ข้ามไปเนื้อหา

อาบรัม ชปีรอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาบรัม (อับราฮัม) ชปีรอ (โปแลนด์: Abram (Abraham) Szpiro; ค.ศ. 1912, เซโกโว พวกโกเวอนอเรต จักรวรรดิรัสเซีย — 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943, ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์) เป็นผู้เชี่ยวชาญหมากรุกสากลชาวโปแลนด์

เขาเกิดในจักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโปแลนด์) เขาย้ายไปอยู่กับครอบครัวของเขาที่เมืองวุช เขาได้คะแนนเสมอกันสำหรับอันดับ 7 และ 8 (ค.ศ. 1930), อันดับ 4 ร่วมกัน (ค.ศ. 1931) และได้อันดับ 6 (ค.ศ. 1933 และ 1934) ในการแข่งชิงแชมป์นครวุช เขาเป็นตัวแทนของวุชในการแข่งทีมหมากรุกสากลชิงแชมป์ประเทศโปแลนด์ครั้งที่ 2 ที่กาตอวิตแซใน ค.ศ. 1934 [1] ชปีรอได้รับรางวัลเหรียญทองจากประเภทบุคคลในที่บอร์ดสี่ โดยเป็นฝ่ายชนะไอแซก เชคเตอร์, เลออน ตวน-บารานอฟสกี และเฮนริก ฟรีดมัน ฯลฯ และชนะราวัลเหรียญเงินในประเภททีม

ในปี ค.ศ. 1934/35 เขาได้อันดับ 2 ที่ปอซนัญ และชนะการแข่งที่พอซนานใน ค.ศ. 1935 และในปีเดียวกันนี้ เขาได้คะแนนเสมอกันสำหรับอันดับ 2 ถึง 5 ที่วุช รวมถึงได้คะแนนเสมอกันสำหรับอันดับ 6 และ 7 ที่วอร์ซอ (หมากรุกสากลชิงแชมป์ประเทศโปแลนด์ครั้งที่ 3 ซึ่งชนะโดยซาเวียลลี ตาร์ตาโกเวอร์),[2] ชนะที่ตแชนสตอคอวาใน ค.ศ. 1936, ได้คะแนนเสมอกันสำหรับอันดับ 7 และ 8 ที่ยูราตาใน ค.ศ. 1937 (ระหว่างประเทศ, ชิงแชมป์ประเทศโปแลนด์ครั้งที่ 4 ซึ่งตาร์ตาโกเวอร์เป็นฝ่ายชนะการแข่ง),[3] ได้อันดับ 2 (ค.ศ. 1937) และได้อันดับ 4 ร่วมกัน (ค.ศ. 1939) ในรายการชิงแชมป์เมืองวุช

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาอาศัยอยู่ในวุชและวอร์ซอ เขาได้อันดับ 2 ต่อจากเฮนริก โปโกเรียวี ที่การแข่งวอร์ซอเกตโตในเดือนกุมภาพันธ์—เมษายน ค.ศ. 1942 และในตอนต้นปี ค.ศ. 1943 เขาถูกจับในเกตโต โดยถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันนาซีและถูกสังหารในค่ายกักกันเอาช์วิทซ์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Jubileusz 80 -lecia Śląskiego Związku Szachowego" (ภาษาโปแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2012-09-08.
  2. "III Szachowe Mistrzostwa Polski Warszawa 1935". Szachowe Mistrzostwa Polski (ภาษาโปแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ 2012-09-08.
  3. "IV Szachowe Mistrzostwa Polski Jurata 1937". Szachowe Mistrzostwa Polski (ภาษาโปแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-05. สืบค้นเมื่อ 2012-09-08.
  4. Tadeusz Wolsza, Arcymistrzowie, mistrzowie, amatorzy... Słownik biograficzny szachistów polskich, tom 3, Wydawnictwo DiG, Warszawa 1999