อารยธรรมอิทรัสคัน
อิทรัสคัน Rasenna Rasna | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
1200 ก.ค.ศ.–550 ก.ค.ศ. | |||||||
ภูมิภาคของอารยธรรมอิทรัสคันและเมืองสิบสองเมืองในสมาพันธรัฐ | |||||||
สถานะ | สมาพันธรัฐ | ||||||
เมืองหลวง | เวลซนา - (ออร์วิเอโต) | ||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอิทรัสคัน | ||||||
ศาสนา | ลัทธิเพกันแบบอิทรัสคัน | ||||||
ลูคุม | |||||||
• ไม่ทราบปี | ไทเรนัส | ||||||
• ไม่ทราบปี | ทาร์คอน | ||||||
สภานิติบัญญัติ | สันนิบาตอิทรัสคัน | ||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคโบราณ | ||||||
1200 ก.ค.ศ. 1200 ก.ค.ศ. | |||||||
• กลืนไปกับชาวโรมันโบราณ | 550 ก.ค.ศ. 550 ก.ค.ศ. | ||||||
|
อารยธรรมอิทรัสคัน (อังกฤษ: Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) [1] ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อิทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) [2] ชาวอิทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) [3]
ชาวอิทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอิทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย[4] กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอิทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอิทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช
อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอิทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอิทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอิทรัสคันก็สิ้นสุดลง[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ According to Félix Gaffiot's Dictionnaire Illustré Latin Français, Tusci was used by the major authors of the Roman Republic: Livy,Cicero, Horace, etc. A number of cognate words developed: Tuscia, Tusculanensis, etc. This was clearly the major word used for things Etruscan. Etrusci and Etrūria were used less often, mainly by Cicero and Horace, and without cognates. According to the Online Etymological Dictionary, the English use of Etruscan dates from 1706.
- ↑ Gaffiot's.
- ↑ Rasenna comes from Dionysius of Halicarnassus I.30.3. The syncopated form, Rasna, is inscriptional and is inflected. The topic is covered in Pallottino, page 133. Some inscriptions, such as the cippus of Cortona, feature the Raśna (pronounced Rashna) alternative, as is described in Gabor Z. Bodroghy's site, The Palaeolinguistic Connection, under Origins เก็บถาวร 2008-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ A good map of the Italian range and cities of the culture at the beginning of its history can be found at [1], the mysteriousetruscans.com site. The topic of the "League of Etruria" is covered in Freeman, pages 562-565. The league in northern Italy is mentioned in Livy, Book V, Section 33. The passage also identifies the Raetii as a remnant of the 12 cities "beyond the Apennines." The Campanian Etruscans are mentioned (among many sources) by Polybius, (II.17). The entire subject with complete ancient sources in footnotes was worked up by George Dennis in his Introduction. In the LacusCurtius transcription, the references in Dennis's footnotes link to the texts in English or Latin; the reader may also find the English of some of them on WikiSource or other Internet sites. As the work has already been done by Dennis and Thayer, the complete work-up is not repeated here.
- ↑ Cary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28. 3rd Ed. 1979. ISBN 0-312-38395-9.
ดูเพิ่ม
[แก้]- อารยธรรมกรีก
- Philipp Ammon: Ruma Rasna – Die etruskischen Wurzeln Roms. http://www.academia.edu/28000848/Ruma_Rasna_Die_etruskischen_Wurzeln_Roms