อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย
หน้าตา
จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2562 อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยถือเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] และใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลก[2][3][4] โดยมีผลผลิตประจำปี (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถกระบะ) มากกว่า 2,000,000 คันต่อปี ซึ่งมากกว่าประเทศเบลเยียม แคนาดา สหราชอาณาจักร อิตาลี สาธารณรัฐเช็ก และตุรกี[4]
ยานพาหนะส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยนั้นได้รับการพัฒนาและสิทธิ์การผลิตจากบริษัทรถยนต์ต่างชาติ โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหรัฐ และจีน รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ อีกหลายแบรนด์สำหรับการผลิตแบบ CKD (Completely Knocked Down) เช่น บีเอ็มดับเบิลยูและเมอร์เซเดส-เบนซ์ อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อขยายตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดรถกระบะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาดรถบรรทุกขนาด 1 ตันมากกว่า 50%[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Maikaew, Piyachart (2018-01-03). "Headwinds expected for auto industry". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2018-01-03.
- ↑ Santivimolnat, Santan (2012-08-18). "2-million milestone edges nearer". Bangkok Post.
- ↑ Languepin, Olivier (3 January 2013). "Thailand poised to Surpass Car Production target". Thailand Business News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2013. สืบค้นเมื่อ 20 January 2013.
- ↑ 4.0 4.1 "Production Statistics". OICA (International Organization of Motor Vehicle Manufacturers). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-06. สืบค้นเมื่อ 2012-11-26.
- ↑ Kasuga, Takeshi; Oka, Toshiko; Yamaguchi, Yohei; Higa, Youichiro; Hoshino, Kaoru (June 2005). "The Expansion of Western Auto Parts Manufacturers into Thailand, and Responses by Japanese Auto Parts Manufacturers" (PDF). JBICI Review. Japan Bank for International Cooperation (11). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-20.