ข้ามไปเนื้อหา

ยูทูบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยูทิวบ์)
ยูทูบ
ประเภทบริการรับฝากวีดิทัศน์
วันที่ก่อตั้ง14 กุมภาพันธ์ 2005; 19 ปีก่อน (2005-02-14)
สำนักงานใหญ่901 เชอรี้ แอลวีนิวส์, ซานบรูโน, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก (ยกเว้นประเทศที่ถูกบล็อก)
ผู้ก่อตั้ง
ซีอีโอนีล โมฮัน (CEO) [1]
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
บริการรับฝากวีดิทัศน์
เจ้าของแอลฟาเบต
บริษัทแม่กูเกิล (2006–ปัจจุบัน)
เว็บไซต์YouTube.com
(see list of localized domain names)
อันดับอเล็กซาSteady 2 (Global, October 2017)[2]
การโฆษณากูเกิล แอดเซนส์
สถานะปัจจุบันเปิดให้บริการ

ยูทูบ ตามสำเนียงอเมริกัน หรือ ยูทิวบ์ ตามสำเนียงบริเตน (อังกฤษ: YouTube; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈjuːˌtjuːb (สำเนียงบริเตน), /-tuːb (สำเนียงอเมริกัน)/[3]) เป็นเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอโดยมีสำนักงานอยู่ที่แซนบรูโน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้สร้างเว็บไซต์ดังกล่าว คือ อดีตพนักงาน 3 คนในบริษัทเพย์แพล อันประกอบด้วยแชด เฮอร์ลีย์ สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ในเดือนพฤศจิกายน 2549 กูเกิลซื้อยูทูบซื้อไปในราคา 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] ยูทูบเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกูเกิล[5] เว็บไซต์ยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลด ดู หรือแบ่งปันวิดีโอได้เลย

ประวัติ

[แก้]

ยูทูบก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของบริษัทเพย์แพล ซึ่งเป็นเว็บไชต์สำหรับการแบ่งปันวีดิทัศน์ โดยที่สมาชิกของยูทูบสามารถอัปโหลดและสำรวจวีดิทัศน์ได้[6] โดเมนเนมของยูทูบมีว่า "www.youtube.com" ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวันจันทร์ ที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เวลา 9:13 นาฬิกา[7]

ยูทูบก่อตั้งโดยแชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยทั้งหมดเป็นพนักงานฝึกหัดที่บริษัทเพย์แพล เพื่อที่จะเข้าเป็นบุคลากรของบริษัทเพย์แพล[8] โดยเฮอร์ลีย์ได้เข้ามหาวิทยาลัยอินเดียดาแห่งเพนสิเวอร์เนีย ด้านการออกแบบ เชนกับคาริมศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์[9] โดยสำนักงานแห่งแรกของยูทูบอยู่ที่ข้างบนร้านพิซซ่า และร้านอาหารญี่ปุน ในซานเมเทโฮ รัฐแคลิฟอร์เนีย[10]

โดเมนเนมเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พร้อมกับการรวมวีดิทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 เป็นการเริ่มต้นคลิปวีดิทัศน์แห่งแรกในยูทูบ ชื่อวีดิทัศน์ Me at the zoo เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ยาวีด คาริม ถ่ายที่สวนสัตว์ซานดิอิโก[11][12]

ข้อมูลเชิงเทคนิค

[แก้]

รูปแบบวิดีโอ

[แก้]

ยูทูบใช้งานโดยแสดงผลภาพวิดีโอในลักษณะของ Adobe Flash และใช้การถอดรหัสแบบ Sorenson Spark H.263 แฟลชเป็นโปรแกรมเสริมที่ต้องติดตั้งเพิ่มสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ทั่วไป โดยแสดงผลที่ขนาดความกว้างและสูง 320 และ 240 พิกเซล ที่ 25 เฟรมต่อวินาที โดยมีการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 300 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งการแสดงผลสามารถดูได้ที่ขนาดปกติ หรือขนาดที่แสดงผลเต็มจอ

ยูทูบแปลงไฟล์วิดีโอเป็นไฟล์ในลักษณะแฟลชวิดีโอ ในนามสกุล .FLV ภายหลังจากผู้ใช้ได้อัปโหลดเข้าไป ไม่ว่าผู้อัปโหลดจะโหลดในลักษณะ .WMV .AVI .MOV .3GP MPEG หรือ .MP4[13]

รูปแบบเสียง

[แก้]

ไฟล์ในยูทูบเก็บในลักษณะสตรีมไฟล์MP3 โดยมีการเข้ารหัสแบบโมโนที่ 65 กิโลบิต/วินาที ที่ 22050 เฮิรตซ์ อย่างไรก็ตามยูทูบสามารถเก็บไฟล์เสียงในลักษณะสเตอริโอได้หากมีการแปลงเป็นไฟล์ FLV ก่อนที่ทำการอัปโหลด

การแสดงผล

[แก้]

วิดีโอในยูทูบสามารถดูได้ผ่านเว็บไซต์ยูทูบโดยตรงผ่านซอฟต์แวร์แฟลชที่กล่าวมา ดูได้ผ่านคอมพิวเตอร์, สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งนอกจากนี้ยูทูบสามารถดูได้จากเว็บไซต์ทั่วไปที่มีการนำรหัสไปใส่เชื่อมโยงกลับมาที่เว็บยูทูบเอง เห็นได้ตามกระดานสนทนา บล็อก หรือเว็บไซต์ต่าง ๆ

นอกจากนี้สามารถบันทึกไฟล์ยูทูบเก็บไว้ในเครื่องของตนเองได้โดยใช้งานซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น เช่น Keepvid หรือผ่านสคริปต์จาก Greasemonkey โดยจะมีไฟล์เป็นนามสกุล .flv

โดยมีความละเอียดแตกต่างกันไป โดยมีความละเอียดเริ่มต้นที่ 144P ถึง 480P และในความละเอียด HD ที่ 720P ถึง 8K ที่ 4320P

ยูทูบในประเทศไทย

[แก้]

การปิดกั้นข่าวสารในประเทศไทย

[แก้]

ผู้ใช้ในประเทศไทยได้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 หลังจากสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในขณะนั้น พยายามขอความร่วมมือหลายครั้ง ให้กูเกิลนำคลิปวิดีโอตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพออก แต่ถูกปฏิเสธโดยได้ให้เหตุผลว่าคลิปวิดีโออื่นที่โจมตีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รุนแรงมากกว่านี้ ยังให้อยู่ได้ ซึ่งคลิปวิดีโอดังกล่าว อัปโหลดโดยผู้ใช้ชื่อ paddidda เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผู้ชมไปแล้ว มากกว่า 16,000 ครั้ง และมีมากกว่า 500 ความคิดเห็นด้วยกัน[14][15] หลังจากที่ได้มีการออกข่าว จำนวนผู้ชมไปขึ้นไปถึงกว่า 66,553 ครั้งก่อนที่คลิปวิดีโอดังกล่าวจะถูกย้ายออกจากระบบ แม้ว่าคลิปวิดีโอได้ถูกเอาออกไปแล้ว แต่เว็บไซต์ยังคงถูกบล็อกต่อไป โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดมได้ให้เหตุผลว่ายังมีภาพตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์คงเหลืออยู่ และต้องการให้เอาออกทั้งหมด[16][17]

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์ยูทูบ จนสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว หลังจากที่ยูทูบตกลงที่จะบล็อกวิดีโอที่มีการหมิ่นประมาทในไทยต่าง ๆ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'นีล โมฮาน' ซีอีโอคนใหม่ของ 'YouTube' ชี้เทคโนโลยี 'NFT' และ 'Metaverse' จะเปิดประสบการณ์ใหม่". THE STANDARD. 22 February 2023. สืบค้นเมื่อ 6 April 2023.
  2. "youtube.com Traffic Statistics". Alexa Internet. Amazon.com. July 9, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
  3. "youtube". Cambridge Dictionary. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2011.
  4. Hopkins, Jim (October 11, 2006). "Surprise! There's a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  5. "Google buys YouTube for $1.65 billion". NBC News.
  6. Hopkins, Jim (August 21, 2003). "Surprise! There is a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  7. "YouTube.com WHOIS, DNS, & Domain Info - DomainTools". WHOIS. 2016. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
  8. Graham, Jefferson (November 21, 2005). "Video websites pop up, invite postings". USA Today. สืบค้นเมื่อ July 28, 2006.
  9. Wooster, Patricia (2014). YouTube founders Steve Chen, Chad Hurley, and Jawed Karim. ISBN 1467724823. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  10. Sara Kehaulani Goo (October 7, 2006). "Ready for Its Close-Up". Washington Post. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
  11. Alleyne, Richard (July 31, 2008). "YouTube: Overnight success has sparked a backlash". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ January 17, 2009.
  12. Jawed Karim and Yakov Lapitsky (April 23, 2005). "Me at the Zoo" (Video). YouTube. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
  13. รูปแบบไฟล์ที่ยูทูบรองรับ
  14. Thailand blocks YouTube for clip mocking king ข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ (อังกฤษ)
  15. YouTube disappears from Thai Internet[ลิงก์เสีย] ข่าวจากบางกอกโพสต์ (อังกฤษ)
  16. YouTube Clip Out, but Thai Ban Continues[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
  17. Update - ยูทูบลบคลิปแล้ว แต่ไอซีทียังแบนเว็บไซต์ต่อเนื่อง[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]