อุตะอุ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นักพัฒนา | Ameya/Ayame |
---|---|
วันที่เปิดตัว | มีนาคม ค.ศ. 2008 |
รุ่นเสถียร | 0.4.18(e) (Windows); 1.0.0 b18 (Mac)
/ 5 กันยายน 2013 |
ภาษาที่เขียน | อังกฤษและญี่ปุ่น (ภาษาอื่นต้องแก้ไขไฟล์) |
ระบบปฏิบัติการ | Windows 2000 / XP / Vista / 7 / 8 / 10 Mac OS X |
แพลตฟอร์ม | Windows, Mac OS X |
ภาษา | อังกฤษและญี่ปุ่น (ภาษาอื่นต้องแก้ไขไฟล์) |
ประเภท | Musical Synthesizer Application (Music sequencer) |
สัญญาอนุญาต | Shareware (by donations) |
เว็บไซต์ | utau2008 |
อุตะอุ หรือ อูตาอุ (อังกฤษ: UTAU ญี่ปุ่น: UTAU - 歌声合成ツール ) คือซอฟต์แวร์ประยุกต์รูปแบบเครื่องดนตรีหรือเป็นเสียงสังเคราะห์ มีความคล้ายคลึงกับโวคาลอยด์ สร้างโดย Ameya/Ayame แต่จะเป็นรูปแบบแชร์แวร์ และผู้ใช้สามารถจะใช้เสียงมนุษย์หรือซอฟต์แวร์ที่บันทึกเป็นคลังเสียง (อังกฤษ: Voicebank) จากตัวละครที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง หรือจากแหล่งของตัวละครที่ผู้ใช้ของคนอื่นๆ สร้างไว้ให้สามารถใช้ในแบบแชร์แวร์ [1]
รากคำศัพท์
[แก้]"อุตะอุ" เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง "ขับร้อง" ( คันจิ: 歌 ฮิรางานะ: うたう โรมันจิ: utau) [2]
ความเป็นมา
[แก้]ในเดือนธันวาคม ปี 2007 Ameya/Ayame ใช้เสียงจาก LOLI.COM เผยแพร่โปรแกรมรุ่นเบต้าเรียกว่า "Loliedit" โดยมีคลังเสียงหลักคือ "Loline Com" โดยรูปลักษณ์มีลักษณะเด่นคือมี Piano Roll ที่เรียบง่าย มีคำภาษาญี่ปุ่นที่จำกัด โดยทำงานร่วมกับตัวเสียงเคราะห์เสียงรุ่นเบต้าดั้งเดิม (หรือ Resampler) ที่ถูกอัพเดทลงในโปรแกรม อุตะอุและใช้จนถึงปัจจุบัน โปรแกรมรุ่นเบต้านี้สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ Ameya/Ayame's
ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี 2008 Ameya/Ayame ได้ปล่อยตัวโปรแกรม อุตะอุ แปลว่า "ร้องเพลง" ในภาษาญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดมาจาก "Jinriki VOCALOID" (人力ボーカロイド, "Manual Vocaloid", "โวคาลอยด์แบบแมนนวล") การแก้ไขเรียบเรียงเสียงร้องให้เป็นเพลง การสังเคราะห์เสียงร้องออกมาเป็นไฟล์ WAV และการเรียบเรียงเสียงร้องใหม่ ซึ่งตัวโปรแกรมติดคลังเสียงดั้งเดิม ประกอบด้วยเสียงภาษาญี่ปุ่น 142 เสียงมาด้วยนั้นคือ อุตะเนะ อุตะ (ญี่ปุ่น: 唄音ウタ โรมันจิ: Uta Utane) หรือเดะฟุโกะ (ญี่ปุ่น: デフォ子 โรมันจิ: Defuko) ซึ่งสร้างมาจากโปรแกรม Text-to-Speech ของบริษัท A-QUEST ที่ชื่อว่า "AquesTalk" เป็นตัวละครตัวแรกของอุตะอุ และในวันที่ 1 เดือนเมษายน ปี 2008 โปรแกรมอุตะอุ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น มาจากตัวละครของอุตะอุชื่อ คะสะเนะ เตะโตะ (ญี่ปุ่น: 重音テト โรมันจิ: Kasane Teto) เป็นเพลงชื่อ Kasane Teto - Teto territory ในปี 2009 และคลิปไวรัลมาจากเพลง Ochame Kino (ญี่ปุ่น: おちゃめ機能 ) ของ Lon โดย Gojimaji-P ในปี 2010 ทั้งในยูทิวบ์ และ Niconico และนั่นทำให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และนั่นเองทำให้เกิดตัวละครใหม่ของอุตะอุที่กำหนดเสียงในรุ่นแรกๆ เช่น นะมิเนะ ริทสึ (ญี่ปุ่น: 波音リツ โรมันจิ: Namine Ritsu) โยะคุเนะ รุโกะ (ญี่ปุ่น: 欲音ルコ โรมันจิ: Yokune Ruko) และสุโคะเนะ เทย์ (ญี่ปุ่น: 健音テイ โรมันจิ: Sukone Tei) เป็นต้น
ต่อมาในวันที่ 1 และวันที่ 3 เดือนมิถุนายน ปี 2012 ที่ทำให้โปรแกรมนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้นที่สุด โดยผู้ใช้ชื่อว่า "kyaami" ได้นำเพลงชื่อ -ERROR และเพลงชื่อ +Reverse เดิมเป็นของ Niki เสียงของ ลิลลี่ (ญี่ปุ่น: レンリ โรมันจิ: Renri อังกฤษ: Lily) จาก โวคาลอยด์ มาร้องใหม่ ใช้เสียงของนะมิเนะ ริทสึจากอุตะอุ ลงในยูทิวบ์ และในปี 2014 มีศิลปินชื่อ Asa (ญี่ปุ่น: 亜沙 โรมันจิ: Asa) ได้ปล่อยเพลง "ความโศกเศร้าในโยะชิวะระ" (ญี่ปุ่น: 吉原ラメント โรมันจิ: Yoshiwara Ramento อังกฤษ: Yoshiwara's Lament) โดยใช้เสียงคะสะเนะ เตะโตะ และนั่นทำให้โปรแกรมนี้โด่งดังมากขึ้นและเป็นที่แพร่กระจายไปยังทั่วโลก
วันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน ปี 2018 ค่ายเพลงวาร์เนอร์ มิวสิค เจแปน (อังกฤษ: Warner Music Japan) ได้ปล่อยเพลง [Hatsune Miku Symphony 2018-2019] Daisetsuna koto [All cast song] (ญี่ปุ่น:【初音ミクシンフォニー2018-2019】たいせつなこと【オールキャスト曲】โรมันจิ: [Hatsune Miku Shinfonii 2018-2019] Daisetsuna koto [O-rukyasuto Kyoku] ) โดยใช้เสียงโวคาลอยด์ ได้แก่ ฮัทสึเนะ มิคุ ไคโตะ เมย์โคะ คะงะนิเมะ ริน และคะงะนิเมะ เลน ร้องร่วมกับเสียงอุตะอุคือคะสะเนะ เตะโตะ
ในปัจจุบันนี้ โปรแกรมอุตะอุได้รับความนิยมเท่าเทียมกับโวคาลอยด์ นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถพัฒนาใช้ร่วมกันในรูปแบบแชร์แวร์ได้ด้วย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "歌声合成ツールUTAU" [เครื่องมือสังเคราะห์เสียง UTAU] (ภาษาญี่ปุ่น). Utau. สืบค้นเมื่อ July 9, 2010.
- ↑ จุฬารัตน์ เตชะโชควิวัฒน์ และคณะ, พจนานุกรม ญี่ปุ่น-ไทย, กทม:สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม สสท 2548,พิมพ์ครั้งที่19 2562, หน้า 84, ISBN:978-974-443-140-0