อูโก กาวัลเลโร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อูโก กาวัลเลโร | |
---|---|
เกิด | 20 กันยายน ค.ศ. 1880 กาซาเลมอนแฟร์ราโต ปีเยมอนเต อิตาลี |
เสียชีวิต | 13 กันยายน ค.ศ. 1943 (62 ปี) ฟรัสกาตี ลัตซีโย อิตาลี |
รับใช้ | อิตาลี |
แผนก/ | Royal Italian Army |
ประจำการ | 1900–1943 |
ชั้นยศ | จอมพลแห่งอิตาลี |
บังคับบัญชา | หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการทหาร |
การยุทธ์ | สงครามอิตาลี-ตุรกี สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง |
บำเหน็จ | กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็ก |
อูโก กาวัลเลโร (อิตาลี: Ugo Cavallero; 20 กันยายน ค.ศ. 1880 – 13 กันยายน ค.ศ. 1943) เป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพอิตาลีในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็กของนาซีเยอรมนี
ประวัติ
[แก้]กาวัลเลโรเกิดในกาซาเลมอนแฟร์ราโต แคว้นปีเยมอนเต ในวัยเด็กนั้นมีสิทธิพิเศษในฐานะสมาชิกของขุนนางอิตาลี ภายหลังจากเข้าศึกษาโรงเรียนทหาร กาวัลเลโรได้รับยศตำแหน่งเป็นร้อยตรีที่สองในปี ค.ศ. 1900 กาวัลเลโรได้เข้าเรียนที่วิทยาลัยในเวลาต่อมาและจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1911 ได้รับปริญญาในสาขาคณิตศาสตร์ ในขณะที่ยังอยู่ในกองทัพ กาวัลเลโรได้เข้าสู้รบในลิเบียในปี ค.ศ. 1913 ในช่วงระหว่างสงครามอิตาลี-ตุรกีและได้รับรางวัลเหรียญทองแดงจากความกล้าหาญของทหาร
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1915 กาวัลเลโรได้ถูกย้ายไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งอิตาลี จากผู้จัดระเบียบและยุทธวิธีที่ดีเยี่ยม กาวัลเลโรได้กลายเป็นนายพลจัตตวาและหัวหน้าสำนักงานปฏิบัติการของกองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งอิตาลีในปี ค.ศ. 1918 ด้วยความสามารถนี้ กาวัลเลโรได้มีส่วนช่วยในการวางแผนที่นำไปสู่ชัยชนะของอิตาลีที่ Piave และ Vittorio Veneto ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในช่วงเวลาที่เขาเป็นหัวหน้าวางแผนของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการทหารอิตาลี เขาได้สร้างความเป็นปรปักษ์กับปีเอโตร บาโดลโย ที่ดำรงตำแหน่งเป็น Sottocapo di Stato Maggiore(รองหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ)ของกองทัพ
ระหว่างสงคราม
[แก้]กาวัลเลโรได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1919 แต่เวลาต่อมาได้กลับเข้ามาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1925 ซึ่งในช่วงเวลานั้น เขาได้กลายเป็นรัฐมนตรีผู้ช่วยว่าการกระทรวงสงครามของเบนิโต มุสโสลินี ด้วยความมุ่งมั่นของลัทธิฟาสซิสต์ กาวัลเลโรได้ทำหน้าที่เป็นวุฒิสภาในปี ค.ศ. 1926 และในปี ค.ศ. 1927 ได้กลายเป็นพลตรี หลังจากนั้นก็ได้ลาออกจากกองทัพเป็นครั้งที่สอง กาวัลเลโรได้มีส่วนร่วมในธุรกิจและวิสาหกิจการทูตตลอดในช่วงปลายปี ค.ศ. 1920 และช่วงต้นปี ค.ศ. 1930
กาวัลเลโรได้กลับเข้ากองทัพเป็นครั้งที่สามและเป็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1937 ได้รับตำแหน่งยศเป็นพลโท เขาได้กลายเป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสมของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกแห่งอิตาลีในปี ค.ศ. 1938 และเป็นนายพลอย่างเต็มตัวในปี ค.ศ. 1940
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ภายหลังจากอิตาลีได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1940 กาวัลเลโรได้เข้ามาแทนที่จากปีเอโตร บาโดลโย ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการการป้องกัน ไม่นานหลังจากนั้น เขาได้ถูกส่งไปเป็นผู้บัญชาการกองทัพอิตาลีที่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามอิตาลี-กรีซที่ไม่ประสบความสำเร็จจนถึงฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1941 ในขณะที่เขาได้จัดการในการหยุดยั้งการรุกของกรีซ กาวัลเลโรไม่อาจหยุดยั้งไว้ได้จนถึงกับต้องจนมุมแต่เยอรมันก็ได้เข้ามาแทรกแซงไว้ได้ ในขณะเดียวกัน บทบาทของเขาในฐานะหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการได้ถูกแต่งตั้งเพิ่มเติมโดยนายพล อัลเฟรโด กุซโซนี
ในฐานะที่เป็นหัวหน้ากองบัญชาการทหารสูงสุดแห่งอิตาลี เขาได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับจอมพลเยอรมัน อัลแบร์ท เค็สเซิลริง เขาได้มีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างขัดแย้งกับจอมพล แอร์วีน ร็อมเมิล ซึ่งได้รุกเข้าสู่อียิปต์ ภายหลังจากความสำเร็จของเขาในยุทธการที่กาซาลาซึ่งเขาไม่เห็นด้วย ได้สนับสนุนแทนที่ในการวางแผนการบุกครองที่มอลตา อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นของเขาได้ตกลงไป ภายใต้ความเป็นผู้นำของกาวัลเลโร กองทัพทหารอิตาลียังคงปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ดีนัก ถึงกระนั้นเขาก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งยศเป็นจอมพลแห่งอิตาลีในปี ค.ศ. 1942 ภายหลังจากการเลื่อนตำแหน่งยศแก่ร็อมเมิลเป็นจอมพล(ส่วนใหญ่เพื่อป้องกันร็อมเมิลจากตำแหน่งยศที่สูงกว่าเขา) แม้จะมีความเข้าใจที่ดีต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสงครามในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อิตาลีต้องต่อสู้รบ เขาได้นิ่งเฉยต่อมุมมองของมุสโสลินี(จากตัวอย่างที่เขาได้ยืนกรานในการขยายการต่อสู้ของเหล่าทหารอิตาลีบนแนวรบด้านตะวันออก)จนนำไปสู่การแพร่กระจายอย่างร้ายแรงต่อทรัพยากรที่มีน้อยของอิตาลี
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1943 ภายหลังจากได้พ่ายแพ้อย่างราบคาบในการทัพแอฟริกาและประสบการถูกตีกลับโดยกองทัพอิตาลีในดินแดนรัสเซีย กาวัลเลโรก็ได้ถูกปลดออกและแทนที่โดยนายพล วิตโตริโอ แอมโบรซิโอ ด้วยผลสะท้อนต่อการปลดกาวัลเลโรออก สมาชิกผู้นำฟาสซิสต์ เช่น กาลีซโซ ชิอาโน ซึ่งเป็นศัตรูกับเขาอย่างเปิดเผย ได้แสดงความยินดีอย่างออกหน้าออกตา
ภายหลังจากรัฐบาลของมุสโสลินีถูกโค่นล้มโดยพระมหากษัตริย์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งคือปีเอโตร บาโดลโย ได้ออกคำสั่งให้ทำการจับกุมกาวัลเลโร ในเอกสารที่เขาเขียนขึ้นในการปกป้องตัวเอง กาวัลเลโรได้อ้างว่าเขาได้ต่อต้านมุสโสลินีและระบอบการปกครองของเขา ภายหลังจากการสงบศึกที่คัสซิบิล(Armistice of Cassibile)ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943 เยอรมันได้ปลดปล่อยเขา เค็สเซิลริงได้เสนอให้กาวัลเลโรบัญชาการต่อกองทัพแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมอิตาลีที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ได้มีการค้นพบถึงจดหมายทำให้มีบางครั้งได้ตั้งคำถามถึงความจงรักภักดีของเขา
ในช่วงเช้าวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1943 เขาได้ถูกพบว่าเสียชีวิตแล้วโดยถูกยิงที่สวนของโรงแรมในฟรัสกาตี ภายหลังจากที่ได้รับประทานอาหารและพูดคุยกับเค็สเซิลริงเมื่อคืนก่อน มันยังได้มีการถกเถียงกันว่าเขาได้ฆ่าตัวตายหรือถูกลอบสังหารโดยเยอรมัน อย่างไรก็ตาม, ดูเหมือนว่าเขาได้แสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ที่จะปฏิเสธในการร่วมมือกับเยอรมันอีกต่อไป
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2423
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2486
- ทหารชาวอิตาลี
- บุคคลจากแคว้นปีเยมอนเต
- ทหารชาวอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ทหารชาวอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ผู้นำการทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง
- จอมพลชาวอิตาลี
- นายพลในสงครามโลกครั้งที่สอง
- ผู้ฆ่าตัวตาย
- สงครามอิตาลี-กรีซ
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์