โคม่า
โคม่า (Coma) | |
---|---|
ภาพผู้ป่วยคนหนึ่งที่อยู่ในอาการโคม่า | |
สาขาวิชา | Neurology, psychiatry |
อาการ | Unconsciousness |
ภาวะแทรกซ้อน | Persistent vegetative state, death |
ระยะดำเนินโรค | Can vary from a few days to several years (longest recorded is 42 years) |
โคม่า (อังกฤษ: Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ[1] ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (อังกฤษ: induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว[2] โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS)[3][4] ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้
เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน
ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง[5] หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า
คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก[6]
ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น[7]
พยากรณ์โรค
[แก้]ผู้ป่วยอาจอยู่ในภาวะโคม่าได้นานหลายวันถึงหลายสัปดาห์ บางครั้งหากกรณีรุนแรงอาจอยู่ในภาวะโคม่านานถึงห้าสัปดาห์ มีรายงานผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่านานหลายปี เมื่อพ้นช่วงนี้ไปแล้วผู้ป่วยบางรายค่อยๆ มีอาการดีขึ้น พ้นจากภาวะโคม่า หรือแย่ลงจนตกอยู่ในสภาพผัก หรือเสียชีวิต ผู้ป่วยบางรายอยู่ในสภาพผักนานหลายปีหรือหลายสิบปี (มีรายงานว่าผู้ป่วยอยู่ในสภาพผักนานที่สุด 42 ปี)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ความหมายคำว่า "โคม่า". พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ Bordini, A.L.; Luiz, T.F.; Fernandes, M.; Arruda, W. O.; Teive, H. A. (2010). "Coma scales: a historical review". Arquivos de neuro-psiquiatria. 68 (6): 930–937. doi:10.1590/S0004-282X2010000600019. PMID 21243255.
- ↑ Hannaman, Robert A. (2005). MedStudy Internal Medicine Review Core Curriculum: Neurology 11th Ed. MedStudy. pp. (11–1) to (11–2). ISBN 1-932703-01-2.
- ↑ "Persistent vegetative state: A medical minefield". New Scientist: 40–3. July 7, 2007. See diagram เก็บถาวร 2017-08-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Young, G.B. (2009). "Coma". Ann. N. Y. Acad. Sci. 1157 (1): 32–47. Bibcode:2009NYASA1157...32Y. doi:10.1111/j.1749-6632.2009.04471.x.
- ↑ "Coma Origin". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
- ↑ โคม่า คืออะไร เก็บถาวร 2014-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. วิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไท
- ↑ Edwarda O’Bara, who spent 4 decades in a coma, dies at 59 Read more here: http://www.miamiherald.com/2012/11/22/3109800/edwarda-obara-who-spent-4-decades.html#storylink=cpy