อารี ไกรนรา
อารี ไกรนรา | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565 (2 ปี 266 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเเรงงาน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ.2566 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | พิพัฒน์ รัชกิจประการ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มกราคม พ.ศ. 2496 |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2565 - ปัจจุบัน) |
อารี ไกรนรา เป็นนักการเมืองชาวไทยและเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ ในปี 2562 สังกัดพรรคเพื่อชาติ เป็นอดีตหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[1] ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลสถานีโทรทัศน์พีทีวี อดีตหัวหน้าฝ่ายแนะแนวนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ประวัติ
[แก้]อารี ไกรนรา เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2496 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต (สังคมศึกษา) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) จากมหาวิทยาลัยเกริก
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 ของพรรคเพื่อชาติ[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าว
อารี ลาออกจากพรรคเพื่อชาติ และตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย (ภจท.) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565[3] โดยเขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อีกทั้งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของพรรคประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[4] และลงสมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของ ภจท. ในลำดับที่ 19[5] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แดงพรึ่บเมืองคอนยินดี'อารีย์ ไกรนรา'
- ↑ เปิด 10 ลำดับแรกผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคชาติ ฮือฮาหัวหน้าการ์ดนปช.มีลุ้นเข้าสภาฯ
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์ พรรคเพื่อชาติ)
- ↑ "พูดแล้วทำ! 'อารี ไกรนรา'นำทีมภูมิใจไทย เปิดเวที'เหลียวหน้าแลหลัง พัฒนาบ้านเรา'". naewna.com. 2022-12-25.
- ↑ ""ภูมิใจไทย" เปิด 98 รายชื่อผู้รับสมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ "อนุทิน" ลำดับที่ 1". Thai PBS.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2496
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อชาติ
- พรรคภูมิใจไทย
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- บุคคลจากวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.