อาหารซานมารีโน
หน้าตา
อาหารซานมารีโน เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอิตาลีอย่างสูง เพราะเป็นนครรัฐขนาดน้อย ไม่มีทางออกสู่ทะเล และมีพรมแดนติดกับประเทศอิตาลีทุกด้าน[1][2] อาหารซานมารีโนจะคล้ายคลึงกับอาหารอิตาลีในแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาและมาร์เค ซานมารีโนมีผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเกษตร ได้แก่ ชีส ไวน์ และปศุสัตว์ โดยเฉพาะการทำชีส ถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของประเทศ[3][4] ซานมารีโนเคยเข้าร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าระดับโลก ค.ศ. 1889 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยจัดซุ้มนิทรรศการสามแห่ง มีผลิตภัณฑ์คือน้ำมันและชีส[5]
อาหารคาว
[แก้]อาหารคาวประจำถิ่น ได้แก่
- ฟาโจลีกอนเลโกตีเก (fagioli con le cotiche) เป็นซุปถั่วและเบคอนในวันคริสตสมภพ
- ปัสตาเอเชชี (pasta e ceci) เป็นซุปเส้นพาสตา ใส่ถั่วหัวช้าง กระเทียม และโรสแมรี
- นีดีดีรอนดีเน (nidi di rondine) เป็นพาสตาอบกับแฮมรมควัน ชีส เนื้อวัว ซอสมะเขือเทศ หรือเป็นเนื้อกระต่ายย่างกับยี่หร่าฝรั่ง[1][6][7]
- แอร์บัซโซเน (erbazzone) ทำจากผักโขมใส่ชีสและหัวหอม[6]
ส่วน เปียดา (piada) เป็นอาหารที่พบได้ในบอร์โกมัจโจเร เป็นขนมปังแบนใส่ไส้ ซึ่งคล้ายกับเปียดีนา (piadina) ซึ่งเป็นขนมปังใส่ไส้ของแคว้นเอมีเลีย-โรมัญญาในประเทศอิตาลีซึ่งอยู่ติดกัน
อาหารหวาน
[แก้]อาหารหวานประจำถิ่นได้แก่
- ตอร์ตาเตรมอนตี (torta Tre Monti "เค้กสามภูเขา") เป็นเค้กเวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลต ชื่อเค้กตั้งตามสามหอคอยแห่งซานมารีโน[1][2]
- ตอร์ตาตีตาโน (torta Titano) เป็นขนมเป็นชั้น ทำจากบิสกิต เฮเซลนัต ช็อกโกแลต ครีม และกาแฟ ชื่อขนมได้แรงบันดาลใจจากเขาตีตาโน
- บุสเตรงโก (bustrengo) เป็นเค้กวันคริสต์มาส ทำจากน้ำผึ้ง ถั่ว และผลไม้แห้งต่าง ๆ[1][8]
- แวร์เรตตา (verretta) เป็นขนมเป็นชั้น ทำจากเฮเซลนัต พราลีน และเวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลต
- กัชชาเตลโล (cacciatello) เป็นขนมหวานทำจากนม น้ำตาล และไข่ คล้ายกับแครมการาแมล
- ซุปปาดีชีลีเอเจ (zuppa di ciliegie) เป็นเชอร์รีตุ๋นไวน์แดงหวาน เสิร์ฟบนขนมปังขาว[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 World and Its Peoples. World and Its Peoples: Europe. Marshall Cavendish Reference. 2010. p. 855. ISBN 978-0-7614-7893-5. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.
- ↑ 2.0 2.1 "San Marino: A small, fairy tale land". The Jakarta Post. March 7, 2017. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.
- ↑ San Marino Business Law Handbook: Strategic Information and Laws. International Business Publications USA. 2013. p. 42. ISBN 978-1-4387-7092-5. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Cuhaj, G.S.; Michael, T. (2011). Coins of the World: Italy, San Marino, Vatican. F+W Media. p. 159. ISBN 978-1-4402-3139-1. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Reports of the United States Commissioners to the Universal Exposition of 1889 at Paris. Vol. IV. U.S. Secretary of State / Government Printing Office. สืบค้นเมื่อ 2017-10-26.
- ↑ 6.0 6.1 Minahan, J. (2009). The Complete Guide to National Symbols and Emblems [2 Volumes]. ABC-CLIO. p. 509. ISBN 978-0-313-34497-8. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.
- ↑ "San Marino". Culture of San Marino. November 16, 2007. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.
- ↑ Roufs, T.G.; Roufs, K.S. (2014). Sweet Treats around the World: An Encyclopedia of Food and Culture: An Encyclopedia of Food and Culture. ABC-CLIO. p. 198. ISBN 978-1-61069-221-2. สืบค้นเมื่อ October 26, 2017.
- ↑ Warmbein, Christiane. "A Taste of Europe". Europe & Me. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 26, 2017. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 26, 2017.