ข้ามไปเนื้อหา

อิล โตรวาโตเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปสเตอร์การแสดงในสหรัฐอเมริกา

อิลโตรวาโตเร (อิตาลี: Il trovatore; อังกฤษ: The Troubadour) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีความยาว 4 องก์ ที่เขียนโดยจูเซปเป แวร์ดี จากบทละครภาษาสเปนเรื่อง El Trovador ของอันโตนิโอ การ์เซีย กูเทียเรซ (1813 - 1884) เรื่องราวเกี่ยวกับพวกยิปซี เกิดขึ้นในแคว้นบิสเคย์ และแคว้นอารากองในประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 15

อิลโตรวาโตเรแสดงรอบปฐมทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1853 ที่ลานกลางแจ้ง Tor di Nona ใจกลางกรุงโรมและประสบความสำเร็จอย่างสูง ได้รับการจัดแสดงซ้ำถึงหลายร้อยรอบในหลายประเทศ ภายในระยะเวลา 3 ปี [1] นำไปจัดแสดงที่สหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1855 [2] ถูกนำไปดัดแปลงเป็นอุปรากรภาษาฝรั่งเศสชื่อ Le trouvère จัดแสดงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1857 [3]

อุปรากรเรื่องนี้แบ่งเป็น 4 องก์ ได้แก่

  • Act I: The Duel
    • Scene 1: The guard room in the castle of Luna (The Palace of Aljaferia, Zaragoza, Spain)
    • Scene 2: Garden in the palace of the princess
  • Act 2: The Gypsy Woman
    • Scene 1: The gypsies' camp
    • Scene 2: In front of the convent
  • Act 3: The Son of the Gypsy Woman
    • Scene 1: Di Luna's camp
    • Scene 2: A chamber in the castle
  • Act 4: The Punishment
    • Scene 1: Before the dungeon keep
    • Scene 2: In the dungeon

Anvil Chorus

[แก้]

ดนตรีจากฉากที่ 1 องก์ที่ 2 มีชื่อในภาษาอิตาลีว่า Coro di zingari (แปลว่า gypsy chorus) ในภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า Anvil Chorus ช่างตีเหล็กยิปซีเริ่มงานในตอนเช้า โดยตีเหล็กที่อยู่บนทั่งเป็นจังหวะ พร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญการทำงานหนัก อาหารดีๆ และหญิงยิปซี ดนตรีท่อนนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมต่างๆ ที่เกี่ยวกับชนชั้นกรรมาชีพ [ต้องการอ้างอิง] เช่น เป็นเพลงประกอบโฆษณา และถูกนำมาล้อเลียนในไทนีตูนส์ (เป็นการ์ตูนในเครือ ลูนีทูนส์) ฉบับที่ได้รับความนิยมเป็นฉบับบรรเลงแบบแจ๊สโดยวงดนตรีของเกล็น มิลเลอร์

Anvil Chorus ยังถูกนำมาล้อเลียนในภาพยนตร์เรื่อง Cocoanuts (1929) ของพี่น้องมารซ์ โดยใช้เสียงจากเครื่องบันทึกเงินสดแทนเสียงจากทั่ง [4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Martin, George Whitney, “Verdi Onstage in the United States: Le trouvere”, The Opera Quarterly, Volume 21, Number 2, Spring 2005, pp. 282-302
  2. Holden, Amanda (ed.), The New Penguin Opera Guide, New York: Penguin Putnam, 2001. ISBN 0-140-29312-4, p. 993
  3. Budden, Julian: The Operas of Verdi, Volume 2: From Il Trovatore to La Forza del destino‎, Cassell, 1984., p.108 and p.111
  4. Ontario Philharmonic with the Toronto Mendelssohn Choir
  5. The Cocoanuts part 4

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Il trovatore