ข้ามไปเนื้อหา

ปีแห่งความเศร้าโศก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปีแห่งความเศร้าโศก (อาหรับ: عام الحزن, อักษรโรมัน: ‘Ām al-Ḥuzn) ในวัฒนธรรมอิสลามนั้น คือปีที่เคาะดีญะฮ์และอบูฏอลิบ ภรรยากับลุงของศาสดามุฮัมมัดเสียชีวิตในปีค.ศ.619[1][2]

การเสียชีวิตของเคาะดีญะฮ์

[แก้]

เคาะดีญะฮ์ ภรรยาคนแรกของมุฮัมหมัดเสียชีวิตในปีค.ศ. 619 ขณะที่เธอมีอายุ 65 ปี[1] ตอนที่มุฮัมมัดมีอายุเกือบ 50 ปี และเธอเสียชีวิตไม่นานหลังจากยกเลิกคว่ำบาตรกับตระกูลของมุฮัมมัด[1]ซึ่งรวมถึงการค้าให้กับครอบครัวของมุฮัมมัด[3]

การเสียชีวิตของอบูฏอลิบ

[แก้]

อบูฏอลิบ ผู้เป็นลุงและหัวหน้าเผ่าบนูฮาชิม เป็นคนที่รับเลี้ยงมุฮัมมัด (ตอนนี้เป็นเด็กกำพร้า) ตั้งแต่อับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของมุฮัมมัดเสียชีวิต[4] ในฐานะเป็นหัวหน้าเผ่า เขาจึงปกป้องมุฮัมมัด แม้กระทั่งเขาชวนให้ชาวกุเรชให้เข้ารับอิสลาม[5] พวกเขาจะไม่กล้าโจมตีเพราะเขาได้รับความคุ้มครองอยู่[5]

อบูฏอลิบรู้สึกป่วยหลังจากเคาะดีญะฮ์เสียชีวิต[1] ก่อนที่อบูฏอลิบจะเสียชีวิต มุฮัมมัดขอให้เขาพูดชาฮาดะฮ์[6] อัล-อับบาสที่นั่งอยู่ใกล้เห็นเขาขยับริมฝีปาก และบอกว่าเขาได้บอกชาฮาดะฮ์แล้ว แต่มุฮัมมัดกล่าวว่าเขาไม่ได้ยิน[7]

หลังจากอบูฏอลิบเสียชีวิตแล้ว มุฮัมมัดจึงของให้อัลลอฮ์อภัยให้กับลุงของเขาด้วย แต่ตามรายงานในประวัติศาสตร์อิสลาม มุฮัมมัดได้รับโองการว่าผู้ศรัทธาไม่สมควรขอพระเจ้าให้อภัยกับผู้ปฏิเสธศรัทธา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นคนในครอบครัวก็ตาม[8][9]

สูญเสียการปกป้อง

[แก้]

การเสียชีวิตของอบูฏอลิบนั่นเป็นจุดที่มุฮัมหมัดไม่ได้รับการปกป้องอีกแล้ว เพราะอบูละฮับไม่อยากปกป้องมุฮัมหมัด[10] และไม่มีใครในเผ่าคอยปกป้องมุฮัมหมัดอีกแล้ว[2] ภายในเวลานี้ สถานการของเขาจึงอยู่ในความเสี่ยง เพราะเขาจะถูกฆ่าโดยไม่มีใครปกป้องได้ทุกเมื่อ[2][8]

ตอนนี้ชาวมักกะฮ์เริ่มทำร้ายมุฮัมหมัดหนักขึ้นและป่าเถื่อนมากขึ้น[10] เนื่องจากมีหลักฐานว่ามีคนเดินผ่านหน้าบ้านพร้อมกับโยนขยะมูลฝอยลงในหม้อต้มอาหารของเขา ส่วนอีกคนโยนมดลูกของแกะผสมกับเลือดและอุจจาระขณะที่มุฮัมหมัดละหมาดอยู่กลางแจ้ง[10] บางคนนำกำมือที่มีดินตีที่หน้าของมุฮัมหมัดขณะที่มาจากกะอ์บะฮ์[10] เมื่อหนึ่งในลูกสาวได้ทำความสะอาดดินที่บ้าน เขาได้บอกกับเธอว่า "พระเจ้าจะปกป้องพ่อเอง" และบอกกับชาวกุเรขว่าพวกเขาทำร้ายมุฮัมหมัดมากขึ้น นับตั้งแต่อบูฏอลิบเสียชีวิต[10][11]

ไปที่เมืองฏออิฟ

[แก้]

เนื่องจากสถานการในมักกะฮ์เริ่มแย่ลง มุฮัมหมัดจึงตัดสินใจไปที่ฏออิฟ[10] เมืองที่ห่างจากมักกะฮ์ไป 100  กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับไปพบกับผู้นำทั้งสามของบนูตากีฟ[10] แล้วเชิญชวนให้เข้ารับอิสลาม[10] แต่พวกเขาปฏิเสธพร้อมกับส่งทาสและบริวารขับไล่ศาสดาออกไป[10] จนมุฮัมหมัดต้องไปหลบภัยที่สวนผลไม้[10] อุตบะฮ์ และชัยบะฮ์พี่น้องเจ้าของสวนผลไม้เห็นแขกเข้ามา จึงส่งอัดดาสทาสจากนิเนเวห์นำองุ่นไปให้เขา[12]

ค้นหาผู้ปกป้องคนใหม่

[แก้]

หลังจากถูกปฏิเสธจากชาวฏออิฟแล้ว มุฮัมมัดคิดอยากจะกลับไปที่มักกะฮ์ แต่กลับไม่ได้ถ้าไม่มีเผ่าไหนคุ้มครอง[13] ดังนั้นมุฮัมมัดจึงส่งจดหมายขอความคุ้มครอง แต่อัคคาส อิบน์ ชารีค ผู้นำของเผ่าบนูซุฮราฮ์และซุฮัยล์ อิบน์ อัมร์ ผู้นำของเผ่าบนูอามีร ปฏิเสธคำขอ[13] โดยมีเหตุผลว่าไม่ใช่เรื่องของอิสลาม แต่เป็นเรื่องของเผ่ามากกว่า อัคคาสบอกว่าเขายังไม่ได้เข้าร่วมกันสมาชิกของเผ่ากุเรชแล้วไม่สามารถปกป้องเขาในชื่อของเผ่าได้[13] ส่วนซุฮัยล์บอกว่าเผ่าของเขาไม่ได้มีบรรพบุรุษมาจากเผ่ากุเรช จึงไม่สามารถปกป้องมุฮัมมัดได้[14]

ต่อมา เขาได้ส่งจดหมายให้กับมุตอิม อิบน์ อะดี หัวหน้าเผ่าบนูเนาฟัล[15] เขาเป็นหนึ่งในห้าชาวมักกะฮ์ที่เสนอให้หยุดการคว่ำบาตรของชาวมักกะฮ์ที่มีต่อเผ่าบนีฮาชิม[15] มุตอิมยอมรับข้อเสนอนี้ และมาพบท่านในวันต่อมาพร้อมกับลูกชายและหลานชาย แล้วนำท่านเข้าไปในมักกะฮ์[15] แล้วมุคอิมกล่าวว่าเขาต้องการยืนยันการปกป้อง[15] อบูญะฮัลจึงบอกกับมุตอิมและครอบครัวของเขาว่า "ใครก็ตามที่เขาปกป้อง สำหรับเขาแล้วจึงได้รับการป้องกัน"[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Lings 2006, p. 98.
  2. 2.0 2.1 2.2 Armstrong 2007, p. 13.
  3. Armstrong 2007, pp. 12–13.
  4. Lings 2006, p. 28.
  5. 5.0 5.1 Lings 2006, p. 55.
  6. Lings 2006, p. 99.
  7. Rubin, Uri (1995). The Eye of the Beholder. Princeton, New Jersey: Darwin Press, Inc. p. 152.
  8. 8.0 8.1 Al-Mubarakpuri 2014, "Abu Talib's Death"
  9. อัลกุรอาน 9:113 (แปลโดย พิกทอลล์)
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 Lings 2006, p. 100.
  11. Al-Mubarakpuri 2014, "The Accumulation of Grief"
  12. Lings 2006, p. 101.
  13. 13.0 13.1 13.2 Lings 2006, p. 102.
  14. Lings 2006, pp. 102–103.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Lings 2006, p. 103.

สารานุกรม

[แก้]