ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอแม่สอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอแม่สอด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mae Sot
คำขวัญ: 
เจ้าพ่อพะวอองอาจ ธรรมชาติแสนสวย
ร่ำรวยอัญมณี ชมของดีริมเมย
แผนที่จังหวัดตาก เน้นอำเภอแม่สอด
แผนที่จังหวัดตาก เน้นอำเภอแม่สอด
พิกัด: 16°42′47″N 98°34′29″E / 16.71306°N 98.57472°E / 16.71306; 98.57472
ประเทศ ไทย
จังหวัดตาก
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,986.1 ตร.กม. (766.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด171,253 คน
 • ความหนาแน่น86.23 คน/ตร.กม. (223.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 63110
รหัสภูมิศาสตร์6306
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแม่สอด ถนนปราสาทวิถี ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

แม่สอด (ไทยถิ่นเหนือ: ; พม่า: မဲဆောက်) เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขาระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยทิวเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาฝั่งประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาและบุตรเป็นคนไทยด้วย อำเภอแม่สอดอยู่ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร

แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้

ตามผังประเทศไทย พ.ศ. 2560 อำเภอแม่สอดได้รับการสนับสนุนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามหนึ่งในแนวทางของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางการค้าที่ติดต่อกับเมืองเมียวดีในประเทศพม่า[1]

ประวัติ

[แก้]

การตั้งถิ่นฐาน

[แก้]

แม่สอดเป็นเมืองอยู่ทางซีกตะวันตกของแม่น้ำปิง ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404-2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพะหน่อแก" ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือได้แก่ชาวอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (ชาวอำเภอเถินยังอพยพไปอำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัยอีกด้วย) พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอด ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]

แม่สอดเป็นเมืองในหุบเขาตั้งอยู่ในแอ่งที่ราบแม่สอด โดยเมื่อประมาณ 200 ล้านปีมาแล้วเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากมีการค้นพบฟอสซิลหอยชนิดแอมโมไนต์ แอ่งที่ราบแม่สอดมีภูเขาล้อมรอบเหมือนอยู่ในก้นกระทะ แอ่งที่ราบมีลักษณะเป็นแนวยาว มีแม่น้ำเมยไหลผ่านทางยาวไปตามแนวเขา และมีลักษณะทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมากมายทั้งตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอดและบนสองฝั่งตามแนวยาวของแม่น้ำเมย อย่างไรก็ดี แม่สอดมิใช่เมืองเดียวโดดเดี่ยวในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังมีอีกหลายเมืองที่ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำเมย ทั้งพบพระ แม่สอด เมียวดี แม่ระมาด และท่าสองยาง

ตามหุบเขาไม่ไกลนักจากตัวเมืองแม่สอด ทั้งที่ดอยมะขามป้อมหนึ่งและสอง ดอยสระกุลี ดอยมณฑา และดอยส้มป่อย บนเส้นทางสายแม่สอด-ตาก มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากพอสมควร ทั้งเครื่องใช้ไม้สอยและอาวุธ สันนิษฐานว่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และน่าจะเกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพของไทยกับพม่าในสมัยอยุธยา

กรุโบราณซึ่งพบที่บ้านพบพระ ก็เป็นแหล่งโบราณคดีอีกแห่งหนึ่งที่สำคัญ วัตถุโบราณที่พบมีทั้งเครื่องไม้ใช้สอย ทั้งอาวุธและเครื่องประดับสำริด สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของชนชาติไทยจากจีนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 3-4[2]

สมัยประวัติศาสตร์

[แก้]

อำเภอแม่สอดเป็นอำเภอที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ เป็นเมืองที่มีพระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองนี้แล้วถึง 3 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกอบอิสรภาพ ณ เมืองแครงและยกทับกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตากและเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่าครั้งที่ 2

ในสมัยสุโขทัย มีซากเมืองโบราณอีกหลายแห่งบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมย ทั้งในตัวเมืองแม่สอดและในเมียวดีฝั่งพม่า ที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลสามหมื่นในอำเภอแม่ระมาด แต่ละแห่งที่พบนั้นสร้างขึ้นต่างยุคกัน บางแห่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย คำว่า เมืองฉอด ก็ปรากฏเป็นครั้งแรกในสมัยสุโขทัยเช่นกัน มีการกล่าวถึง เมืองฉอด ในศิลาจารึกหลายหลัก อาทิ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ศิลาจารึกวัดศรีชุม และศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงหลักที่ 1 และ 2 แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถพิสูจน์แน่นอนได้ว่า เมืองฉอดอยู่ที่ไหนในแอ่งที่ราบแม่สอด ยังจะต้องอาศัยการสำรวจเพิ่มเติม ที่ว่า เมืองฉอดคือแม่สอดนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น[3]

ในสมัยอยุธยา คำว่า "เมืองฉอด" ไม่มีปรากฏในเอกสาร โดยมีการกล่าวถึงด่านแม่ละเมาซึ่งอยู่ในเขตแม่สอด และเป็นเส้นทางเดินทัพของกองทัพพม่า

สมัยปัจจุบัน

[แก้]

อำเภอแม่สอด พร้อมกับสี่อำเภอข้างเคียง ได้แก่ อำเภออุ้มผาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง และอำเภอพบพระ ได้ถูกเสนอชื่อเพื่อจัดตั้งเป็นจังหวัดแม่สอด[4]

ที่มาของชื่อ

[แก้]

สำหรับความเป็นมาของชื่อนั้น สันนิษฐานไว้เป็น 2 นัย[ต้องการอ้างอิง] ประการแรก เชื่อกันว่าแม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ "เมืองฉอด" ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ตั้งประชิดชายแดนอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็น "แม่สอด" ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอด

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

แม่สอดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดตาก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศา 42 ลิปดา 47 พิลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 98 องศา 34 ลิปดา 29 พิลิปดาตะวันออก สูงกว่าระดับน้ำทะเล 215 เมตร ณ ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอแม่สอด อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.5 ไร่ ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดตาก รองจากอำเภออุ้มผาง และอำเภอสามเงา

อำเภอแม่สอดมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภออื่นในประเทศไทย 3 อำเภอ และ 1 รัฐในประเทศพม่า ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]

อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986.116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,241,322.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 12.11 ของเนื้อที่จังหวัด (เนื้อที่จังหวัด 16,406.650 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันซับซ้อนสลับกับหุบเขาแคบ ๆ ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเป็นที่ราบประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่อำเภอ และประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่ปกครองไปด้วยป่าโปร่งป่าดงดิบและป่าสน ภูเขาบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาถนนธงชัยที่ต่อลงมาจากทางตอนใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ ทอดผ่านจังหวัดตากและอำเภอแม่สอด ลงไปจนเชื่อมต่อกับทิวเขาตะนาวศรี จังหวัดกาญจนบุรี พื้นที่ลาดเอียงลงไปทางทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำเมยซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอำเภอแม่สอด ตั้งอยู่ในภาคเหนือค่อนไปทางตะวันตกของประเทศไทยประกอบด้วยป่าไม้และเทือกเขาสูง มีพื้นที่ราบสำหรับการเกษตรน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นทิวเขาถนนธงชัยสูงสลับซับซ้อนเป็นตัวแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตากตะวันออก คือ อำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และอำเภอวังเจ้า ส่วนฝั่งตากตะวันตก คือ อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอพบพระ อำเภอท่าสองยาง อำเภออุ้มผาง

ส่วนที่เป็นที่ราบต่ำถึงเป็นลอนลาด มีความสูงอยู่ระหว่าง 80-200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 16 ของจังหวัด บริเวณที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนชันมีความสูงอยู่ระหว่าง 200-300 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 10.5 ของจังหวัด

พื้นที่ที่เหลือเป็นเนินเขาเตี้ยไปจนถึงภูเขาสูง ซึ่งในกลุ่มนี้ มีพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง 300-700 เมตรจากระดับน้ำทะเลอยู่ร้อยละ 34.8 ของจังหวัด และมีความสูงมากกว่า 700-2,200 เมตร อยู่ร้อยละ 38.4 ของจังหวัด ยอดเขาสูงสุดทางตะวันออกของอำเภอท่าสองยางที่เคยวัดได้ มีความสูง 1,752 เมตร และยอดเขาสูงสุด ทางตะวันออกของอำเภออุ้มผางที่เคยวัดได้มีความสูง 1,898 เมตรจากระดับน้ำทะเล

มีพื้นที่การเกษตร 346,116 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,390,494 ไร่ และพื้นที่อยู่อาศัย 27,6701 ไร่

แหล่งน้ำ

[แก้]
  • แม่น้ำเมย หรือแม่น้ำต่องยิน นอกจากจะเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างชายแดนตะวันออกของพม่ากับแนวชายแดนตะวันตกของไทย ที่มีความยาว 327 กิโลเมตร มีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ และไหลย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอท่าสองยางไปถึงแม่ฮ่องสอน ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน
  • ห้วยแม่สอด
  • ห้วยหัวฝาย
  • ห้วยแห้ง
  • ห้วยแม่ตาว
  • ห้วยม่วง
  • อ่างเก็บน้ำบ้านหัวฝาย
  • อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยลึก

ลักษณะทางธรณีวิทยา

[แก้]

กลุ่มหินของยุคไทรแอสซิกบริเวณแม่สอดนั้นเคยแบ่งเป็น กลุ่มหินลำปาง แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมในปัจจุบันได้แยกออกเป็น 2 หน่วย แต่ไม่มีรายละเอียดเหมือนกับยุคจูราสซิก โดยยุคไทรแอสซิก เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251±0.4 ถึง 199.6 ±0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี

ลักษณะภูมิอากาศและอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
แม่สอด (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
3.5
 
31
14
 
 
5.3
 
34
16
 
 
6
 
36
20
 
 
35
 
37
23
 
 
179
 
34
24
 
 
257
 
31
23
 
 
305
 
30
23
 
 
354
 
30
23
 
 
174
 
31
23
 
 
108
 
32
22
 
 
21
 
31
19
 
 
3
 
30
15
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: อุณหภูมิและปริมาณฝนแม่สอดค่าเฉลี่ย30ปี[5]

อำเภอแม่สอดมีสภาพภูมิประเทศ มีเทือกเขาถนนธงชัยเป็นตัวปะทะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และทะเลอันดามัน จึงรับอิทธิพลจากลมมรสุมมากกว่าจังหวัดตากฝั่งตะวันออกทำให้ปริมาณฝนตก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ในเขตภูเขา เช่นนี้อากาศจะหนาวเย็นมาก

ปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยของพื้นที่ ระหว่างปี 2535-2544 จะอยู่ในช่วง 651.10 มม.ถึง 1,556.30 มม. ฝนตกมากที่สุดในปี 2542 วัดได้ถึง 1,556.30 มม.จำนวนวันฝนตก 154 วัน ส่วนฝนตกน้อยที่สุด ในปี 2535 วัดได้ 651.10 มม. จำนวนวันฝนตก 74 วัน
อุณหภูมิ
ในช่วงระหว่างปี 2535-2544 พื้นที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 25.00 องศาเซลเซียส ถึง 40.00 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดค่าเฉลี่ยปานกลาง 5.00 องศาเซลเซียสถึง 20.23 โดยอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนมีนาคม 2506 อุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ 4.5 องศาเซลเซียส เมื่อ 26 ธันวาคม 2542[6]
ความชื้นสัมพัทธ์
ในช่วงระหว่างปี 2539 - 2543 พื้นที่มีความชื้นเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 69 เปอร์เซ็นต์ ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในช่วง 43 เปอร์เซ็นต์ ถึง 53 เปอร์เซ็นต์โดยความชื้นเฉลี่ยต่ำสุดที่วัดได้เมื่อปี 2541 และ ความชื้นสูงสุดอยู่ในช่วง 95 เปอร์เซ็นต์ ถึง 96 เปอร์เซ็นต์

การเมืองการปกครอง

[แก้]

การปกครองท้องที่

[แก้]

อำเภอแม่สอดเป็น 1 ใน 9 อำเภอที่อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดตาก อำเภอแม่สอดเป็นหน่วยการบริหารราชการ การปกครองส่วนภูมิภาค ที่มีฐานะเป็นอำเภอที่ได้รับการจัดตั้งมายาวนาน ซึ่งมีอายุ 111 ปี ในปี พ.ศ. 2551 แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 88 หมู่บ้าน อำเภอแม่สอดแบ่งเขตการปกครองระดับท้องที่ในระดับตำบลออกเป็น 10 ตำบล ประกอบด้วย

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[7]
1. แม่สอด Mae Sot
41,619
2. แม่กุ Mae Ku
12,026
3. พะวอ Phawo
7,234
4. แม่ตาว Mae Tao
8,357
5. แม่กาษา Mae Kasa
14,314
6. ท่าสายลวด Tha Sai Luat
38,667
7. แม่ปะ Mae Pa
17,754
8. มหาวัน Mahawan
16,432
9. ด่านแม่ละเมา Dan Mae Lamao
8,169
10. พระธาตุผาแดง Phra That Pha Daeng
8,465

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]
เทศบาล

ปัจจุบันอำเภอแม่สอดมีเทศบาล 2 ขนาด รวมทั้งสิ้น 4 แห่ง ประกอบด้วย

  1. เทศบาลนครแม่สอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สอดทั้งตำบล
  2. เทศบาลตำบลแม่กุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลแม่กุ
  3. เทศบาลตำบลท่าสายลวด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าสายลวด
  4. เทศบาลตำบลแม่ตาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ตาวทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบล

อำเภอแม่สอดมีองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งสิ้น 8 แห่ง ประกอบด้วย

  1. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ปะทั้งตำบล
  2. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กุ (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่กุ)
  3. องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุผาแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุผาแดงทั้งตำบล
  4. องค์การบริหารส่วนตำบลพะวอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพะวอทั้งตำบล
  5. องค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาวันทั้งตำบล
  6. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กาษาครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กาษาทั้งตำบล
  7. องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่ละเมา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านแม่ละเมาทั้งตำบล
  8. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าสายลวด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสายลวด (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าสายลวด)

เศรษฐกิจ

[แก้]

การค้าขายชายแดนไทย-พม่า

[แก้]
ตลาดริมเมย

มูลค้าการค้าขาย: ภาพรวมเศรษฐกิจของ อ.แม่สอด เติบโตเฉลี่ย 20% ทุกปี ถือเป็นการค้าชายแดนที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดทางภาคเหนือของไทย โดยมูลค่าส่งออก ปี 2554 มูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาท ปี 2555 มูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท ปี 2556 มูลค่า 4.3 หมื่นล้านบาท และปีนี้ (2557) เฉพาะแค่เดือน ม.ค.-ก.พ. ยอดถึง 8.6 พันล้านบาท คาดสิ้นปีมูลค่าจะถึง 5 หมื่นล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ น้ำมันเชื้อเพลิง และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ

ส่วนการนำเข้าสูงขึ้นเช่นกัน ปี 2554 มูลค่า 8 พันล้านบาท ปี 2555 มูลค่า 1.4 หมื่นล้านบาท ปี 2556 มูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท สินค้านำเข้าส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ สินค้าเกษตร เป็นต้น

การขนส่ง

[แก้]

ทางถนน

[แก้]

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 อีกครั้ง ผ่านเข้ากำแพงเพชร และตรงไปจังหวัดตาก รวมระยะทาง 426 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง จากอำเภอเมืองตาก ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงอำเภอแม่สอด ระยะทางอีกประมาณ 86 กิโลเมตร โดยใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

ส่วนเส้นทางแม่สอด-พบพระ-อุ้มผาง ระยะทางประมาณ 164 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางช่วงนี้เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง ไม่ควรเดินทางกลางคืน รวมการเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงอุ้มผางประมาณ 9 ชม.

เส้นทางคมนาคมทางบก

[แก้]

ทางหลวงในแม่สอด แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติทางหลวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ได้แก่

ทางหลวงแผ่นดิน
ทางหลวงชนบท
  • ถนนแม่สอด-ค้างภิบาล
  • ถนนแม่สอด-แม่ตาว
  • ถนนเฉลิมเทพ (ทางเลี่ยงเมืองแม่สอด)
ทางหลวงท้องถิ่น
สะพาน

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

สถานีขนส่งแม่สอด เป็นศูนย์กลางเชื่อมการขนส่งอำเภอท่าสองยาง แม่ระมาด พบพระ และอุ้มผาง ซึ่งเป็นอำเภอชายแดนก่อนเชื่อมตัวเมืองตาก จังหวัดอื่น และกรุงเทพมหานคร มีรถขนส่งสาธารณะผ่านสถานีขนส่งแม่สอด 14 สาย เดินรถวันละ 373 เที่ยว ผู้ใช้บริการกว่า 3,500 คนต่อวัน ในขณะที่แม่สอดยังเชื่อมการขนส่งข้ามแดนไทย-พม่า ที่เมียวดี ฝั่งตรงข้าม วันละ 120 เที่ยว ผู้ใช้บริการกว่า 1,500 คน ขณะเดียวกันการค้าชายแดนไทย-พม่า สูงถึงปีละกว่า 12,000 ล้านบาท

เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้ากับกลุ่มเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงและอ่าวเบงกอล (GMS and BIMSTEC) และจุดเชื่อมการขนส่งแนวถนนระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันออก-ตะวันตก (East-west Economic Corridor) ตามแผนความร่วมมือพัฒนาของไทย กับประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และอินโดจีน รวมถึงการรองรับการเป็นเขตเศรษฐกิจชาย แดน เขตนิคมอุตสาหกรรม แม่สอดมหานครฝั่งตะวันตกและการผลักดันยกฐานะแม่สอดเป็น จังหวัด

ทางรถไฟ

[แก้]

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ของบประมาณ 58 เพื่อศึกษาความเหมาะสมรถไฟทางคู่สายนครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-แม่สอด [8]

ทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานแม่สอด เป็นสนามบินอนุญาต ที่ตั้ง Location Indicator VTPM ตำบลท่าสายลวด พิกัด ละติจูด 164159 เหนือ ลองจิจูด 0983237 ตะวันออก หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองทัพอากาศ และกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม ปัจจุบันมีสายการบินให้บริการอยู่ 1 สายการบิน คือนกแอร์ เส้นทางบิน ดอนเมือง-แม่สอด วันละ 4เที่ยวบิน

ทางน้ำ

[แก้]

ในอำเภอแม่สอด มีบริการเรือยนต์และแพข้ามฟากแม่น้ำเมย ระหว่างไทย-พม่า เฉพาะฝั่งไทย การขนสินค้าเข้าออกจะขนผ่าน 19 ท่าข้าม ที่ได้รับอนุมัติเป็นคลังสินค้าชั่วคราวตามกฎหมายศุลกากร ซึ่งเป็นการขนสารพัดสินค้าที่ผ่านพิธีการทางศุลกากรของไทยแล้ว แต่บางประเภท ก็จำเป็นต้องขนส่งผ่านท่าข้าม เพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีของพม่า ที่มีการตั้งไว้สูงเพราะระบุไว้เป็นสินค้าห้ามนำเข้า

การศึกษา

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา

[แก้]

อาชีวศึกษา

[แก้]

โรงเรียน

[แก้]
  • โรงเรียนในสังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลนครแม่สอด
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว (ท.ด.ก.) เลขที่ 19 ถ.เอเชีย แม่สอด แม่สอด 63110 20 มี.ค. 2492 ต.อ. - ม.3
2 โรงเรียนเทศบาลวัดชุมพลคีรี (ท.ช.พ.) เลขที่ 117/1 ถ.สวรรค์วิถี แม่สอด แม่สอด 63110 1 พ.ย. 2465 อ.1 - ม.3
3 โรงเรียนเทศบาลวัดบุญญาวาส (ท.บ.ว.) เลขที่ - แม่สอด แม่สอด 63110 อ.1 - ม.3
4 โรงเรียนเทศบาลวัดมณีไพรสณฑ์ (ท.ม.ณ.) เลขที่ 22 ถ.ชิดวนา แม่สอด แม่สอด 63110 พ.ศ. 2489 อ.1 - ม.3
5 โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โรงเรียนเทศบาล 5) เลขที่ - แม่ปะ แม่สอด 63110 26 พ.ค. 2551 ม.1 - ม.6
6 โรงเรียนนานาชาติแม่สอด เลขที่ - แม่สอด แม่สอด 63110 (โครงการ)
  • โรงเรียนในสังกัด กองการศึกษา เทศบาลตำบลแม่กุ
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่กุ (อ.ท.ก.) เลขที่ - ถ.แม่สอด-อุ้มผาง แม่กุ แม่สอด 63110 ต.อ. - ป.6
  • โรงเรียนในสังกัด สำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.เดิม)
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 63101524 โรงเรียนบ้านปูเต้อ สาขาบ้านหนองน้ำเขียว เลขที่ - ม.5 บ.หนองน้ำเขียว แม่กุ แม่สอด 63110
2 63102110 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่กุน้อย เลขที่ - ม.7 ถ.จุฬาชัย บ.แม่กุน้อย แม่กุ แม่สอด 63110
3 63102122 โรงเรียนชุมชนบ้านแม่ตาวกลางมิตรภาพที่ 26 เลขที่ - ม.5 บ.สันโรงเรียน แม่ตาว แม่สอด 63110
4 63102134 โรงเรียนญาณวิศิษฎ์ เลขที่ - ม.5 บ.บางส่างคำ พะวอ แม่สอด 63110 30 ธ.ค. 2540
5 63102146 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 61 (บ้านห้วยยะอุ) เลขที่ - ม.8 บ.ห้วยปลาหลด ด่านแม่ละเมา แม่สอด 63110
6 63102158 โรงเรียนบ้านค้างภิบาล เลขที่ - ม.1 บ.ค้างภิบาล พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110
7 63102160 โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ เลขที่ - ม.6 ถ.แม่สอด-อุ้มผาง บ.เจดีย์โคะ มหาวัน แม่สอด 63110
8 63102171 โรงเรียนบ้านท่าอาจ เลขที่ - ม.3 บ.ท่าอาจ ท่าสายลวด แม่สอด 63110
9 63102183 โรงเรียนบ้านธงชัย เลขที่ - ม.7 บ.ธงชัย ด่านแม่ละเมา แม่สอด 63110
10 63102195 โรงเรียนบ้านน้ำดิบ เลขที่ - ม.6 บ.น้ำดิบ แม่กาษา แม่สอด 63110
11 63102201 โรงเรียนบ้านปางส้าน เลขที่ - ม.2 บ.ปางส้าน ด่านแม่ละเมา แม่สอด 63110
12 63102213 โรงเรียนบ้านปูเต้อ เลขที่ - ม.4 บ.ปู้เต้อ แม่กุ แม่สอด 63110
13 63102225 โรงเรียนบ้านปูแป้ เลขที่ - ม.3 บ.ปูแป้ พะวอ แม่สอด 63110
14 63102237 โรงเรียนบ้านพะเด๊ะ เลขที่ - ม.4 บ.พะเด๊ะ พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110
15 63102249 โรงเรียนบ้านม่อนหินเหล็กไฟ เลขที่ - ม.3 ถ.แม่สอด-อุ้มผาง บ.ม่อนหินเหล็กไฟ มหาวัน แม่สอด 63110
16 63102250 โรงเรียนบ้านแม่กาษา เลขที่ - ม.2 บ.แม่กาษา แม่กาษา แม่สอด 63110
17 63102262 โรงเรียนบ้านแม่กื้ดสามท่า เลขที่ - ม.5 ถ.แม่สอด-แม่ระมาด บ.แม่กื้ดสามท่า แม่กาษา แม่สอด 63110
18 63102274 โรงเรียนบ้านแม่กื้ดหลวงกัญไชยมิตรภาพที่ 182 เลขที่ - ม.1 ถ.กัญไชยพัฒนา บ.แม่กื้ดหลวง แม่กาษา แม่สอด 63110
19 63102286 โรงเรียนบ้านแม่กุหลวง เลขที่ - ม.1 บ.แม่กุหลวง แม่กุ แม่สอด 63110
20 63102298 โรงเรียนบ้านแม่กุเหนือ เลขที่ - ม.8 บ.แม่กุเหนือ แม่กุ แม่สอด 63110
21 63102304 โรงเรียนบ้านแม่โกนเกน เลขที่ - ม.9 บ.แม่โกนเกน มหาวัน แม่สอด 63110
22 63102316 โรงเรียนบ้านแม่ตาว เลขที่ - ม.1 ถ.เอเชีย บ.แม่ตาว ท่าสายลวด แม่สอด 63110
23 63102328 โรงเรียนบ้านแม่ตาวใต้ เลขที่ - ม.1 บ.แม่ตาวใต้ แม่ตาว แม่สอด 63110
24 63102330 โรงเรียนบ้านแม่ตาวแพะ เลขที่ - ม.3 ถ.แม่สอด-แม่ตาว บ.แม่ตาวแพะ แม่ตาว แม่สอด 63110
25 63102341 โรงเรียนบ้านแม่ตาวใหม่ เลขที่ - ม.3 บ.แม่ตาวใหม่ พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110
26 63102353 โรงเรียนบ้านแม่ปะ เลขที่ - ม.2 ถ.แม่สอด-แม่ระมาด บ.แม่ปะกลาง แม่ปะ แม่สอด 63110
27 63102365 โรงเรียนบ้านแม่ปะใต้ เลขที่ - ม.3 ถ.ร.พ.ช. บ.แม่ปะใต้ แม่ปะ แม่สอด 63110
28 63102377 โรงเรียนบ้านแม่ปะเหนือ เลขที่ - ม.8 บ.แม่ปะเหนือ แม่ปะ แม่สอด 63110
29 63102389 โรงเรียนบ้านแม่ละเมา เลขที่ - ม.1 บ.แม่ละเมา แม่สอด แม่สอด 63110
30 63102390 โรงเรียนบ้านวังตะเคียน เลขที่ - ม.4 บ.วังตะเคียน ท่าสายลวด แม่สอด 63110
31 63102407 โรงเรียนบ้านห้วยกะโหลก เลขที่ - ม.4 บ.ห้วยกะโหลก แม่ปะ แม่สอด ตาก 63110
32 63102419 โรงเรียนบ้านห้วยปลาหลด เลขที่ - ม.8 บ.ห้วยปลาหลด ด่านแม่ละเมา แม่สอด 63110
33 63102420 โรงเรียนบ้านห้วยผาลาด เลขที่ - ม.2 บ.ห้วยผาลาด แม่กุ แม่สอด 63110
34 63102432 โรงเรียนบ้านห้วยม่วง เลขที่ - ม.2 ถ.มิตรสัมพันธ์ บ.ริมเมย ท่าสายลวด แม่สอด 63110
35 63102444 โรงเรียนบ้านห้วยไม้แป้น เลขที่ - ม.5 บ.ห้วยไม้แป้น มหาวัน แม่สอด 63110
36 63102456 โรงเรียนบ้านห้วยหินฝน เลขที่ - ม.6 บ.ห้วยหินฝน แม่ปะ แม่สอด 63110
37 63102468 โรงเรียนบ้านหัวฝาย เลขที่ - ม.2 บ.หัวฝาย พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110
38 63102470 โรงเรียนแม่สอด เลขที่ 144 ถ.ชิดวนา แม่สอด แม่สอด 63110
39 63102481 โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ เลขที่ - ม.6 บ.แม่ละเมาไหล่ท่า พะวอ แม่สอด 63110
  • โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา (สศ.เดิม)
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 63100551 โรงเรียนด่านแม่ละเมาวิทยาคม (ด.ว.) เลขที่ 407 ม.2 บ.ปางส้าน ด่านแม่ละเมา แม่สอด 63110 23 มิ.ย. 2530 ม.1 - ม.6
2 63100563 โรงเรียนแม่กุวิทยาคม (มกว.) เลขที่ - แม่กุ แม่สอด 63110 พ.ศ. 2534 ม.1 - ม.6
3 63100575 โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม (ม.ป.ว.) เลขที่ 462 ม.2 ถ.แม่สอด-แม่ระมาด บ.แม่ปะกลาง แม่ปะ แม่สอด 63110 27 ก.พ. 2524 ม.1 - ม.6
4 63100587 โรงเรียนสรรพวิทยาคม (ส.ว.) เลขที่ 51 ถ.ประสาทวิถี แม่สอด แม่สอด 63110 30 พ.ย. 2458 ม.1 - ม.6
  • โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 โรงเรียนธรรมวัตรวิทยา (วัดดอนมูล) เลขที่ 92 ม.1 บ.ค้างภิบาล พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110 28 ก.พ. 2549 ป.1 - ม.3
2 63100012 โรงเรียนภัทรวิทยา เลขที่ 273 ถ.สายเอเชีย ท่าสายลวด แม่สอด 63110 อ.1 - ม.6
3 [[โรงเรียนราษฎร์วิทยา]] (ตี่มิ้ง) เลขที่ 226 ถ.ศรีพานิช แม่สอด แม่สอด 63110 ป.1 - ม.6
4 63100013 โรงเรียนศิริวรรณศึกษา เลขที่ 558/1 ถ.อินทรคีรี แม่สอด แม่สอด 63110 อ.1 - อ.3
5 โรงเรียนอนุกูลวิทยา (วัดดอนแก้ว) เลขที่ 766 ถ.อินทรคีรี แม่สอด แม่สอด 63110 2546 ป.1 - ม.3
6 63100016 โรงเรียนอนุบาลการุณย์ เลขที่ 7/1 ถ.ราชการราษฎร์ดำริ 1 แม่สอด แม่สอด 63110 อ.1 - อ.3
7 63100014 โรงเรียนอนุบาลราษฎร์อุทิศ เลขที่ 226/3 ถ.ศรีพานิช แม่สอด แม่สอด 63110 อ.1 - อ.3
8 โรงเรียนอิสลามศึกษา เลขที่ 2 ถ.อิสลามบำรุง แม่สอด แม่สอด 63110 ป.1 - ม.3
  • โรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษานอกระบบโรงเรียน (หลักสูตรระยะสั้น)
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 โรงเรียนบีบีเอส คอมพิวเตอร์ เลขที่ 1/5 ซ.สรรพการ ถ.ประสาทวิถี แม่สอด แม่สอด 63110
2 โรงเรียนพะวอการบริบาล เลขที่ 3/24 ถ.ราษฎร์อุทิศ แม่สอด แม่สอด 63110
3 โรงเรียนแม่สอดเทคโนโลยี เลขที่ 301/5 ถ.อินทรคีรี แม่สอด แม่สอด 63110
4 โรงเรียนรวมใจพิมพ์ดีด เลขที่ 1 ซ.ร่วมใจ ถ.อินทรคีรี แม่สอด แม่สอด 63110
5 โรงเรียนศูนย์ครุภัณท์แม่สอด เลขที่ 109/12 ถ.สวรรด์วิถี แม่สอด แม่สอด 63110
6 โรงเรียนเสริมสวยลักขณา เลขที่ 211/1 ถ.ประสาทวิถี แม่สอด แม่สอด 63110
  • โรงเรียนและศูนย์การเรียนในสังกัด กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 346 (ร้อย ตชด.346) กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 (กก.ตชด.34) "ค่ายพระเจ้าตาก กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 (บก.ตชด.ภาค 3) ค่ายดารารัศมี
ที่ รหัสโรงเรียน ชื่อโรงเรียน ที่อยู่ ตำบล / อำเภอ / รหัสไปรษณีย์ วันสถาปนา ระดับที่เปิดสอน
1 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำเสือ เลขที่ - ม.5 บ.ถ้ำเสือ พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110 อ.1 - ป.6
2 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยน้ำขุ่น เลขที่ - ม.8 บ.ห้วยน้ำขุ่น มหาวัน แม่สอด 63110 อ.1 - ป.6
3 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร เลขที่ - ม.6 บ.ขุนห้วยแม่สอด พระธาตุผาแดง แม่สอด 63110 อ.1 - ป.6
4 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนศึกษาสงเคราะห์ 2 เลขที่ - ม.10 บ.โกช่วย แม่กุ แม่สอด 63110 อ.1 - ป.6

วัฒนธรรม

[แก้]

สถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าแม่สอด

[แก้]

สถาปัตยกรรมที่สำคัญและมีลักษณะโดดเด่นในย่านเมืองเก่าแม่สอด ทั้งบ้านเรือน หรือที่เรียกว่า "เฮือน" และสถานที่ราชการสำคัญ ๆ จะจัดสร้างด้วยไม้เป็นหลัก เนื่องจากแม่สอดเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ โดยเฉพาะไม้สักและไม้แดง สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นได้แก่

  • ศาลแขวงแม่สอด ตั้งอยู่เส้นถนนอินทรคีรี ใกล้บริเวณวัดมณีไพรสณฑ์
  • กาดตึก ตั้งอยู่เส้นถนนอินทรคีรี ใกล้สถานีตำรวจภูธรแม่สอด หรือบริเวณร้านนัมเบอร์วันในปัจจุบัน
  • เฮือนโบราณข้างศาลฯ ตั้งอยู่เส้นถนนอินทรคีรี ติดศาลแขวงแม่สอดหลังเก่าในปัจจุบัน
  • เฮือนโบราณข้างโรงหนังฯ ตั้งอยู่เส้นถนนอินทรคีรี ติดโรงหนังแม่สอดในปัจจุบัน
  • โรงหนังแม่สอด หรือโรงภาพยนตร์แม่สอดราม่า ตั้งอยู่เส้นถนนอินทรคีรี เยื้องวัดอรัญญเขต

ประเพณีท้องถิ่น

[แก้]
แหล่ส่างล่อง (แห่ลูกแก้ว)
“แหล่” เป็นคำภาษาไทยใหญ่ แปลว่า แห่ ส่วน “ส่างลอง” คือ ลูกแก้ว หมายถึง ลูกหลานของชาวไทยใหญ่ แหล่ส่างล่องเป็นประเพณีการบวชเณรของชาวไทยใหญ่ผู้นับถือพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนในช่วงปิดภาคการศึกษาในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่บวชเณรลูกชายตนเองจะได้บุญหรืออานิสงส์มากถึง 7 กัลป์ ถ้าบวชเณรลูกชายคนอื่นจะได้บุญ 4 กัลป์ และถ้าบวชลูกชายตนเองเป็นพระภิกษุ จะได้บุญถึง 16 กัลป์ ถ้าบวชลูกชายคนอื่นเป็นพระภิกษุจะได้บุญถึง 8 กัลป์
ต่างซอมต่อโหลง (ตานข้าวพระพุทธ)
เป็นประเพณีถวายเภสัชทั้ง5 แด่พระพุทธเจ้าประกอบด้วย ผลไม้ต่าง ๆ นม เนย น้ำตาล และน้ำมัน ดอกไม้ธูปเทียน ประเพณีนี้จะเริ่มจัดขึ้นราวเดือน 10 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 10 วัดแม่สอดน่าด่านเป็นวัดแรกที่ริเริ่มประเพณีนี้ ปัจจุบัน วัดต่างๆนำยึดถือปฏิบัติเช่นกัน
แล้อุปัตตะก่า
เป็นประเพณีของชาวไทยใหญ่ที่จัดขึ้นทุกวันโกนในช่วงเข้าพรรษา โดยคณะศรัทธาที่เป็นผู้ชายจะออกนำเครื่องหาบหามที่สามารถบรรจุปัจจัยต่างๆ ออกเดินรับสิ่งของที่ผู้มีจิตศรัทธาเพื่อส่งเสริมให้คนได้ทำบุญ
ตานก๋วยสลาก
เป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ตาย โดยการจัดของไทยทานบรรจุในชะลอมใบเล็ก ๆ ของ ไทยทานสานใหญ่เป็นพวกขนม ผลไม้ และของใช้ กระทำกันในเขตอำเภอซีกตะวันตกของจังหวัดตาก 5 อำเภอ บางส่วนกำหนดภายในเดือนสิบ (เดือนสิบสองเหนือคือก่อนออกพรรษา 1 เดือน)
ขึ้นพระธาตุดอยดินจี่หรือพระธาตุดอยหินกิ่ว
โดยจะถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นวันชุมนุมเพื่อนมัสการพระธาตุและรอยพระพุทธบาท
ประเพณีกินวอ
ประเพณีกินวอ คืองานปีใหม่ของชาวเขาเผ่าลีซอ จัดระหว่างเทศกาลตรุษจีนของชาวจีนทุกปี ในวันแรกของพิธีกินวอ จะมีการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ พอตอนบ่ายมีพิธีเต้นรำ เนื่องจากชาวลีซอนับถือผี ซึ่งมีผีหลวงประจำดอย ชาวลีซอจะขึ้นไปสร้างศาล มีกองหางว่าวเล็กๆ ไว้ มีรั้วรอบขอบชิด และผีเมืองซึ่งเป็นผีประจำหมู่บ้าน ในประเพณีกินวอนี้จะมีการเลี้ยงผีทั้ง 2 ไปพร้อมกันในพิธีดังกล่าว ชาวลีซอโดยเฉพาะผู้หญิงจะใส่เสื้อผ้าใหม่ที่บรรจงเย็บมาเป็นแรมปี และใส่เสื้อผ้าชุดนี้ไปตลอดปี พอปีใหม่ปีหน้ามีพิธีกินวอครั้งต่อไป เขาจะใส่เสื้อผ้าชุดใหม่ที่เตรียมเย็บไว้ระหว่างปีดังเช่นปีก่อน วันต่อมาจะร่วมรื่นเริงกันต่อที่บ้านของผู้ใหญ่ หรือบ้านของบุคคลที่ชาวลีซอเคารพนับถือจากนั้นก็จะเป็นบ้านผู้ใหญ่บ้านตามลำดับ
งานฉลองเจ้าพ่อพะวอ
ทุกๆปีระหว่างวันที่ 1- 10 ธันวาคม ชาวอำเภอแม่สอดจะจัดงานฉลองเจ้าพ่อพะวอ
งานเทศกาลปีใหม่ชาวไทยภูเขา
จัดขึ้นทุกปีบนดอยที่มีชาวเขาอาศัยอยู่ ที่นิยมไปกันคือ บนดอยมูเซอ ที่อยู่ในความดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จ.ตาก ทั้งเผ่ามูเซอดำ ม้ง และลีซอ ส่วนใหญ่จัดในเดือน ม.ค.-ก.พ. แต่ละเผ่าจะจัดงานไม่พร้อมกัน แต่ในช่วงที่มีงานปีใหม่ของชาวมากที่สุด คือช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนระยะเวลาของงานจะขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ได้ในปีที่แล้ว ถ้าผลผลิตดีก็จะมีงานหลายวัน แต่ถ้าผลผลิตไม่ดีนักเวลาของงานก็จะลดลงเหลือเพียงสามวัน ชาวมูเซอดำจะจัดพิธี "กินวอ" ซึ่งจะมีกาฆ่าหมูเลี้ยงผีทุกวันจนกว่างานจะเลิก ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ มีกาจุดประทัด ยิงปืนแก๊ป เป่าแคน และดีดซึง เพื่อต้อนรับคนต่างถิ่น มีการผลัดกับการเต้นรำตลอดเวลา ในวงเต้นรำที่เรียกว่า "จะคึ" ส่วนงานวันขึ้นปีใหม่ของชาวลีซอก็มีการเซ่นไหว้บรรดาผีต่าง ๆ และตอนบ่ายมีพิธีเต้นรำไปตลอดวันตลอดคืนเช่นกัน
ประเพณีปีใหม่ม้ง (น่อเป๊ะเจ่า)

สถานที่สำคัญ

[แก้]
สะพานมิตรภาพ ไทย-พม่า (แม่สอด-เมียวดี) ทอดข้ามแม่น้ำเมย
ศาลเจ้าพ่อพระวอ ตำบลพะวอ ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒธรรม

[แก้]

วัดสำคัญ

[แก้]
  • วัดถ้ำอินทนิล อ.แม่สอด จ.ตาก วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยหลวงปู่เจี้ย จุนฺโท เคยมาพักภาวนาอยู่
  • วัดโพธิคุณ (วัดห้วยเตย) อยู่ห่างจากอำเภอแม่สอดไป 12 ก.ม. ภายในอุโบสถประดิษฐาน พระตรีโลกเชษฐ์ พระพุทธรูปประธานปางมารวิชัย
  • วัดมณีไพรสณฑ์ ตั้งอยู่ในตลาด อ.แม่สอด มีสถาปัตยกรรมเจดีย์วิหารสัมพุทเธ ซึ่งเป็นทั้งวิหารและองค์เจดีย์ในอาคารเดียวกัน
  • วัดชุมพลคีรี (วัดกลาง) ตั้งอยู่ในตัว อ.แม่สอด ภายในประดิษฐานเจดีย์สีทององค์ใหญ่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่า หรือมักเรียกโดยทั่วไปว่า “เจดีย์กบฏ”
  • วัดไทยวัฒนาราม (วัดแม่ตาวเงี้ยว หรือวัดไทยใหญ่) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ มีเจดีย์โกนวินซึ่งเป็นเจดีย์มอญทรงเครื่องสามฉัตร ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธมุนี ซึ่งจำลองแบบมาจากพระพุทธรูปของพม่า
  • วัดดอนแก้ว ตั้งอยู่บนริม ถนนสายแม่สอด ริมเมย มุ่งหน้าจากเทศบาลนครแม่สอด จะอยู่ขวามือ ก่อนถึงสามแยกสนามบิน เป็นวันเก่าแก่ที่สุดในแม่สอดอีกวันที่ไม่ค่อยมีผู้คนเข้าไปทำบุญหรือท่องเมี่ยวเนื่องจากบริเวณวัดมีการปรับ และพัฒนาให้เป็นโรงเรียนแก่เด็กๆผู้ขาดโอกาศทางการศึกษา ด้วยพระเมตตาของหลวงพ่ออนุกุล เจ้าอาวาสวัด ที่ได้เห็นคนสำคัญของการศึกษา จึงได้ริเริ่มและก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณวัด

ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพักผ่อน

[แก้]
  • น้ำตกธารารักษ์ อยู่เขตบ้านเจดีย์โค๊ะ จาก อ. แม่สอด เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีชั้นเดียวมีน้ำตลอดปี ลักษณะเป็นน้ำไหลตกลงมาจากหน้าผาหินปูนที่ชันระดับ 90 องศา สูงประมาณ 30 ม.
  • น้ำตกนางครวญ (น้ำตกเพอะพะ) อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติพาเจริญ เป็นน้ำตกขนาดกลางลดหลั่นลงไปเป็นชั้นเล็ก ๆ ท่ามกลางป่าเบื้องล่าง กระแสน้ำแรง
  • น้ำตกปางมโนราห์
  • ถ้ำแม่อุษา อยู่บริเวณเดียวกับน้ำพุร้อนแม่กาษาเป็นถ้ำขนาดใหญ่มีห้องโถง 13 ห้อง มีทางเดินถึงกันได้ทุกห้อง ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปแบบต่างๆ
  • บ่อน้ำพุร้อนแม่กาษา อยู่ในท้องที่ตำบลแม่กาษา นอกเหนือจากน้ำพุร้อนแล้วยังมีบ่อน้ำร้อนอีก 2 บ่อ อุณหภูมิของน้ำสูงประมาณ 75 องศา
  • แม่น้ำเมย จากตัวอำเภอแม่สอดไปทางตะวันตกประมาณ 6 กิโลเมตร สุดเขตแดนไทย-พม่าจะถึงแม่น้ำเมย แม่น้ำสายนี้น้ำไหลขึ้น มิได้ไหลล่องเช่นแม่น้ำโดยทั่วไป แม่น้ำเมยมีต้นน้ำอยู่ที่บ้านมอเกอในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก
  • พัทยาท่าล้อ
  • แม่กื้ดสามท่า
  • แก่งแม่ละเมา

อุทยาน วนอุทยาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

[แก้]

แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้

[แก้]
  • เนินพิศวง มีลักษณะเป็นทางขึ้นเนินอยู่บนถนนสายตาก-แม่สอด ตรงหลักกิโลเมตรที่ 68 เมื่อนำรถไปจอดไว้ตรงทางขึ้นเนินโดยไม่ได้ติดเครื่อง รถจะไหลขึ้นเนินไปเอง มีนักวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ถึงสาเหตุนี้พบว่าเกิดจากเป็นภาพลวงตา
  • อุทยานการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติ ประกอบไปด้วยตัวอาคารที่จัดแสดงแหล่งความรู้ และห้องสมุดแสดงกิจกรรมแล้วยังมี สวนน้ำ, หอดูดาว, ลานน้ำพุ, ท้องฟ้าจำลอง และระบบอินเทอร์เน็ตสำหรับการค้นข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ (อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง)
  • พิพิธภัณฑ์นครแม่สอด

ตั้งอยู่บริเวณชั้น 1 อาคารแสดงสินค้าและอัญมณี ถนนสายแม่สอด ริมเมย ก่อนถึงสามแยกสนามบิน ทางซ้ายมือ จากเทศบาลนครแม่สอด ประกอบไปด้วยห้องจัดแสดงข้อมูลประวัติความเป็นมาของเมืองแม่สอด วิถีชีวิต อาชีพ การแต่งกาย อาหานการกิน สินค้าโอทอป บุคคลสำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีห้องสมุดสมเด็จพระเทพฯ ที่เป็ห้องทรงงานส่วนพระองค์อยู่ในบริเวณเดียวกันอีกด้วย

สถานที่หน่วยงานสำคัญ

[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • จัดตั้งเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก พุทธศักราช 2482 เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2482
  • ญี่ปุ่นเข้าแม่สอดในสมัยสงคราม พ.ศ. 2488
  • น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2496
  • กะเหรี่ยงบุกเผาแม่สอด 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2503
  • ไฟไหม้ตลาดแม่สอด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2522
  • น้ำท่วม พ.ศ. 2538 : เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่แม่สอดหลายครั้งหลายคราแล้ว แต่น้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2538 นับว่ารุนแรงที่สุด สาเหตุจากฝนตกหนัก อ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด ที่บ้านหัวฝาย ไม่สามารถจะกักเก็บน้ำไว้ได้ จึงต้องมีการระบายน้ำออกจากอ่าง และที่บริเวณช่องระบายน้ำหรือสปิลเวย์ ท้ายอาคารฝายน้ำล้นเกิดการทรุดตัวพังทล่ม ทำให้น้ำทะลักไหลบ่าเข้าท่วมตัวเมืองแม่สอดอย่างรวดเร็ว ระดับน้ำสูงเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2496 ทำให้ถนนหนทางเสียหายแทบทุกสาย การคมนาคมต้องหยุดชะงัก หรือแม้แต่การโดยสารทางเรือข้ามฟาก ก็ต้องหยุดกิจการเช่นกัน น้ำท่วมในครั้งนี้ได้รับความเสียหายค่อนข้างหนัก

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมโยธาธิการและผังเมือง, ผังประเทศไทย พ.ศ. 2560[ลิงก์เสีย].
  2. อนุรักษ์ พันธุ์รัตน์, บรรณาธิการ. แม่สอดหนึ่งร้อยปี. พิมพ์ครั้งที่ 1. ตาก : ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่สอด, 2541.
  3. เปลื้อง ณ นคร. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระนารายณ์มหาราช. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2537.
  4. "อปท.5 อ.ชายแดนตาก ดันตั้ง "จว.77-มหานคร" เสนอ "3 พล.อ.-สนช." หลังดันมา 5 ปีแต่ไม่คืบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
  5. [1][ลิงก์เสีย]
  6. http://www.tmd.go.th/programs%5Cuploads%5Cmagazines%5Cmag3-2353.pdf เก็บถาวร 2021-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วารสารอุตินิยามวิทยา 2553
  7. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.

เอกสารอ้างอิง

[แก้]
  • ที่ปรึกษาวิจัยภาคใต้จำกัด, บริษัท; คณะผู้วิจัย ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์...[และคนอื่นฯ]. โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทเพื่อปรับปรุงเมืองชายแดนทางการท่องเที่ยว แม่สอด เชียงของ เบตง. พิมพ์ครั้งที่ ?. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2540.
  • ที่ปรึกษาอินเตอร์เนชั่นแนล คอนซัลแทนซี่ เน็ทเวอร์ค (อินโดไชนา เซาส์อีสท์ เอเชีย) จำกัด, บริษัท. โครงการวิเคราะห์ภาวะการกระจายอุตสาหกรรม 9 จังหวัดเป้าหมายไปสู่จังหวัดใกล้เคียง : กรณีศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนตะวันตก ภาคเหนือ (แม่สอด) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มุกดาหาร) [ร่างรายงานขั้นสุดท้าย]. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, 2539.
  • เดือนแรม ประกายเรือง. สู่อ้อมแขน ล้านนาตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2544.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]