ข้ามไปเนื้อหา

อุดม ไกรวัตนุสสรณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดม ไกรวัตนุสสรณ์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้ามณฑล ไกรวัตนุสสรณ์
คะแนนเสียง131,537
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 (57 ปี)
จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2538–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)
ชื่อเล่นตู่

อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2510) เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร 4 สมัย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วิเชษฐ์ เกษมทองศรี) อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่)

การศึกษา

[แก้]

อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เข้าศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร และโรงเรียนเอกชัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2522 จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อในคณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นเดียวกับ วสุ แสงสิงแก้ว, เมทนี บุรณศิริ และ จักรภพ เพ็ญแข) จบการศึกษาระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 3 จากสถาบันพระปกเกล้า

งานการเมืองระดับประเทศ

[แก้]

อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสาคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

งานการเมืองท้องถิ่น

[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยทีม ส.อบจ. สค. ในนาม " ทีมฅนทำงาน" หมายเลข 3 โดยได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ด้วยคะแนนคะแนนเสียง 131,537คะแนน ชนะขาดอันดับ 2 นายอวยชัย จาตุรพันธ์ ผู้สมัครหน้าใหม่จากคณะก้าวหน้าที่ได้เพียง 26,463 คะแนน ขณะที่อันดับ 3 นายเชาวรินทร์ ชาญสายชลจาก พรรคเพื่อไทย ได้ 22,553 คะแนน ได้ทีม ส.อบจ.สค. ถึง 26 คน และทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นนายก อบจ. คนที่ 6 ต่อจาก นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ พี่ชาย (เสียชีวิต) และนายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ บิดา

นายอุดม ไกรวัตนุสสรร์ นายกอบจ.สมุทรสาคร คนที่ 6

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ ๓๐๐/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์)
  2. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔