อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย
อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามเวียดนาม | |||||||
ภาพเรือยิงตอร์ปิโดสามลำของเวียดนามเหนือ ถ่ายจากยูเอสเอส แม็ดด็อกซ์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา | เวียดนามเหนือ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
กำลัง | |||||||
| เรือตอร์ปิโด 3 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
|
|
อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย (อังกฤษ: Gulf of Tonkin incident; เวียดนาม: Sự kiện Vịnh Bắc Bộ) หรือเรียกอุบัติการณ์ยูเอสเอส แม็ดด็อกซ์ เป็นการเผชิญหน้าระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การเข้ามีส่วนโดยตรงมากขึ้นของสหรัฐในสงครามเวียดนาม เป็นการเผชิญหน้ายืนยันครั้งหนึ่ง และที่เป็นไปได้อีกครั้งหนึ่งระหว่างเรือรบของเวียดนามเหนือและสหรัฐในน่านน้ำอ่าวตังเกี๋ย รายงานเดิมของอเมริกันกล่าวโทษเวียดนามเหนือจากอุบัติการณ์ทั้งสองครั้ง แต่ตามเอกสารเพนตากอน บันทึกความทรงจำของโรเบิร์ต แม็กนามารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และสิ่งพิมพ์เผยแพร่ของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติหลังปี 2005 พิสูจน์ว่ารัฐบาลสหรัฐโกหกเพื่ออ้างเหตุก่อสงครามกับเวียดนาม
วันที่ 2 สิงหาคม 1964 เรือพิฆาตสหรัฐ ยูเอสเอส แม็ดด็อกซ์ (USS Maddox) ขณะกำลังปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนข่าวกรองสัญญาณ ถูกเรือตอร์ปิโดจากกองเรือตอร์ปิโดที่ 135 ของกองทัพเรือเวียดนามเหนือสามลำเข้าหา[5] แม็ดด็อกซ์ ยิงเตือนสามนัด และเรือรบเวียดนามเหนือโจมตีใส่ด้วยตอร์ปิโดและปืนกล แม็ดด็อกซ์ ยิงกระสุนขนาด 76 มม. และ 130 มม. รวมกว่า 280 นัดในการยุทธ์ครั้งนั้น อากาศยานสหรัฐได้รับความเสียหาย 1 ลำ เรือยิงตอร์ปิโดสามลำของเวียดนามเหนือได้รับความเสียหาย ลูกเรือเวียดนามเหนือเสียชีวิต 4 นาย และได้รับบาดเจ็บอีก 6 นาย ฝ่ายสหรัฐไม่มีกำลังพลสูญเสีย[6] ส่วนเรือ แม็ดด็อกซ์ "ไร้รอยขีดข่วน ยกเว้นรูกระสุนรูเดียวจากปืนกลเวียดนามเหนือ"[7]
สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติทีแรกอ้างว่าอุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ยครั้งที่สองเกิดขึ้นในวันที่ 4 สิงหาคม 1964 ว่าเป็นการยุทธ์ทางทะเลอีกหน แต่หลักฐานที่พบเป็น "ผีตังเกี๋ย"[8] (ภาพเรดาร์เท็จ) ไม่ใช่เรือยิงตอร์ปิโดเวียดนามเหนือ ผลลัพธ์ทำให้รัฐสภาสหรัฐผ่านมติอ่าวตังเกี๋ย ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีสหรัฐ ลินดอน บี. จอห์นสัน ให้อำนาจในการสนับสนุนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกคุกคามจาก "การรุกรานคอมมิวนิสต์" จอห์นสันใช้มติดังกล่าวเป็นการอ้างเหตุผลทางกฎหมายในการวางกำลังตามแบบของสหรัฐและประกาศสงครามโดยเปิดเผยกับเวียดนามเหนือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Moïse 2019, p. 78.
- ↑ Moïse 2019, p. 93.
- ↑ Moïse 2019, p. 94.
- ↑ Moïse 2019, pp. 95–96, 105.
- ↑ Starry. Department of the Army. 1978. P. 248
- ↑ Moïse 2019, pp. 94–96, 105.
- ↑ Hanyok, Robert J. (2001). "Skunks, Bogies, Silent Hounds, and the Flying Fish". Cryptologic Quarterly. Fort Meade: National Security Agency. 19/20 (4/1): 1–55 – โดยทาง Naval History and Heritage Command.
- ↑ Moïse 1996, pp. 106, 107
บรรณานุกรม
[แก้]- Doyle, Edward; Lipsman, Samuel & Weiss, Stephen (1981). Passing the Torch. Boston: Boston Publishing Company. ISBN 0-939526-01-8.
- Ellsberg, Daniel (2002). Secrets: A Memoir of Vietnam and the Pentagon Papers. New York: Viking. ISBN 0-670-03030-9.
- Fletcher, Martin (November 7, 2001). "LBJ tape 'confirms Vietnam war error'". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 1, 2001.
- Sanger, David E. (November 6, 2001). "New Tapes Indicate Johnson Doubted Attack in Tonkin Gulf". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ December 12, 2021.,
- Starry, Donn A., General. Mounted Combat in Vietnam. Department of the Army, Washington, D.C. (1978)
- Hanyok, Robert J. (2002). Spartans In Darkness: American SIGINT and the Indochina War, 1945–1975. Center for Cryptologic History, National Security Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2016. สืบค้นเมื่อ December 17, 2018.
- Moïse, Edwin E. (1996). Tonkin Gulf and the Escalation of the Vietnam War. Chapel Hill: University of North Carolina Press. ISBN 0-8078-2300-7.
- Moïse, Edwin E. (2019). Tonkin Gulf and the Escalation of the Vietnam War (revised ed.). Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 978-1-68247-424-2.