มุฮัมมัด มุรซี
มุฮัมมัด มุรซี | |
---|---|
محمد مرسى | |
ภาพถ่ายทางการ ค.ศ. 2012 | |
ประธานาธิบดีอียิปต์คนที่ 5 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012 – 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 | |
นายกรัฐมนตรี | กะมาล อัลกันซูรี ฮิชาม ก็อนดีล |
รองประธานาธิบดี | มะห์มูด มักกี |
ก่อนหน้า | มุฮัมมัด ฮุซัยน์ ฏ็อนฏอวี (รักษาการแทน) |
ถัดไป | อัดลี มันศูร (รักษาการแทน) |
เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012 – 2 สิงหาคม ค.ศ. 2012 | |
ก่อนหน้า | มุฮัมมัด ฮุซัยน์ ฏ็อนฏอวี |
ถัดไป | มะห์มูด อะห์มะดีเนจาด |
ประธานพรรคเสรีภาพและยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 เมษายน ค.ศ. 2011 – 24 มิถุนายน ค.ศ. 2012 | |
ก่อนหน้า | ตำแหน่งที่จัดตั้งขึ้น |
ถัดไป | ซะอัด อัลกะตาตนี |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอียิปต์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม ค.ศ. 2000 – 12 ธันวาคม ค.ศ. 2005 | |
ก่อนหน้า | นุอ์มาน ญุมะอะฮ์ |
ถัดไป | มะห์มูด อะบาเซาะฮ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | จังหวัดอัชชัรกียะฮ์, อียิปต์ | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1951
เสียชีวิต | 17 มิถุนายน ค.ศ. 2019 |
ศาสนา | อิสลาม (ซุนนี) |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีภาพและยุติธรรม |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | อิควานมุสลิมีน |
คู่สมรส | นัจญ์ลาอ์ มะห์มูด (ค.ศ. 1979–ปัจจุบัน) |
บุตร | 5 คน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยไคโร มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย |
ลายมือชื่อ | |
มุฮัมมัด มุรซี อีซา อัลอัยยาฏ (อาหรับ: محمد مرسى عيسى العياط; อังกฤษ: Muhammad Morsi Isa al-Ayyat; (8 สิงหาคม ค.ศ. 1951 – 17 มิถุนายน ค.ศ. 2019) เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]มุรซีเกิดในภาคเหนือของอียิปต์ เขาได้รับวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไคโรใน ค.ศ. 1975 และ 1978 ตามลำดับ ภายหลังจากนั้น เขาก็ได้รับวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียที่สหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1982 และเขาได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย นอร์ทริดจ์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1982 ถึง 1985 เขากลับไปยังอียิปต์อีกครั้งเพื่อการสอนที่มหาวิทยาลัยซากาซิก[1]
ประธานาธิบดีแห่งประเทศอียิปต์
[แก้]มุรซีเข้าสาบานตนในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ในฐานะประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยของประเทศอียิปต์เป็นครั้งแรก[2]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มุรซีสมรสกับนัจญ์ลาอ์ อะลี มะห์มูด ซึ่งมีรายงานว่าเธอไม่ประสงค์ที่จะได้รับการอ้างถึงในฐานะ "สตรีหมายเลขหนึ่ง" แต่เรียกเป็น "ผู้รับใช้หมายเลขหนึ่ง [แห่งปวงชนชาวอียิปต์]" แทน[3] ลูก ๆ สองในห้าคนของมุรซีเกิดในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นพลเมืองสหรัฐฯ โดยกำเนิด[4]
รางวัล
[แก้]- ในการเยือนประเทศปากีสถานครั้งแรกของเขา มุฮัมมัด มุรซี ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปากีสถาน ณ อิสลามาบาด ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2013 ในการยอมรับถึงความสำเร็จและคุณูปการของเขาที่มีต่อการส่งเสริมสันติภาพ รวมถึงความสามัคคีที่มีอยู่ในโลก ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ต่อประเทศมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศปากีสถาน[5][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Interview with Mohamed Morsi". Al-Jazeera. 29 January 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2012-07-02.
- ↑ "Mohamed Morsi sworn in as Egypt's first popularly-elected president". CNN. 30 June 2012. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
- ↑ "Morsi's wife prefers 'first servant' to first lady". Globe and Mail. 2012-06-28.
- ↑ "Newsmaker: Egypt's Morsy goes from prisoner to president". Reuters. 24 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-24. สืบค้นเมื่อ 2012-07-02.
- ↑ "NUST awards honourary doctorate degree to Egyptian President Mohamed Morsi". 18 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2013.
- ↑ "Morsi gets an honourary doctorate". 18 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2013.
บรรณานุกรม
[แก้]- Hussein, Abdel-Rahman (18 June 2012). "Mohamed Morsi claims victory for Muslim Brotherhood in Egypt election". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
- Aneja, Atul (30 May 2012). "Egypt's Islamists seek 'grand coalition' with liberals, minorities". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
- "Morsy demands Okasha be banned from TV". Egypt Independent. May 30, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-31. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.