อัสแซสซินส์ครีด วัลฮัลลา
อัสแซสซินส์ครีด วัลฮัลลา | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ยูบิซอฟต์ มอนทรีออล[a] |
ผู้จัดจำหน่าย | ยูบิซอฟต์ |
กำกับ |
|
อำนวยการผลิต | จูเลียน ลาแฟรีแยร์ |
ออกแบบ | โยฮัน คาซัวซ์ |
โปรแกรมเมอร์ | โกลด์ ล็องแกล |
ศิลปิน | ราฟาแอล ลาโกสต์ |
เขียนบท | ดาร์บี แมกเดวิต |
แต่งเพลง | |
ชุด | อัสแซสซินส์ครีด |
เอนจิน | ยูบิซอฟต์ แอนวิล |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย | |
แนว | แอ็กชันเล่นตามบทบาท |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว |
อัสแซสซินส์ครีด วัลฮัลลา (อังกฤษ: Assassin's Creed Valhalla) เป็นวิดีโอเกมประเภทแอ็กชันเล่นตามบทบาทที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยยูบิซอฟต์ มอนทรีออล และเผยแพร่โดยยูบิซอฟต์ เป็นภาคใหญ่อันดับที่สิบสองในชุดอัสแซสซินส์ครีด และเป็นภาคที่สืบมาจากอัสแซสซินส์ครีด โอดิสซี ที่ถูกปล่อยออกมาในปี 2561 ท้องเรื่องในเกมนี้อยู่ในช่วงคริสต์ศักราช 872 ถึง 878 โดยตัวเกมเล่าเรื่องราวสมมติในระหว่างการขยายดินแดนของไวกิงเข้าสู่เกาะอังกฤษ ผู้เล่นรับบทบาทเป็นเอโวร์ วารินโดตตีร์ ผู้จู่โจมชาวไวกิงที่พยายามสร้างเผ่าไวกิงใหม่ในอังกฤษ และได้เข้าไปผัวพันกับความขัดแย้งที่มีมาอย่างยาวนานหลายศตวรรษ ระหว่างกลุ่มภารดรภาพแห่งอัสแซสซินส์ผู้ซึ่งต่อสู้เพื่อสันติภาพและเสรีภาพ และอัศวินเทมพลาร์ผู้ซึ่งปรารถนาสันติภาพโดยการควบคุมและครอบงำ[c] ส่วนเนื้อเรื่องยุคปัจจุบันมีท้องเรื่องอยู่ในศตวรรษที่ 21 และดำเนินเรื่องโดยไลลา แฮสซัน สมาชิกกลุ่มอัสแซสซินส์ที่ย้อนเวลากลับไปศึกษาความทรงจำของเอโวร์ เพื่อหาวิธีกอบกู้โลกจากการถูกทำลาย
การพัฒนาเกมเริ่มต้นขึ้นในปี 2560 ช่วงประมาณการเปิดตัวเกมอัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์ โดยมียูบิซอฟต์ มอนทรีออลเป็นผู้นำการพัฒนาต่อมาอีกเป็นเวลาสามปี โดยการช่วยเหลือจากสตูดิโออื่น ๆ อีก 14 แห่งทั่วโลกของยูบิซอฟต์รวมถึงสเปราซอฟต์ โดยมีผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกมในชุดอัสแซสซินส์ครีดจำนวนมากที่ร่วมในการพัฒนาภาควัลฮัลลา รวมไปถึงอัชราฟ อิสมาอิล[b] ผู้ซึ่งเคยรับหน้าที่ผู้กำกับศิลป์ของเกมอัสแซสซินส์ครีด 4: แบล็กแฟล็ก (2556) และเกมภาคออริจินส์, ดาร์บี แมกเดวิต ผู้เขียนบทในภาคแบล็กแฟล็ก และอัสแซสซินส์ครีด: เรฟเวอเลชันส์ (2554) และผู้ร่วมเขียนบทในอัสแซสซินส์ครีด ยูนิตี (2557) และยังมีเยสเปอร์ คึดและซาราห์ แชชเนอร์ ผู้แต่งเพลงของเกมร่วมกับไอนาร์ เซลวิค ในทำนองเดียวกันกับภาคออริจินส์ และ โอดิสซี ทีมงานได้ศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาท้องเรื่องของเกม เพื่อทำให้โลกของเกมมีความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และยังได้รับแรงบัลดาลใจจากตำนานเทพนอร์สมาเป็นองค์ประกอบบางอย่างในการเล่าเรื่องด้วย ทีมงานยังพยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบในภาคโอดิสซีด้วย เช่น ความยากจนเกินไป การให้ความสนใจในความขัดแย้งระหว่างอัสแซสซินและเทมพลาส์ที่น้อยเกินไป และการขาดองค์ประกอบในเกมอัสแซสซินส์ครีดดั้งเดิม เช่น การแอบในหมู่ชน (social stealth)
วัลฮัลลา ถูกเผยแพร่ลงในไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4 เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์และซีรีส์เอส และสตาเดีย ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 และในรุ่นเพลย์สเตชัน 5 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ตัวเกมได้รับการวิจารณ์เชิงบวกโดยทั่วไป โดยได้รับการยกย่องในด้านการเล่าเรื่อง ตัวละคร การพากย์เสียง ภาพ เพลงประกอบ การออกแบบโลกในเกม และการเชื่อมโยงระหว่างกันของกิจกรรม ในขณะที่ถูกวิพากษ์ในด้านความยาวของเกม ปัญหาด้านเทคนิค และโครงสร้างเกมที่ซ้ำเดิม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งในช่วงแรกในหมู่ผู้เล่น ในแง่ของการจัดลำดับความสำคัญด้านธุรกรรมไมโครทรานแซกชันในมุมของยูบิซอฟต์มากกว่าการอัปเดตเกมด้วย เกมในภาคนี้มีการเปิดตัวยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาซีรีส์อัสแซสซินส์ครีด โดยมียอดจำหน่ายมากที่สุดภายในสัปดาห์แรก และกลายเป็นเกมที่ทำกำไรให้กับยูบิซอฟต์มากที่สุดตลอดกาลอันดับที่สอง ยูบิซอฟต์ยังมีการสนับสนุนภาควัลฮัลลา ด้วยเนื้อหาดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้หลายรายการ รวมถึงส่วนขยายเนื้อเรื่องแบบชำระเงิน 3 ส่วน กิจกรรมต่าง ๆ ในเกม และโหมด Discovery Tour พร้อมไกด์นำผู้เล่นสำรวจโลกแห่งอังกฤษยุคกลางและนอร์เวย์เพื่อจุดประสงค์ด้านการศึกษา
การเล่น
[แก้]ในวัลฮัลลา ผู้เล่นจะได้รับบทบาทเป็นเอโวร์ (นอร์สเก่า: Eivor)[4] ผู้นำโจมตีของชาวไวกิง ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกเล่นตัวเอโวร์นี้ได้ทั้งเป็นเพศชาย (พากย์เสียงโดยแมกนัส บรูน)[5] และเพศหญิง (พากย์เสียงโดยซีซิลี สเตนสพิล)[5] และยังสามารถเลือกทรงผม warpaint เสื้อผ้า และเสื้อเกราะได้[6] การต่อสู้ถูกเปลี่ยนเพื่อให้ถืออาวุธคู่ใดก็ได้[7] นอกจากนี้ยังคาดว่า "อีเกิลอาย" (Eagle Eye) จะกลับมาในรูปแบบของนกเรเวนซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของเอโวร์ในเกมด้วย โดยผู้เล่นสามารถใช้นกเรเวนในการสอดแนมพื้นที่ใกล้เคียงเช่นเดียวกับนกที่ปรากฏอยู่ในภาคก่อนหน้าทั้งออริจินส์และโอดิสซี[8] ตัวเกมจะพึ่งพาระบบการเลเวลแบบดั้งเดิมน้อยลง และมุ่งเน้นไปที่การเลือกทักษะผ่านสกิลทรีโดยความก้าวหน้าของตัวละครเอโวร์ตลอดเกมมากขึ้น ซึ่งศัตรูจะถูกจัดอันดับตามทักษะรวม[7] ผู้เล่นสามารถเลือกตัวเลือกผ่านการสนทนาหรือตัวเลือกของเกม ซึ่งจะมีผลต่อตัวละครและพันธมิตรทางการเมืองและตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุมอื่น ๆ[7]
ความเด่นชัดกลางของเกมคือระบบการตั้งถื่นฐานที่ผู้เล่น ในฐานะเอโวร์ จะช่วยสร้างและเป็นผู้นำในระหว่างเกม อัชราฟ อิสมาอิล ผู้อำนวยการสร้างระบุถึงความสำคัญของระบบดังกล่าวว่า "สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ภายในเกม ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านั้นจะกลับเข้าสู่ถิ่นฐาน ซึ่งสามารถเติบโตขึ้นและเจริญรุ่งเรืองขึ้นได้" ผู้เล่นยังสามารถควบคุมการก่อสร้างอาคารบางประเภทเพื่อประโยชน์ในการเล่นเกมได้ด้วย โดยในการก่อสร้างโครงสร้างเหล่านั้น ผู้เล่นจำเป็นต้องนำทัพไวกิงออกไปบุกปล้นเพื่อรวบรวมทรัพยากร[9] การต่อสู้ทางทะเลก็จะกลับมาเช่นกัน แม้ว่าเรือที่ใช้จะมีความเร็วมากกว่าเพื่อเดินทาง ซึ่งจะถูกใช้เมื่อทำการปล้นหรือหลบหนีหลังจากการรบทางบกแล้ว มากกว่าจะโจมตีเรือลำอื่น[8][10]
แม้วัลฮัลลาจะเป็นเกมผู้เล่นเดี่ยว แต่จะประกอบด้วยองค์ประกอบออนไลน์ เพื่อจุดประสงค์ในการสนับสนุนให้ผู้เล่นแบ่งปันความก้าวหน้าและความคิดสร้างสรรค์ของตน[8]
สมมติฐาน
[แก้]ในช่วง ค.ศ. 873 เอโวร์นำชาวไวกิงจากนอร์เวย์ไปตั้งถื่นฐานในอังกฤษยุคกลางเป็นส่วนหนึ่งของการรุกรานของไวกิงทั่วยุโรป ทำให้เกิดความขัดแย้งกับอาณาจักรของชาวแองโกล-แซกซันที่นำโดยพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ เกมจะมีทั้งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย และราชอาณาจักรเมอร์เซีย[9][11] เกมดังกล่าวจะดำเนินต่อในส่วนของเนื้อเรื่องสมัยปัจจุบัน ที่ไลลา แฮสซัน อดีตนักวิจัยของบริษัทแอบสเตอร์โกอินดัสทรี ซึ่งปรากฏอยู่ในอัสแซสซินส์ครีด ออริจินส์ และโอดิสซี และความขัดแย้งระหว่างเทมพลาร์และเหล่าอัสแซสซินส์ที่เชื่อมโยงชุดเกมนี้เข้าด้วยกันด้วย[9][7][c]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ คณะทำงานเสริม ได้แก่ ยูบิซอฟต์ เกแบ็ก, ยูบิซอฟต์ สิงคโปร์, ยูบิซอฟต์ โซเฟีย, ยูบิซอฟต์ บาร์เซโลนา, ยูบิซอฟต์ มงเปอลีเย, ยูบิซอฟต์ เฉิงตู, ยูบิซอฟต์ บอร์โด, ยูบิซอฟต์ เคียฟ, ยูบิซอฟต์ ฟิลิปปินส์, ยูบิซอฟต์ เซี่ยงไฮ้, ยูบิซอฟต์ บูคาเรสต์, ยูบิซอฟต์ ปูเณ, ยูบิซอฟต์ ซากูเนย์, ยูบิซอฟต์ วินนิเพก และ สเปราซอฟต์[1]
- ↑ 2.0 2.1 อิสมาอิลลงจากตำแหน่งในฐานะผู้กำกับศิลป์ในเดือนมิถุนายน 2563 เนื่องด้วยข้อกล่าวหาเรื่องคบชู้และต่อมาได้ถูกไล่ออกจากบริษัทยูบิซอฟต์[2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อgi 25 things
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อismail step down
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อismail fired
- ↑ Assassin's Creed Valhalla: Developer Commentary Trailer | Ubisoft [NA]. Ubisoft North America. 30 April 2020. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 1 minute, 21 seconds. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
- ↑ 5.0 5.1 Makuch, Eddie (April 30, 2020). "Assassin's Creed Valhalla's Two Eivor Actors Have Been Revealed". GameSpot. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
- ↑ Bailey, Dustin (April 30, 2020). "Assassin's Creed Valhalla has gender options because "women are equally formidable in battle"". PCGamesN. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Juba, Joe. "Answers To Our Biggest Questions About Assassin's Creed Valhalla". Game Informer (ภาษาอังกฤษ). Gameinformer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-14. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Phillips, Tom (April 30, 2020). "Assassin's Creed Valhalla reshapes the series' RPG storytelling by giving you a Viking settlement". Eurogamer (ภาษาอังกฤษ). Eurogamer. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Dornbush, Jonathon (April 30, 2020). "Assassin's Creed Valhalla Gameplay, Story Details Revealed". IGN. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
- ↑ Gartenberg, Chaim (April 29, 2020). "Assassin's Creed Valhalla is Assassin's Creed with vikings". The Verge (ภาษาอังกฤษ). The Verge. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.
- ↑ Ramée, Jordan. "Assassin's Creed Valhalla's Storytelling Is "Very Unique," Says Dev". GameSpot. GameSpot. สืบค้นเมื่อ April 30, 2020.