อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์
อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศกาตาร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 เมษายน ค.ศ. 2007 – 18 มกราคม ค.ศ. 2011 | |
กษัตริย์ | ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี |
นายกรัฐมนตรี | ฮะมัด บิน ญะซิม |
ก่อนหน้า | ฮะมัด บิน ญะซิม |
ถัดไป | อะห์มัด บิน อับดุลละห์ อัล มะห์มูด |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มกราคม ค.ศ. 1999 – 18 มกราคม ค.ศ. 2011 | |
กษัตริย์ | ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี |
นายกรัฐมนตรี | ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี ฮะมัด บิน ญะซิม |
ก่อนหน้า | คาลิด บิน ฮะมัด |
ถัดไป | โมฮัมเหม็ด ซาเลห์ อัล ซาดา |
ดำรงตำแหน่ง 28 มีนาคม ค.ศ. 1992 – 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 | |
นายกรัฐมนตรี | เคาะลีฟะฮ์ บิน ฮะมัด |
ก่อนหน้า | จัสซิม บิน ฮะมัด |
ถัดไป | คาลิด บิน ฮะมัด |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | โดฮา ประเทศกาตาร์ | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1952
ศาสนา | อิสลาม |
อับดุลละห์ บิน ฮะมัด อัล อัตติยาห์ (/əbˈdʌlə bɪn ˈhɑːməd æl ˈɑːtiːjə/ əb-dul-ə-_-bin; อาหรับ: عبدالله بن حمد العطية; ค.ศ. 1951 – ) เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศกาตาร์และหัวหน้าศาลของเอมีร์
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]อัตติยาห์เกิดในปี ค.ศ. 1951 หรือ 1952[1][2] ในปี ค.ศ. 1976 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ด้วยวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี[2]
ผลงานในระดับอาชีพ
[แก้]อัตติยาห์เริ่มต้นอาชีพในปี ค.ศ. 1972 ร่วมกับกระทรวงการคลังและปิโตรเลียมแห่งประเทศกาตาร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 ถึง 1986 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการประชาสัมพันธ์ที่กระทรวง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ถึง 1989 ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานรัฐมนตรี และจากปี ค.ศ. 1989 ถึง 1992 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและปิโตรเลียม ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1992 ถึงมกราคม ค.ศ. 2011 อัตติยาห์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม[3][4] เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1999 เขายังรับผิดชอบด้านไฟฟ้าและน้ำในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้รวมเข้ากับกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม[5] เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2003 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สองและเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2007 เข้าดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[3][4] เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 2011 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของอะมิรี ดีวาน ในช่วงหลังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งช่วงดังกล่าว ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงานของเขาได้รับการแทนที่โดยโมฮัมเหม็ด ซาเลห์ อัล ซาดา
ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 อัตติยาห์เป็นผู้อำนวยการกัลฟ์เฮลิคอปเตอร์คอร์ปอเรชัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 ถึง 1995 เขาดำรงตำแหน่งรองประธานคิวเทล ตั้งแต่ ค.ศ. 1986 เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริษัทกัลฟ์แอร์เวย์สคอร์ปอเรชัน และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เป็นผู้อำนวยการกาตาร์ปิโตรเลียม[3][4]
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 อัตติยาห์ได้รับเลือกเป็นประธานโอเปก และเป็นสมาชิกคณะกรรมการโควตาของโอเปก[5] เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ในการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่แปด ของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกแก๊ส ณ กรุงโดฮา เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานขององค์กร[6][7][8] แม้ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกแก๊สได้เห็นโดยผู้เชี่ยวชาญบางคนในฐานะที่เป็นความพยายามในการจัดทำ 'แก๊ส-โอเปค' อัตติยาห์ก็ไม่ยอมรับการรวมกลุ่มเพื่อผูกขาดทางธุรกิจที่เหมือนกับโอเปก[9]
ในปี ค.ศ. 2011 อัตติยาห์ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของอดีตเอมีร์ ฮะมัด อัษษานี และเป็นประธานการควบคุมดูแลและความโปร่งใสแห่งประเทศกาตาร์[1]
ในช่วงการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติประจำปี พ.ศ. 2555 ที่กรุงโดฮา อัตติยาห์ได้ทำหน้าที่เป็นประธาน[10]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]ในปี ค.ศ. 2007 สำนักข่าวกรองบริติชปิโตรเลียมในกรุงลอนดอนได้เลือกอัตติยาห์เป็นผู้ชายแห่งปี ในสาขาการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮโดรคาร์บอน[11]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อัตติยาห์แต่งงานและมีลูกหกคน ความสนใจของเขาคือการอ่านหนังสือ, ตกปลา และวิทยุสื่อสาร[3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "H.E. Abdullah bin Hamad Al Attiyah - Bio" (PDF). UNFCC. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
- ↑ 2.0 2.1 "H.E. Abdullah bin Hamad Al Attiyah". Qatar Museums Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2013. สืบค้นเมื่อ 17 August 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Ministry of Energy and Industry". Ministry of Foreign Affairs of Qatar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2002. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "HE Abdullah bin Hamad Al Attiyah" (PDF). OPEC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 July 2010. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 5.0 5.1 "Abdullah Bin Hamad Al Attiya". APS Diplomat Operations in Oil Diplomacy. 30 October 2000. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ Baxter, Kevin (2 July 2009). "Qatar energy chief says UAE to join gas forum". Arabian Oil and Gas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-25. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ Daya, Ayesha; Tuttle, Robert (30 June 2009). "Gas Producers Count on Oil-Linked Contracts in Qatar". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ Medetsky, Anatoly (1 July 2009). "Russia Fails to Offer Gas Candidate". The Moscow Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ Prosser, David (10 April 2007). "Gas exporters rule out a cartel, but opt for joint efforts on pricing". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2 July 2009.
- ↑ Harrabin, Roger (8 December 2012). "UN climate talks extend Kyoto Protocol, promise compensation". BBC News. สืบค้นเมื่อ 8 December 2012.
- ↑ "Qatar becomes largest LNG producer: Attiyah". The Peninsula. 9 พฤษภาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2011. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.