อิ้นเถา
อิ้นเถา | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลวี่ชินอ๋อง | |||||
พระบรมฉายาลักษณ์องค์ชายอิ้นเถา | |||||
ลวี่ชินอ๋อง | |||||
ครองราชย์ | (ในตำแหน่งลวี่ชินอ่อง ค.ศ. 1722-ค.ศ. 1763) | ||||
ถัดไป | หย่งเฉิง | ||||
ประสูติ | 18 มกราคม ค.ศ. 1686 | ||||
สวรรคต | 1 กันยายน ค.ศ. 1763 | ||||
พระราชบุตร | ดูข้างล่าง | ||||
| |||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิคังซี | ||||
พระราชมารดา | พระอัครชายาติ้ง |
อ้ายซินเจว๋หลัว อิ้นเถา (จีน: 允祹; 18 มกราคม ค.ศ. 1686 - 1 กันยายน ค.ศ. 1763) เป็นองค์ชายแห่งราชวงศ์ชิงและเป็นโอรสองค์ที่ 23 ของจักรพรรดิคังซี แต่เป็นพระองค์ที่ 12 ที่เติบโตจนเป็นผู้ใหญ่ อิ้นเถาทรงเป็นอนุชาต่างมารดาของจักรพรรดิยงเจิ้ง
ประวัติส่วนพระองค์
[แก้]องค์ชายอิ้นเถาประสูติเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1686 เป็นพระราชโอรสของ จักรพรรดิคังซี กับพระอัครชายาติ้ง[1] ในวัยเยาว์พระองค์ได้รับการสอนโดยสุมาลากู[2]ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดินีเซี่ยวจฺวัง จนเมื่อสุมาลากูล้มป่วย อิ้นเถาได้ส่งคนไปดูแล[3] และพระองค์เองทรงเสด็จไปเยี่ยมสุมาลากูอยู่บ่อยครั้ง ในปี ค.ศ.1709 อิ้นเถาได้รับพระราชทานยศเป็นเป้ยจื่อ หลังจากจักรพรรดิคังซีสวรรคต อิ้นเถาได้ควบคุมกองธงขลิบเหลือง[4]แต่เนื่องจากพระองค์ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามชิงบัลลังก์ของพี่น้องของพระองค์ ซึ่งทำให้พระองค์รับตำแหน่ง ลวี่จวิ้นอ๋อง ในปี ค.ศ.1722 [5] แต่ปีถัดมา ค.ศ.1723 พระองค์กลับถูกลดพระยศและกลับไปเป็นเป้ยจื่อเช่นเดิม จนถึงปี ค.ศ.1730 ถึงได้ยศ ลวี่จวิ้นอ๋อง คืนมาเช่นเดิม[6] และในปี ค.ศ.1735 จักรพรรดิยงเจิ้งสวรรคต และต่อมาจักรพรรดิเฉียนหลงได้ขึ้นครองราช พระองคฺ์ได้เลื่อนให้อิ้นเถาเป็น ลวี่ชินอ๋อง และมอบหมายให้เสด็จอาอิ้นเถาดูแลการรวบรวมราชสกุลของพระองค์[7]
ในปี ค.ศ.1750 โอรสองค์ที่ 5 ของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระองค์รู้สึกโทมนัสเป็นอย่างมาก และปี ค.ศ.1757 พระองค์ได้พาพระมารดาไปรักษาตัวที่ตำหนักของพระองค์เอง สุดท้ายมารดาของพระองค์ก็สวรรคตที่นั่น ซึ่งกลายเป็นมเหสีที่ยืนยาวที่สุดในราชวงศ์ชิง[8] โดยมีพระชนมายุถึง 96 พรรษา และในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.1763 อิ้นเถาได้สิ้นพระชนม์ลง สิริพระชนม์พรรษา 77 พรรษา
พระบรมวงศานุวงศ์
[แก้]- พระราชบิดา:จักรพรรดิคังซี
- พระราชมารดา:พระอัครชายาติ้ง
- พระมเหสี
- มเหสีหลู่อี๋ แห่งตระกูลฟูคา
- มเหสีรองแห่งตระกูลฟงกิยา
- มเหสีรองหมิงเหลียงแห่งตระกูลฟู่จา
- มเหสีรองของตระกูลกูวาลกิยะ
- นายหญิงแห่งตระกูลลิกิยา
- มเหสีตระกูลเบอร์จิกิต
- นายหญิงตระกูลไหม
- นายหญิงตระกูลวังกิยะ
- นายหญิงตระกูลเฉิน
- นายหญิงตระกูลเหยา
- นายหญิงตระกูลหลี่
- พระโอรส
- องค์ชายไม่ทราบพระนาม 24 มีนาคม ค.ศ.1703 – 30 มีนาคม ค.ศ.1703
- องค์ชายไม่ทราบพระนาม 4 สิงหาคม ค.ศ.1706 – 15 พฤษภาคม ค.ศ.1707
- องค์ชายหงซื่อ 2 สิงหาคม ค.ศ.1707 – 12 ตุลาคม ค.ศ.1710
- องค์ชายไม่ทราบพระนาม 21 มกราคม ค.ศ.1729 – 30 เมษายน ค.ศ.1731
- องค์ชายหงคุน 27 ตุลาคม ค.ศ.1739 – 26 เมษายน ค.ศ.1750
- องค์ชายไม่ทราบพระนาม 2 มิถุนายน ค.ศ.1742 – ค.ศ.1742
- พระธิดา
- องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1703 – 19 มีนาคม ค.ศ.1767
- องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 8 กรกฎาคม ค.ศ.1723 – กรกฎาคม ค.ศ.1723
- องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1728
- องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 21 สิงหาคม ค.ศ.1736 – 18 พฤษภาคม 1825ค.ศ[9]
- องค์หญิงไม่ทราบพระนาม 6 กรกฎาคม ค.ศ.1741 – 17 มกราคม ค.ศ.1744[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 《清实录·清圣祖实录·卷之二百八十二》/"Veritable chronics of Qing", vol. 282.
- ↑ "Memoirs on bamboo slip books"vol.1. 1877.
- ↑ Aisin Gioro, Zhaolian (1805). 《啸亭杂录》/ "Miscellaneous records of the Roaring Pavillion".
- ↑ 五, 河 (2018). Great biography of the Yongzheng Emperor. Beijing Book Co. Inc.
- ↑ Wen, Guan (2011). 醉裡挑燈看歷史/"View on the history from the drunken state". 新潮社文化出版. p. 16.
- ↑ Xu, Xin (2014). History of the tomb of Hong Taiji. Liaoning Public Press. p. 203.
- ↑ Ting, Yanshi (2009). One night to succeed. Yuanliu press.
- ↑ 《欽定八旗通志》.
- ↑ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยเต้ากวง
- ↑ "详细资料介绍_爱新觉罗宗谱网". www.axjlzp.com. สืบค้นเมื่อ 2020-12-08.