ข้ามไปเนื้อหา

อิกา ชฟียอนแต็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิกา ชฟียอนแต็ก
ชฟียอนแต็กที่รายการเฟรนช์โอเพนปีค.ศ. 2019
ประเทศ (กีฬา)ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์
ถิ่นพำนักราชึน โปแลนด์
วันเกิด (2001-05-31) 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 (23 ปี)
วอร์ซอ โปแลนด์
ส่วนสูง1.76 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว)
เทิร์นโปรตุลาคม 2016
การเล่นขวา; แบ็กแฮนด์สองมือ
ผู้ฝึกสอนTomasz Wiktorowski
เงินรางวัล7,192,718 ดอลลาร์สหรัฐ
เดี่ยว
สถิติอาชีพ166–49 (77.2%)
รายการอาชีพที่ชนะ5
อันดับสูงสุดNo. 1 (4 เมษายน 2022)
อันดับปัจจุบันNo. 1 (4 เมษายน 2022)
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนSF (2022)
เฟรนช์โอเพนW (2020,2022)
วิมเบิลดัน4R (2021)
ยูเอสโอเพนW (2022)
การแข่งขันอื่น ๆ
Tour FinalsRR (2021)
Olympic Games2R (2021)
คู่
สถิติอาชีพ27–14 (65.9%)
รายการอาชีพที่ชนะ0
อันดับสูงสุดNo. 29 (14 กุมภาพันธ์ 2022)
อันดับปัจจุบันNo. 30 (21 กุมภาพันธ์ 2022)
ผลแกรนด์สแลมคู่
เฟรนช์โอเพนF (2021)
ยูเอสโอเพน2R (2019)
คู่ผสม
สถิติอาชีพ5–4 (55.6%)
รายการอาชีพที่ชนะ0
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม
Australian OpenQF (2020)
การแข่งขันคู่ผสมอื่น ๆ
Olympic GamesQF (2020)
การแข่งขันแบบทีม
BJK CupPO (2020)
รายการเหรียญรางวัล
Women's tennis
ตัวแทนของ  ทีมผสม (MIX)
Summer Youth Olympics
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2018 Buenos Aires Doubles
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 21 มีนาคม 2022

อิกา นาตาเลีย ชฟียอนแต็ก (โปแลนด์: Iga Natalia Świątek, ออกเสียง: [ˈiɡa ˈɕfʲɔntɛk];[1] เกิดวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001) เป็นนักเทนนิสอาชีพชาวโปแลนด์ เธอเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในสิบอันดับแรกโดยการจัดอันดับของสมาคมเทนนิสอาชีพหญิง (WTA) และมีอันดับสูงสุดอันดับ 1 ของโลก ชฟียอนแต็กเป็นแชมป์ในการแข่งขันเฟรนช์โอเพน ค.ศ. 2020 เป็นผู้เล่นชาวโปแลนด์คนแรกที่คว้าแชมป์รายการแกรนด์สแลม เป็นแชมป์รายการเฟรนช์โอเพนที่อายุน้อยที่สุดตั้งแต่ ราฟาเอล นาดัล ในค.ศ. 2005 และเป็นแชมป์หญิงเดี่ยวที่อายุน้อยที่สุดในรายการแกรนด์สแลม นับตั้งแต่มาเรีย ซาราโปวา ที่วิลเบิลดัน ค.ศ. 2004 เธอขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลกในวันที่ 4 เมษายน 2022 หลังจากจากประกาศเลิกเล่นเทนนิสของแอชลี่ห์ บาร์ตี้ อดีตนักเทนนิสมือ 1 ของโลก ชาวออสเตรเลีย อิกา ชฟียอนแต็กจะกลายเป็นนักเทนนิสชาวโปแลนด์คนแรกที่ขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกในประเภทเดี่ยว และเป็นนักเทนนิสชาวโปแลนด์คนที่สองที่ขึ้นเป็นมือ 1 ของโลกในประเภทเดี่ยวและประเภทคู่[2][3]

ชีวิตในวัยเด็ก

[แก้]

อิกา ชฟียอนแต็ก เกิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 ในกรุงวอร์ซอ[1] ตอมัช พ่อของเธอ เป็นอดีตนักพายเรือที่เข้าร่วมการแข่งขันเรือกรรเชียงสี่ส่วนชายในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซล ค.ศ. 1988[4] ดอรอตา แม่ของเธอ เป็นทันตแพทย์จัดฟัน เธอมีพี่สาวคนหนึ่งชื่ออกาตา ซึ่งมีอายุมากกว่าสามปีและเป็นนักศึกษาสาขาทันตกรรมที่มหาวิทยาลัยแพทย์ลูบลิน[5] พ่อของชฟียอนแต็กต้องการให้ลูกสาวเป็นนักกีฬาอาชีพ และต้องการให้เล่นกีฬาเป็นรายบุคคลมากกว่าที่จะเล่นกีฬาเป็นทีมเพื่อควบคุมโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น อกาตาเริ่มต้นจากการเป็นนักว่ายน้ำ แต่เปลี่ยนมาเล่นเทนนิสหลังจากที่เธอมีปัญหากับการว่ายน้ำ อิกาเล่นเทนนิสตามพี่สาวเพราะต้องการเอาชนะเธอและอยากเป็นเหมือนเธอ อกาตาลงแข่งขัน ITF Junior Circuit ใน ค.ศ. 2013 เมื่ออายุได้ 15 ปี แต่หยุดเล่นเนื่องจากอาการบาดเจ็บ[6][7][8] อิกาฝึกซ้อมที่แมราวาร์ชาวาเมื่ออายุ 14 ปี ก่อนที่จะย้ายไปที่แลเกียวาร์ชาวาในเวลาต่อมา[9][10]

ระดับเยาวชน

[แก้]
ชฟียอนแต็กกับถ้วยรางวัลวิมเบิลดันระดับเยาวชน 2018

ชฟียอนแต็กเคยขึ้นถึงอันดับ 5 ของโลกในระดับเยาชน เธอเริ่มแข่งในรายการ ITF Junior Circuit ในปี 2015 และสามารถคว้าแชมป์ระดับ 4 ติดกันสองรายการในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ขณะอายุ 13 ก่อนสิ้นปีเธอขยับไปเล่นในรายการระดับ 2 และได้รองชนะเลิศทั้งประเภทคู่และประเภทเดี่ยว ในรายการ Czech Junior Open เธอเข้าร่วมการแข่งขันแกรนด์สแลมระดับเยาวชนครั้งแรกในปี 2016 ในรายการเฟรนช์โอเพน เข้าถึงรอบ 16 คนสุดท้ายทั้งในประเภทเดี่ยวและคู่ ตามด้วยการคว้าแชมป์รายการ เกรด 1 ที่ Canadian Open Junior Championships โดยการชนะ Olga Danilović ในรอบชิง[11][12]

ชฟียอนแต็กเริ่มต้นปี 2017 ได้อย่างแข็งแกร่ง เธอคว้าแชมป์ทั้งประเภทเดี่ยวและคู่ในรายการระดับ 1 ที่ Traralgon Junior International แม้ว่าเธอจะตกรอบแรกในออสเตรเลียนโอเพน แต่ในประเภทคู่ เธอสามรรถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศจากการจับคู่กับ Maja Chwalińska โดยแพ้ให้กับคู่ของ Bianca Andreescu และ Carson Branstine[11][12] หลังจากนั้นเธอได้เข้าชิงรายการระดับ A ที่ Trofeo Bonfiglio แพ้ให้กับ Elena Rybakina[13] เธอจบฤดูการด้วยการเข้าถึงรอบ 16 คนสุดท้ายในรายการ เฟรนช์โอเพน[12] และต้องหยุดยาว 7 เดือนหลังจากการผ่าตัดข้อเท้าขวา[14][15]


สถิติการแข่งขันอาชีพ

[แก้]

การแข่งขันแกรนด์สแลม รอบชิงชนะเลิศ

[แก้]

ประเภทเดี่ยว: 1 (ชนะเลิศ)

[แก้]
ผลลัพธ์ ปี การแข่งขัน พื้นผิว ฝ่ายตรงข้าม คะแนน
ชนะ 2020 เฟรนช์โอเพน ดิน สหรัฐอเมริกาโซเฟีย เคนิน 6–4, 6–1

ประเภทคู่: 1 (รองชนะเลิศ)

[แก้]
ผลลัพธ์ ปี การแข่งขัน พื้นผิว คู่กับ ฝ่ายตรงข้าม คะแนน
รองชนะเลิศ 2020 เฟรนช์โอเพน ดิน สหรัฐอเมริกา Bethanie Mattek-Sand ประเทศเช็กเกียBarbora Krejčíková

ประเทศเช็กเกียKateřina Siniaková

4–6, 2–6


รางวัล

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Iga Swiatek". WTA Tennis. สืบค้นเมื่อ 14 October 2020.
  2. "From Grand Slam champ to World No.1, the rise of Iga Swiatek". WTA Tour. March 25, 2022.
  3. Listopad, Shannon (26 March 2022). "Iga Świątek seals world No. 1 spot, becoming first Pole to top tennis rankings". Notes from Poland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 27 March 2022. In doubles, however, Poland’s Łukasz Kubot was ranked number one for men’s doubles in 2018.
  4. Imhoff, Dan (26 January 2020). "Swiatek follows father's footsteps 38 years later". Australian Open. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  5. "Iga Świątek Matka Ojciec: Kim są rodzice Igi Świątek? Ojciec i matka Igi Świątek" [Iga Świątek Mother Father: Who are Iga Świątek's parents? Father and mother of Iga Świątek]. Super Express (ภาษาโปแลนด์). 10 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  6. Nguyen, Courtney (2 June 2019). "Insider Q&A: Iga Swiatek shines on in breakout Roland Garros run". WTA Tennis. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  7. Chojecki, Michał (21 July 2018). "Tomasz Świątek, ojciec mistrzyni juniorskiego Wimbledonu: Iga sama dobrze wie, czego chce" [Tomasz Świątek, father of the Wimbledon junior champion: Iga knows exactly what she wants]. Super Express (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  8. "Agata Swiatek Junior Singles Activity". ITF Tennis. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  9. Ciastoń, Jakub (26 August 2015). "Najmłodsza, najlepsza, Iga! 14-latka z Raszyna ograła na kortach Legii starsze od siebie tenisistki" [The youngest, the best, Iga! The 14-year-old from Raszyn outplayed the older tennis players on the Legia courts]. Sport.pl (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  10. Petruczenko, Maciej (18 July 2018). "Kobiecy wdzięk i męski serwis" [Feminine charm and masculine service]. Passa (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  11. 11.0 11.1 "Iga Swiatek Junior Singles Activity". ITF Tennis. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Iga Swiatek Junior Doubles Activity". ITF Tennis. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
  13. "Popyrin e Rybakina vincono il Trofeo Bonfiglio 2017" [Popyrin and Rybakina win the Bonfiglio Trophy 2017]. Spazio Tennis (ภาษาอิตาลี). 28 May 2017. สืบค้นเมื่อ 26 September 2020.
  14. Macpherson, Alex (11 January 2019). "Getting to know you: Introducing Melbourne 2019's Grand Slam debutantes". WTA Tennis. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
  15. Pearce, Linda (14 July 2018). "Swiatek wins girls' singles title". Wimbledon. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
  16. "Fan Favorite Shot of the Year". wtatennis.com. 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  17. "Most Improved Player". tennis.com. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  18. "Fan Favorite Singles Player of the Year". baseline.tennis.com. 12 December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.