อำเภอธากา
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
อำเภอธากา ঢাকা জেলা อำเภอดักกา | |
---|---|
อาคารรัฐสภาแห่งชาติ, มัสยิดประจำชาติ Baitul Mukarram, ป้อม Lalbagh, เส้นขอบฟ้าของธากาเก่า, อนุสรณ์สถานผู้สละชีพเพื่อชาติ | |
ที่ตั้งอำเภอธากา ในประเทศบังกลาเทศ | |
พิกัด: 23°47′N 90°18′E / 23.79°N 90.30°E | |
ประเทศ | บังกลาเทศ |
ภาค | ธากา |
การปกครอง | |
• ข้าหลวง | เอ็ม.ดี.ชาฮีดุล อิสลาม[1] |
• ประธานสภาอำเภอ | เอ็ม.ดี.มาห์บูบูรเราะห์มาน[2] |
• ประธานคณะกรรมการบริหาร | เอ็ม.ดี.มามูนูร์ ราชิด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,463.6 ตร.กม. (565.1 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ศ. 2565)[3] | |
• ทั้งหมด | 14,734,025 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 1 |
• ความหนาแน่น | 8,200 คน/ตร.กม. (21,300 คน/ตร.ไมล์) |
ISO 3166-2 | BD-13 |
เอชดีไอ (พ.ศ. 2564) | 0.745[4] สูง |
เว็บไซต์ | http://www.dhaka.gov.bd/ |
ธากา (เบงกอล: ঢাকা) เป็นอำเภอหนึ่งในภาคธากาของประเทศบังกลาเทศ[5] และเป็นอำเภอที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในประเทศ เมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ ตั้งอยู่ในอำเภอนี้ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำบูริกัณกา ซึ่งไหลจากแม่น้ำทูรัก ไปทางตอนใต้ของอำเภอ ในขณะที่ธากา (เทศบาลนคร) ครอบครองพื้นที่เพียง 1 ใน 5 ของพื้นที่อำเภอธากา แต่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของอำเภอ และทั้งประเทศ
ประวัติศาสตร์
[แก้]เขตการปกครองธากาก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2315 แต่การตั้งถิ่นฐานที่มีลักษณะเป็นเมืองในพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือเมืองธากานั้นมีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 พื้นที่ของ ซาวาร์ ในปัจจุบัน เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซันบัคห์ ในช่วงศตวรรษที่ 7 และ 8 ต่อมาพื้นที่ของธากาก็ถูกปกครองโดยอาณาจักรของชาวพุทธ และ อาณาจักรปาละ ก่อนจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ราชวงศ์เสนา ใน ศตวรรษที่ 9 หลายคนเชื่อว่าชื่อของเมืองนี้ได้มาจากชื่อของวิหารพระแม่ทุรคา ชื่อว่าวัดฒาเกศวรี ที่ถูกสร้างขึ้นโดย บัลลาล์ เสนา ในศตวรรษที่ 12 ซึ่งธากาและบริเวณโดยรอบถูกเรียกว่า "เบงกอล" ในช่วงเวลานั้น อีกทั้งเมืองนี้ยังมีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมากมาย เช่น ลักษมีบาซาร์, ชานคารีบาซาร์, ตันติบาซาร์, ปาตูอาตูลี, คูมาร์ตูลี, บาเนียนาการ์ และโกลนาการ์ หลังจากราชวงศ์เสนาเสื่อมอำนาจลง ธากาก็ถูกปกครองต่อมาอย่างต่อเนื่องโดยผู้ปกครองชาวเตอร์ก และชาวปัชตุน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเดลีสุลต่าน ก่อนการมาถึงของจักรวรรดิโมกุล ในปี พ.ศ. 2151
การพัฒนาของเมือง และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นจากการที่เมืองได้รับการสถานะให้เป็นเมืองหลวงของเบงกอล ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโมกุล ในปี พ.ศ. 2151 ในช่วงการปกครองภายใต้จักรวรรดิโมกุล พื้นที่ภายในอำเภอธากาปัจจุบัน เคยมีชื่อเสียงในด้านการผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โดยเฉพาะมัสลิน โมกุล ซูบาดาร์ อิสลาม ข่าน เป็นผู้ปกครองคนแรกของเมือง ข่านตั้งชื่อเมืองนี้ว่า "จาฮังกีร์นาการ์" (เมืองจาฮังกีร์) เพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิโมกุล จาฮังกีร์ แม้ว่าชื่อนี้จะถูกยกเลิกไปหลังจากการสวรรคตของจาฮังกีร์ไม่นาน การขยายตัวของเมืองเกิดขึ้นภายใต้ผู้ปกครองโมกุล ชาอีซตา ข่าน เมืองนี้มีขนาดพื้นที่ 19–13 กิโลเมตร (11.8–8.1 ไมล์) และมีประชากรเกือบ 1 ล้านคน เมืองนี้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษในปี พ.ศ. 2300 หลังจากยุทธการที่พลาสซีย์ และในที่สุดก็ตกเป็นของพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2308 ที่ยุทธการที่บูซาร์ จำนวนประชากรของเมืองลดลงอย่างมากในช่วงเวลานี้ แต่ในที่สุดการพัฒนาที่สำคัญและการปรับปรุงให้ทันสมัยก็ตามมา มีการนำระบบน้ำประปาของพลเมืองที่ทันสมัยมาใช้ในปี พ.ศ. 2417 และเปิดใช้งานไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2421 ฐานทัพธากาตั้งอยู่ใกล้กับเมือง ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับทหารอังกฤษและอินเดีย
ระหว่างการแบ่งเขตการปกครองเบงกอลที่ยุติลงในปี พ.ศ. 2448 ธากาได้รับสถานะเป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันออก และรัฐอัสสัมที่ถูกตั้งขึ้นใหม่ แต่เบงกอลก็กลับมารวมกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2454
หลังจากการแบ่งเขตการปกครองเบงกอลในปี พ.ศ. 2490 รวมถึงการแบ่งเขตการปกครองของบริติชอินเดียในปี พ.ศ. 2490 ธากาก็กลายเป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันออกโดยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐมุสลิมใหม่ของปากีสถาน ในขณะที่พื้นที่ทางตะวันตกของเบงกอลซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียใหม่และเป็นอิสระ ถูกจัดให้เป็นรัฐเบงกอลตะวันตกโดยมีกัลกัตตาเป็นเมืองหลวง กัลกัตตาได้ประสบกับความรุนแรงในชุมชนที่ทำให้ผู้คนหลายพันคนเสียชีวิต ประชากรชาวฮินดูส่วนใหญ่ของเมืองนี้จึงเดินทางหลบหนีไปอินเดีย ในขณะที่เมืองธากาก็รับผู้อพยพชาวมุสลิมหลายแสนคนจากกัลกัตตา ประชากรของเมืองจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งสร้างปัญหาการขาดแคลนอย่างรุนแรงและปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน[6] ในฐานะศูนย์กลางด้านการเมืองระดับภูมิภาค ธากาจุดศูนย์รวมในการประท้วงทางการเมือง โดยเหตุการณ์ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น จากการการประกาศให้ภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของปากีสถานนำไปสู่การเดินขบวนประท้วงที่มีฝูงชนจำนวนมากขึ้น รู้จักกันในชื่อการเคลื่อนไหวทางภาษาของปี พ.ศ. 2495 โดยในการประท้วงเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการใช้อาวุธปืน จนทำให้นักศึกษาที่กำลังชุมนุมอย่างสงบเสียชีวิต[7] ตลอดช่วงทศวรรษ 1950 และ 60 ธากายังคงเป็นแหล่งกิจกรรมทางการเมือง และความต้องการในการปกครองตนเองของชาวบังคลาเทศก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
พายุไซโคลนโบลา พ.ศ. 2513 ทำลายล้างพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 500,000 คน จนทำให้ธากาถูกน้ำท่วมมากกว่าครึ่ง และผู้คนนับล้านศูนย์หาย[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความโกรธของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นต่อการเลือกปฏิบัติทางชาติพันธุ์ และการบรรเทาทุกข์จากพายุไซโคลนที่ล้มเหลวของรัฐบาลกลาง ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน นักการเมืองชาวเบงกอลจึงจัดการชุมนุมของกลุ่มชาตินิยมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2514 ที่สนามแข่งม้า โดยมีผู้เข้าร่วมการชุมนุมประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งนำไปสู่การประกาศเอกราชของบังกลาเทศในวันที่ 26 มีนาคมของ เซียร์ เราะห์มาน[7][8]ต่อมา กองทัพปากีสถานได้เปิดปฏิบัติการ Searchlight ซึ่งนำไปสู่การจับกุม ทรมาน และสังหารผู้คนหลายแสนคน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูและปัญญาชนชาวเบงกอล[9]
ในช่วงสงครามประกาศเอกราชบังกลาเทศ กองทัพปากีสถานได้จับกุมและสังหารมุคตีโจทธา 14 คนจากธามไร หลุมฝังศพจำนวนมากที่สร้างขึ้นในช่วงสงครามยังคงมีอยู่ในฝั่งตะวันตกของ กาลัมปุระ[10] อีกทั้งกองทัพปากีสถาน ยังเผาบ้านหลายหลังในหมู่บ้าน โคนาโคลา, บาสตาร์, พราหมณ์กีรธา, โกล์คาลี และ คาเกล โคลาโมรา ของ เกรานิคัญช์
การพ่ายแพ้ของกองทัพปากีสถานในเมืองธากาต่อกองกำลังพันธมิตรที่นำโดย จักจิต ซิงห์ ออโรรา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ถือเป็นการยอมจำนนของกองทัพปากีสถาน หลังจากได้รับเอกราชทำให้จำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมหาศาล ดึงดูดแรงงานข้ามชาติจากพื้นที่ชนบททั่วบังกลาเทศ[6] ความเจริญด้านอสังหาริมทรัพย์ตามมาด้วยการขยายตัวของเมืองและการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานใหม่เช่น กุลชาน, บานาณี และ โมติจฮีล[6]
การบริหาร
[แก้]เขตการปกครอง
[แก้]อำเภอธากาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
รายชื่อตำบลในอำเภอธากา | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | ตำบล | พื้นที่ (ตร.กม.) | ประชากร (คน) | ||
1 | ธามไร | 307.5 | 312,777 | ||
2 | ดูฮาร์ | 121.41 | 226,439 | ||
3 | เกรานิคัญช์ | 150 | 830,174 | ||
4 | นาวาบีคัญช์ | 244.81 | 335,757 | ||
5 | ซาวาร์ | 280.13 | 1,442,885 |
นอกจากนี้อำเภอธากายังมีเขตการปกครองที่มีสถานะเป็นเทศบาลนครอยู่ 1 แห่ง คือธากาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ
รายชื่อเทศบาลนครในอำเภอธากา | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | เทศบาลนคร | พื้นที่ (ตร.กม.)[13][14] | ประชากร (คน)(พ.ศ. 2565)[15][3] | ||
1 | ธากา | 305.47 | 10,278,882 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "List of Deputy Commissioners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
- ↑ zpdhaka.org
- ↑ 3.0 3.1 "Population & Housing Census-2011" (PDF). Bangladesh Bureau of Statistics. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "dhakapop1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-02-08.
- ↑ Molla, Md Tuhin (2012). "Dhaka District". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 AM Chowdhury (2012). "Dhaka". ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ 7.0 7.1 Richards, John (2002). "Calcutta and Dhaka: A tale of two cities". Inroads. สืบค้นเมื่อ 27 September 2006.
- ↑ Harun-or-Rashid (2012). "Rahman, Bangabandhu Sheikh Mujibur". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ Blood, Archer, "Transcript of Selective Genocide Telex" (PDF). (131 KiB), Department of State, United States
- ↑ Md Ilias Uddin (2012). "Dhamrai Upazila". ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
- ↑ "List of Deputy Commissioners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-02-26.
- ↑ "AL men appointed administrators". thedailystar.net. 16 December 2011.
- ↑ Partha Pratim Bhattacharjee; Mahbubur Rahman Khan (7 May 2016). "Govt to double size of Dhaka city area". The Daily Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
- ↑ "Dhaka City expands by more than double after inclusion of 16 union councils". bdnews24.com. 9 May 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2017.
- ↑ "Dhaka (Bangladesh): City Districts and Subdistricts - Population Statistics, Charts and Map". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.