ข้ามไปเนื้อหา

รัฐอุตตรประเทศ

พิกัด: 26°51′N 80°55′E / 26.85°N 80.91°E / 26.85; 80.91
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อุตตรประเทศ)
รัฐอุตตรประเทศ
ที่มาของชื่อ: อุตตร (เหนือ) กับ ประเทศ (ดินแดน)
ที่ตั้งของรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งของรัฐอุตตรประเทศ
พิกัด: 26°51′N 80°55′E / 26.85°N 80.91°E / 26.85; 80.91
ประเทศ อินเดีย
ได้รับสถานะเป็นรัฐ24 มกราคม 1950[1]
เมืองหลวงลัคเนา
อำเภอ75 อำเภอ[2][3]
การปกครอง
 • ประเภทระบบสองสภา
สภานิติบัญญัติ 100
สมัชชานิติบัญญัติ 403
+1 ชาวอินเดียเชื้อสายอังกฤษ (Anglo Indian) อาจเสนอชื่อได้โดย Governor
ราชยสภา 31
โลกสภา 80
 • องค์กรรัฐบาลรัฐอุตตรประเทศ
 • ราชยปาลอานันทเพน ปเฏล (Anandiben Patel)[4][5]
 • มุขมนตรีโยคีอาทิตยนาถ (Yogi Adityanath) (พรรค BJP)
 • รองมุขมนตรีเกษว ประสัท เมารยะ (Keshav Prasad Maurya) (พรรค BJP)
ทิเนษ ศรม (Dinesh Sharma) (พรรค BJP)
พื้นที่
 • ทั้งหมด243,290 ตร.กม. (93,930 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 4
ประชากร
 (2011)[6][7]
 • ทั้งหมด199,812,341 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น820 คน/ตร.กม. (2,100 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวอุตตรประเทศี (Uttar Pradeshi)
จีดีพี (2019–20)[8]
 • รวม17.94 ล้านล้านรูปีอินเดีย
 • ต่อประชากร70,418 รูปีอินเดีย
ภาษา[9]
 • ภาษาราชการภาษาฮินดี
 • ภาษาราชการเพิ่มเติมภาษาอูรดู
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
UN/LOCODEIN-UP
ทะเบียนพาหนะUP XX—XXXX
เอชเอไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.596[10] Medium · ที่ 35
การรู้หนังสือ (2011)67.68%[11]
อัตราส่วนเพศ (2011)912 /1000 [11]
เว็บไซต์up.gov.in

อุตตรประเทศ (ฮินดี: उत्तर प्रदेश, [ˈʊtːəɾ pɾəˈdeːʃ] ( ฟังเสียง)) เป็นรัฐในทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีประชากรราวสองร้อยล้านคน ถือเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศอินเดีย เช่นเดียวกับที่เป็นเขตการปกครองระดับบนที่มีประชากรมากที่สุดในโลก[12] รัฐอุตตรประเทศก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1937 ภายใต้ชื่อจังหวัดร่วมแห่งอัคระและอูธ (United Provinces of Agra and Oudh) ในระหว่างภายใต้อาณัติปกครองของอังกฤษ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น "อุตตรประเทศ" ในปี 1950 โดยมีอักษรย่อ ยูพี (UP) รัฐแบ่งมณฑลการปกครองออกเป็น 18 มณฑล และ 75 อำเภอ โดยมีเมืองหลวงคือลักเนา เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2000 รัฐใหม่ชื่อว่ารัฐอุตตรขัณฑ์ แยกตัวออกจากภูมิภาคเชิงเขาหิมาลัยของรัฐอุตตรประเทศ ทั้งแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนา มาบรรจบกันที่เมืองอลาหาบาด ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในรัฐและเป็นภาษาราชการประจำรัฐควบคู่ไปกับภาษาอูรดู

อาณาเขตของรัฐอุตตรประเทศติดต่อกับรัฐราชสถานทางตะวันตก, รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ และเดลีทางตะวันตกเฉียงเหนือ, รัฐอุตตราขัณฑ์และประเทศเนปาลทางเหนือ, รัฐพิหารทางตะวันออก, รัฐมัธยประเทศทางใต้ และติดกับรัฐฌารขัณฑ์กับรัฐฉัตตีสครห์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมพื้นที่ 243,290 ตารางกิโลเมตร (93,933 ตารางไมล์), หรือ 7.34% ของประเทศอินเดีย นับเป็นรัฐที่มีพื้นที่เป็นอันดับที่สี่ของประเทศ เกษตรกรรมและธุรกิจบริการเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจของรัฐ ภาคบริการเช่นการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ประกันชีวิต และบริการปรึกษาทางการเงิน รัฐอุตตรประเทศมีจีดีพีอยู่ที่ 17.94 ล้านล้านรูปีอินเดีย หรือ 70,000 รูปีอินเดียต่อประชากร คิดเป็นอันดับที่ห้าของประเทศ[8] เอชดีไอของรัฐอยู่ที่อันดับที่ 35 ของประเทศ[10]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
"Administrative Divisions"
มณฑลของรัฐอุตตรประเทศ

รัฐอุตตรประเทศแบ่งออกเป็น 75 อำเภอ ภายใต้ 18 มณฑล (divisions)[13] ดังนี้

รายชื่อมณฑลเรียงตามจำนวนประชากรในปี 2011[14]

อันดับ (ในประเทศอินเดีย) อำเภอ ประชากร อัตราการเติบโต (%) อัตราส่วนผู้หญิงต่อผู้ชาย 1000 คน อัตราการรู้หนังสือ (%)
13 อลาหาบาด 5,954,391 20.63 901 72.32
26 โมราดาบาด (Moradabad) 4,772,006 25.22 906 56.77
27 ฆาซีบาด (Ghaziabad) 4,681,645 42.27 881 78.07
30 อะซามครห์ (Azamgarh) 4,613,913 17.11 1019 70.93
31 ลัคเนา 4,589,838 25.82 917 77.29
32 กานปุรนคร 4,581,268 9.92 862 79.65
50 พะเรอิลลี (Bareilly) 4,448,359 22.93% 887 58.5
เมืองที่มีประชากรเกินหนึ่งล้านคนในรัฐอุตตรประเทศ (ข้อมูลปี 2011)
เมือง ประชากร เมือง ประชากร
ลัคเนา 2,817,105 กานปุระ 2,767,348
ฆาซีอาบาด (Ghaziabad) 2,358,525 อัคระ 1,585,704
อลาหาบาด 1,540,544 มีรุต (Meerut) 1,424,908
พาราณสี 1,201,815

อ้างอิง

[แก้]
  1. "United Province, UP was notified in Union gazette on January 24, 1950". The New Indian Express. 2 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2017. สืบค้นเมื่อ 4 May 2017.
  2. "Uttar Pradesh District". up.gov.in. Government of Uttar Pradesh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  3. "List of districts in Uttar Pradesh". archive.india.gov.in. Government of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2017.
  4. PTI (20 July 2019). "Anandiben Patel made UP governor, Lal ji Tandon to replace her in Madhya Pradesh". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  5. "The Governor of Uttar Pradesh". uplegisassembly.gov.in. Uttar Pradesh Legislative Assembly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2017.
  6. "Social Demography" (PDF). Government of Uttar Pradesh. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2017. สืบค้นเมื่อ 30 August 2017.
  7. "Statistics of Uttar Pradesh". up.gov.in. Government of Uttar Pradesh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  8. 8.0 8.1 "MOSPI Net State Domestic Product, Ministry of Statistics and Programme Implementation, Government of India". สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Report of the Commissioner for linguistic minorities: 52nd report (July 2014 to June 2015)" (PDF). Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. pp. 49–53. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2016.
  10. 10.0 10.1 "Sub-national HDI – Area Database". Global Data Lab. Institute for Management Research, Radboud University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  11. 11.0 11.1 "Census 2011 (Final Data) – Demographic details, Literate Population (Total, Rural & Urban)" (PDF). planningcommission.gov.in. Planning Commission, Government of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.
  12. Kopf, Dan; Varathan, Preeti (11 October 2017). "If Uttar Pradesh were a country". Quartz India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
  13. "State division of Uttar Pradesh". Government of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012.
  14. "Indian Districts by population". 2011 Census of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2011. สืบค้นเมื่อ 5 October 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]