อันวัร อัสซาดาต
อันวัร อัสซาดาต | |
---|---|
أنور السادات | |
อัสซาดาตใน ค.ศ. 1980 | |
ประธานาธิบดีอียิปต์ คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 ตุลาคม 1970 – 6 ตุลาคม 1981 รักษาการ: 28 กันยายน – 15 ตุลาคม 1970 | |
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ
|
รองประธานาธิบดี | ดูรายชื่อ
|
ก่อนหน้า | ญะมาล อับดุนนาศิร |
ถัดไป | ศูฟี อะบู ฏอลิบ (รักษาการ) ฮุสนี มุบาร็อก |
นายกรัฐมนตรีอียิปต์ คนที่ 37 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤษภาคม 1980 – 6 ตุลาคม 1981 | |
ประธานาธิบดี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | มุศเฏาะฟา เคาะลีล |
ถัดไป | ฮุสนี มุบาร็อก |
ดำรงตำแหน่ง 26 มีนาคม 1973 – 25 กันยายน 1974 | |
ประธานาธิบดี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | อะซีซ ศิดกี |
ถัดไป | อับดุลอะซีซ มุฮัมมัด ฮิญาซี |
รองประธานาธิบดีอียิปต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม 1969 – 14 ตุลาคม 1970 | |
ประธานาธิบดี | ญะมาล อับดุนนาศิร |
ก่อนหน้า | ฮุซัยน์ อัชชาฟิอี |
ถัดไป | อะลี ศ็อบรี |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ 1964 – 26 มีนาคม 1964 | |
ประธานาธิบดี | ญะมาล อับดุนนาศิร |
ก่อนหน้า | ฮุซัยน์ อัชชาฟิอี |
ถัดไป | ซะกะริยา มุห์ยิดดีน |
ประธานสภาแห่งชาติอียิปต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม 1960 – 20 มกราคม 1969 | |
ประธานาธิบดี | ญะมาล อับดุนนาศิร |
ก่อนหน้า | อับดุลละฏีฟ อัลบัฆดาดี |
ถัดไป | Mohamed Labib Skokeir |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต محمد أنور السادات 25 ธันวาคม ค.ศ. 1918 อัลมุนูฟียะฮ์ รัฐสุลต่านอียิปต์ |
เสียชีวิต | 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981 ไคโร ประเทศอียิปต์ | (62 ปี)
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร |
ที่ไว้ศพ | อนุสรณ์สถานทหารนิรนาม |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์แห่งชาติ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | สหภาพสังคมนิยมอาหรับ |
คู่สมรส |
|
บุตร | 7 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | อียิปต์ |
สังกัด | กองทัพหลวงอียิปต์ กองทัพอียิปต์ |
ประจำการ | 1938–1952 |
ยศ | พันเอก (ขณะดำรงตำแหน่ง) จอมพล (กิตติมศักดิ์) |
มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต (อาหรับ: محمد أنور السادات; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1918 – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981) เป็นนักการเมืองและนายทหารชาวอียิปต์ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์คนที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1970 จนกระทั่งถูกลอบสังหารจากนายทหารฝ่ายมูลฐานนิยมในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981 อัสซาดาตเป็นสมาชิกอาวุโสของเจ้าหน้าที่เสรีที่โค่นล้มพระเจ้าฟารูกในการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 และเป็นคนสนิทของประธานาธิบดี ญะมาล อับดุนนาศิร ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสองครั้ง และขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1970 จากนั้นใน ค.ศ. 1978 อัสซาดาตกับเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพในความร่วมมือกับจิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึงทำให้พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 11 ปี เขาเปลี่ยนแปลงเส้นทางของอียิปต์ด้วยการละทิ้งจากหลักการทางการเมืองและเศรษฐกิจของลัทธิอันนาศิรหลายประการ จัดตั้งระบบหลายพรรคการเมืองใหม่ และดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอินฟิตาห์ เขานำอียิปต์ในสงครามยมคิปปูร์ใน ค.ศ. 1973 เพื่อยึดคืนคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ที่อิสราเอลครอบครองตั้งแต่สงครามหกวันใน ค.ศ. 1967 ทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษในอียิปต์และโลกอาหรับเพียงชั่วครู่ หลังจากนั้น เขามีส่วนในการเจรจากับอิสราเอลที่นำไปสู่การทำสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์–อิสราเอล ทำให้เขากับเมนาเฮมได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งทำให้อัสซาดาตกลายเป็นมุสลิมคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล แม้ว่าปฏิกิริยาต่อสนธิสัญญาที่นำไซนายกลับคืนสู่อียิปต์โดยทั่วไปเป็นที่นิยมในชาวอียิปต์[3] สนธิสัญญานี้ถูกปฏิเสธจากอิควานัลมุสลิมีนในประเทศและฝ่ายซ้ายที่รู้สึกว่าอัสซาดาตล้มเลิกความพยายามในการรับรองรัฐปาเลสไตน์[3] นอกจากประเทศซูดานแล้ว โลกอาหรับและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) คัดค้านความพยายามของอัสซาดาตที่จะสร้างสันติภาพต่างหากกับอิสราเอลอย่างมากโดยไม่ปรึกษาหารือล่วงหน้ากับรัฐอาหรับ[3] การที่เขาปฏิเสธที่จะไกล่เกลี่ยในเรื่องปัญหาปาเลสไตน์ของประเทศเหล่านั้น ทำให้อียิปต์ถูกถูกระงับสถานะสมาชิกสันนิบาตอาหรับใน ค.ศ. 1979 ถึง 1989[4][5][6][7] สนธิสัญญาสันติภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่นำไปสู่การลอบสังหารตัวเขา ณ วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981 ฝ่ายทหารที่นำโดยคอลิด อัลอิสลามบูลี เปิดฉากยิงอัสซาดาตด้วยปืนไรเฟิลอัตโนมัติในช่วงพาเหรดวันที่ 6 ตุลาคมในไคโร ทำให้เขาเสียชีวิต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Finklestone, Joseph (2013), Anwar Sadat: Visionary Who Dared, Routledge, ISBN 978-1-135-19565-6,
Significantly, Anwar Sadat did not mention aspects in his early life...It was in Mit Abul-Kum that Eqbal Afifi, the woman who was his wife for ten years and whom he left, was also born. Her family was of higher social standing than Anwar's, being of Turkish origin...
- ↑ Serrieh, Joanne (9 July 2021). "Jehan Sadat, wife of late Anwar Sadat, dies after short battle with illness: Reports". Al Arabiya English (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 March 2024.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Peace with Israel".
- ↑ Graham, Nick (21 August 2010). "Middle East Peace Talks: Israel, Palestinian Negotiations More Hopeless Than Ever". HuffPost. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
- ↑ Vatikiotis, P. J. (1992). The History of Modern Egypt (4th edition ed.). Baltimore: Johns Hopkins University. p. 443.
- ↑ "The Failure at Camp David – Part III Possibilities and pitfalls for further negotiations". Textus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2012. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
- ↑ "Egypt and Israel Sign Formal Treaty, Ending a State of War After 30 Years; Sadat and Begin Praise Carter's Role". The New York Times.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Avner, Yehuda (2010). The Prime Ministers: An Intimate Narrative of Israeli Leadership. The Toby Press. ISBN 978-1-59264-278-6.
- Berenji, Shahin. "Sadat and the Road to Jerusalem: Bold Gestures and Risk Acceptance in the Search for Peace." International Security 45.1 (2020): 127–163.
- Eidelberg, Paul (1979). Sadat's Strategy. Dollard des Ormeaux: Dawn Books. ISBN 978-0-9690001-0-5.
- Finklestone, Joseph. Anwar Sadat: visionary who dared (Routledge, 2013). biography.
- Haykal, Muhammad Hasanayn (1982). Autumn of Fury: The Assassination of Sadat. Wm Collins & Sons & Co. ISBN 978-0-394-53136-6.
- Hurwitz, Harry; Medad, Yisrael (2010). Peace in the Making. Gefen Publishing House. ISBN 978-965-229-456-2.
- Israeli, Raphael. "Sadat: The Calculus of War and Peace." The Diplomats, 1939–1979 (Princeton University Press, 2019) pp. 436–458. online
- Meital, Yoram (1997). Egypt's Struggle for Peace: Continuity and Change, 1967–1971. Gainesville: University Press of Florida. ISBN 978-0-8130-1533-0.
- Waterbury, John (1983). The Egypt of Nasser and Sadat: The Political Economy of Two Regimes (Limited ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-07650-8.
- Wright, Lawrence (2006). The Looming Tower: Al-Qaeda and the Road to 9/11. New York: Knopf. ISBN 978-0-375-41486-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Bibliotheca Alexandrina, Front Page เก็บถาวร 2012-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ben-Gurion on Anwar Sadat Wanting Peace, 1971 Shapell Manuscript Foundation
- Anwar Sadat Chair for Peace and Development at the University of Maryland
- Remarks at the Presentation Ceremony for the Presidential Medal of Freedom – March 26, 1984 เก็บถาวร 18 กันยายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อันวัร อัสซาดาต ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- อันวัร อัสซาดาต ข่าวสารและความเห็นที่ผ่านการรวบรวมในเดอะนิวยอร์กไทมส์
- Free Egyptians Point of View About Sadat's Assassination (ในภาษาอาหรับและอังกฤษ) (Internet Archive)
- ภาพยนตร์สั้น Anwar Sadat (1976) สามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่อินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์
- Sadat Movie (Produced in 1983) – Banned from the Middle East because of some historical mistakes.
- Anwar al-Sadat ที่ Nobelprize.org
ก่อนหน้า | อันวัร อัสซาดาต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จิมมี คาร์เตอร์ | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1977) |
เติ้งเสี่ยวผิง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2461
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2524
- บุคคลจากไคโร
- ประธานาธิบดีอียิปต์
- ผู้นำในสงครามเย็น
- นักการเมืองอียิปต์
- มุสลิมนิกายซุนนีชาวอียิปต์
- บุคคลจากเขตผู้ว่าการอัลมุนูฟียะฮ์
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
- ชาวอียิปต์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- นักการเมืองที่ถูกลอบสังหาร
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์