อำเภอตานาโตราจา
อำเภอตานาโตราจา Kabupaten Tana Toraja | |
---|---|
บ้านท้องถิ่นแบบตงโกนันในหมู่บ้านเกะเตะเกซุ | |
ที่ตั้งอำเภอตานาโตราจา | |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
จังหวัด | ซูลาเวซีใต้ |
ก่อตั้ง | 1 กันยายน 1247 |
เมืองหลัก | มากาเล |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 2,054.30 ตร.กม. (793.17 ตร.ไมล์) |
ประชากร (30 มิถุนายน ค.ศ. 2022)[2] | |
• ทั้งหมด | 270,984 คน |
• ความหนาแน่น | 130 คน/ตร.กม. (340 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลาซูลาเวซีกลาง) |
เว็บไซต์ | www |
ตานาโตราจา (อักษรโรมัน: Tana Toraja; แปลว่า 'ดินแดนโตราจา' ในภาษาโตราจา) เป็นอำเภอที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อทะเลในจังหวัดซูลาเวซีใต้ ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์โตราจา อำเภอมีขนาด 2,054.30 ตารางกิโลเมตร (793.17 ตารางไมล์) และมีประชากร 221,081 คน ตามสำมะโนปี ค.ศ. 2010 และเพิ่มเป็น 280,794 คน ตามสำมะโนปี ค.ศ. 2020[3] รัฐบาลท้องถิ่นมีที่ทำการอยู่ในเมืองมากาเล ส่วนศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมโตราจาอยู่ที่เมืองรันเตปาโอ เดิมทีโตราจามีพื้นที่ใหญ่ และในปี ค.ศ. 2008 ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองอำเภอ คือตานาโตราจาและโตราจาเหนือซึ่งมีเมืองหลักคือเมืองรันเตปาโอ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ระบบรัฐบาลท้องถิ่นในชาวโตราจาเริ่มมีจากการปกครองของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ตามกฎหมายฉุกเฉินหมายเลข 3/1957 (Emergency Law No. 3 of 1957) ได้มีคำสั่งให้จัดตั้งอำเภอระดับสอง (District Level II) ในชื่อตานาโตราจา ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 โดยมีผู้ว่าการอำเภอ (Regent of the Regional Head) คนแรกชื่อลากิตตา (Lakitta)[4]
คำสั่งผู้ว่าการเขตปกครองระดับแรกซูลาเวซีในเ ปมายเลข 954/XI/1998 (Decree of the Governor of the First Level Region of South Sulawesi Number 954/XI/1998) ซึ่งลงนามประกาศใช้ในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1998 กำหนดให้ตานาโตราจามี 9 ตำบลอาณาเขตชัดเจน (definitive sub-districts), 6 ตำบลผู้แทน (representative sub-districts), 22 ตำบล และ 63 หมู่บ้าน จากนั้นหลังประกาศใช้กฎหมายหมายเลข 22/1999 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น (Law No. 22/1999 on Regional Government) กับข้อกำหนดภูมิภาคหมายเลข 18 (Regional Regulation No. 18) จากปี ค.ศ. 2000 ประกาศใช้เมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ตำบลผู้แทนทั้ง 6 เปลี่ยนสถานะเป็นตำบลอาณาเขตชัดเจนแทน[4]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ตานาโตราจาตั้งอยู่ตรงกลางของเกาะซูลาเวซี 300 กิโลเมตรจากเมืองหลักของจังหวัดซูลาเวซีใต้ซึ่งคือมากัสซาร์ ตานาโตราจาตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 2°–3° ใต้ และลองติจูด 119°–120° ตะวันออก (จุดกลาง: 3°S 120°E / 3°S 120°E) พื้นที่ของอำเภออยู่ที่ 2,054.30 กม.2 คิดเป็น 4.4% ของจังหวัด พื้นที่ของตานาโตราจาส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลต่ำสุดที่ 150 เมตร และสูงสุดที่ 3,083 เมตรจากระดับน้ำทะเล[5]
ประชากรศาสตร์
[แก้]ชนเผ่าดั้งเดิมของตานาโตราจาคือชาวโตราจา ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาของจังหวัดซูลาเวซีใต้ มีการประมาณประชากรของชาวโตราจาอยู่ที่ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้มี 500,000 คนโดยประมาณ ที่อาศัยอยู่ในอำเภอตานาโตราจา, อำเภอโตราจาเหนือ และอำเภอมามาซา ชาวโตราจาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ บางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม และศาสนาวิญญาณนิยมของท้องถิ่นที่เรียกว่าอาลุกโตโดโล (Aluk Todolo) ปัจจุบันรัฐบาลอินโดนีเซียให้การรับรองศาสนาพื้นถิ่นอาลุกโตโดโลในฐานะส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดู[6]
คำว่าโตราจามาจากภาษาบูกิซว่า "to riaja" แปลว่า "คนที่อาศัยในดินแดนข้างบน" ("people who live in the land above") ในปี ค.ศ. 1909 รัฐบาลอาณานิคมชาวดัตช์เรียกกลุ่มชนนี้ว่า "โตราจา" ชนเผ่าโตราจาเป็นที่รู้จักมากจากพิธีศพที่โดดเด่น บ้านพื้นถิ่นที่เรียกว่าตงโกนัน และงานแกะสลักไม้[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Kabupaten Tana Toraja Dalam Angka 2020" (ภาษาอินโดนีเซีย). 20 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2020.
- ↑ "Visualisasi Data Kependudukan - Kementerian Dalam Negeri 2022" (Visual). www.dukcapil.kemendagri.go.id. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2022.
- ↑ Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
- ↑ 4.0 4.1 "Sejarah Singkat Terbentuknya Kabupaten Tana Toraja dan Toraja Utara" (ภาษาอินโดนีเซีย). 26 มกราคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2021.
- ↑ "Official Tana Toraja website" (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2005.
- ↑ 6.0 6.1 "Kabupaten Toraja Utara" (ภาษาอินโดนีเซีย). 21 มกราคม 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คู่มือการท่องเที่ยว Tana Toraja จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ
- Toraja Treasures.com – ข้อมูลออนไลน์ของโตราจา
- Rural Tana Toraja Region: Photo Essay