ข้ามไปเนื้อหา

อะเชะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมาชิกสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของพม่า แต่งกายในชุดโลนจีอะเชะ

อะเชะ (အချိတ်; [ʔət͡ɕʰeɪʔ]) หรือ ลู่นตะยา อะเชะ (လွန်းတစ်ရာအချိတ်) เป็นชื่อของลวดลายผ้าพื้นเมืองพม่า มีลักษณะเป็นลายลอนคลื่นที่สลับซับซ้อนแถบแนวนอน ที่ประดับด้วยการออกแบบคล้ายลายอาหรับ ลู่นตะยา (လွန်းတစ်ရာ; [lʊ́ɴtəjà]) ซึ่งแปลตรงตัวว่า "กระสวยร้อยอัน" สื่อถึงกระบวนการที่ต้องใช้เวลามาก มีราคาแพงและซับซ้อน ซึ่งต้องใช้กระสวย 50 ถึง 200 อัน แต่ละอันมีสีผ้าไหมที่ต่างกัน[1][2] การทอผ้าต้องใช้แรงงานคนมาก โดยต้องใช้ช่างทออย่างน้อยสองคนจัดการกระสวยเพื่อให้ได้รูปแบบคล้ายเกลียวคลื่น[3]

ชุด อะเชะ ทะเมียน สำหรับสตรี

อะเชะ มักใช้เป็นสิ่งทอสำหรับ ปาโซ ของผู้ชาย และ ทะเมียน ของผู้หญิง รูปแบบสีใน อะเชะ มักใช้สีที่ตัดกันเพื่อสร้างเอฟเฟกต์ ศิลปะเชิง 3 มิติ[3] รูปแบบสำหรับผู้ชายมักเป็นลวดลายซิกแซก หรือลวดลายที่ประสานกันง่ายกว่า ในขณะที่สำหรับผู้หญิงจะผสมผสานลายเกลียวคลื่นเข้ากับการตกแต่งแบบอาหรับ เช่น ลวดลายดอกไม้หรือไม้เลื้อย[3]

การผลิต

[แก้]

เมืองอมรปุระและวู่น-ดวี่น ยังคงเป็นศูนย์กลางการทอผ้า อะเชะ แบบดั้งเดิมในประเทศ แม้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะมีการเลียนแบบจากโรงงานที่มีราคาถูกกว่าจากจีน และ อินเดีย ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอแบบดั้งเดิมของพม่าอย่างมาก[4]

ต้นกำเนิด

[แก้]

การทอผ้า อะเชะ มีต้นกำเนิดที่อมรปุระ ใกล้กับเจดีย์ปะโท่ดอจี้[5] ชื่อ อะเชะ อาจมาจากชื่อของย่านที่ช่างทออาศัยอยู่ และเชะด้าน (လက်ချိတ်တန်း) คำนี้เคยถูกเรียกมาก่อน ไวก์ (ဝိုက်) ซึ่งหมายถึงลวดลายทอซิกแซก[5]

แม้ว่าบางแหล่งอ้างว่ารูปแบบ อะเชะ ได้รับมาจากช่างทอผ้ามณีปุระช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ไม่มีสิ่งทอของมณีปุระที่เทียบเคียงลักษณะคล้ายกับ อะเชะ[3] รูปแบบคล้ายคลื่นอาจได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (เช่น คลื่น เมฆ พืชและสัตว์พื้นเมือง)[5] ลวดลาย อะเชะ พบได้ในเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุย้อนกลับไปถึงนครรัฐปยู เช่นเดียวกับภาพวาดฝาผนังของวัดที่มีอายุย้อนกลับไปถึงสมัยอาณาจักรพุกาม[3] ของขวัญบรรณาการที่มอบให้กับราชสำนักพม่าอาจเป็นแหล่งบันดาลใจเพิ่มเติมด้วย[5] สิ่งทอดังกล่าวได้รับความนิยมในสมัยราชวงศ์โก้นบอง ซึ่งมีกฎหมายป้องกันความฟุ่มเฟือย ควบคุมว่าใครสามารถสวมเสื้อผ้า อะเชะ ได้[6] รูปแบบ อะเชะ สวมใส่โดยราชวงศ์ เจ้าหน้าที่ และผู้ติดตามเท่านั้น[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Green, Gillian (2012-05-25). "Verging on Modernity: A Late Nineteenth-Century Burmese Painting on Cloth Depicting the Vessantara Jataka". Journal of Burma Studies. 16 (1): 79–121. doi:10.1353/jbs.2012.0000. ISSN 2010-314X. S2CID 162846149.
  2. "Silk acheik-luntaya | V&A Search the Collections". collections.vam.ac.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Green, Alexandra (2008). Eclectic Collecting: Art from Burma in the Denison Museum (ภาษาอังกฤษ). NUS Press. ISBN 978-9971-69-404-3.
  4. Lynn, Kyaw Ye (26 January 2019). "Weavers of traditional textiles in Mandalay unite". Frontier Myanmar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Hardiman, John Percy (1901). Silk in Burma (ภาษาอังกฤษ). superintendent, Government printing, Burma.
  6. "The Tradition of Acheik Weaving in Myanmar – ICHCAP" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-28. สืบค้นเมื่อ 2020-03-28.