
- กองบังคับการ
- กองจัดการ
- กองกำลังพล
- กองส่งกำลังบำรุง
- กองการเงิน
- แผนกพระธรรมนูญ
- กองแผนและประมาณการช่าง
- แผนกแผนและสำรวจ
- แผนกจัดแผนงาน
- แผนกกำกับการซ่อมสร้าง
- แผนกควบคุมและประเมินราคา
- แผนกออกแบบ
- กองควบคุมคุณภาพ
- แผนกตัวเรือ
- แผนกกลจักร
- แผนกไฟฟ้า
- กองโรงงานเครื่องกล
- โรงงานเครื่องกล
- โรงงานทดสอบเครื่อง
- โรงงานปรับซ่อมเครื่องยนต์
- โรงงานซ่อมเครื่องจักรช่วย
- โรงงานปรับซ่อมเครื่อปรับอากาศและทำความเย็น
- กองโรงงานเรือเหล็ก
- โรงงานเรือเหล็ก
- โรงงานช่างท่อและหม้อน้ำ
- โรงงานโลหะแผ่น
- โรงงานเชื่อมประสาน
- โรงงานพ่นทรายและทาสี
- โรงงานต่อเรือไม้และใยแก้ว
- กองโรงงานไฟฟ้า
- โรงงานซ่อมเครื่องไฟฟ้า
- โรงงานเดินสาย
- โรงงานซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า
- กองสนับสนุน
- แผนกบริการ
- แผนกซ่อมบำรุงและโยธา
- แผนกเชือกรอกและการอู่
- แผนกการท่า
- แผนกขนส่ง
- กองพัสดุช่าง
- แผนกควบคุมและตรวจสอบ
- แผนกจัดหา
- แผนกคลัง
การปฏิบัติงานที่สำคัญ
[แก้]อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช ได้ดำเนินการต่อเรือรบและซ่อมบำรุงใหญ่เรือรบในกองทัพเรือไทยครั้งที่โดดเด่น ได้แก่
- ต่อเรือหลวงกระบี่ (เข้าประจำการเมื่อ พ.ศ. 2556) เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่สร้างขึ้นที่อู่ต่อเรือ เป็นเรือตรวจการณ์ชั้นริเวอร์ที่ได้รับการดัดแปลง[7]
- ซ่อมบำรุงเรือหลวงบางปะกง ที่สร้างในจีนได้รับการปรับปรุงใหม่ที่อู่ต่อเรือแห่งนี้และกลับมาให้บริการอีกครั้งในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560[1]
- ต่อเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ. 2560) เป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ลำที่ 2 ที่สร้างขึ้นที่อู่ต่อเรือแห่งนี้[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Nanuam, Wassana (7 March 2017). "Navy wants 3 dockyards for submarines". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 7 March 2017.
- ↑ "แรกเริ่มสถาปนา "อู่เรือหลวง" ในสมัยรัชกาลที่ 5 สู่ "กรมอู่ทหารเรือ"". www.silpa-mag.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 "STOUIR at Sukhothai Thammathirat Open University: ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ". ir.stou.ac.th. 2552. สืบค้นเมื่อ 2024-09-03.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สถาปนา 19 ปี อู่ราชนาวีมหิดลฯ". mgronline.com. 2017-04-21.
- ↑ "Second Naval Area Command". www.nac2.navy.mi.th.
- ↑ "'บิ๊กป้อม'ตรวจอู่ซ่อมบำรุง ทร.-ดูแผนสร้างโรงซ่อมเรือดำน้ำ". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 2024-09-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Parameswaran, Prashanth (2016-03-01). "Thailand Wants Missile System for New Patrol Vessel". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 1 March 2016.
- ↑ Vavasseur, Xavier (2019-08-02). "2nd Krabi-class OPV launched for Royal Thai Navy". Naval News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.