อะบุล กะลาม อาซาด
อะบุล กะลาม อาซาด | |
---|---|
รัฐมนตรีการศึกษาคนแรก | |
ดำรงตำแหน่ง 15 สิงหาคม 1947 – 2 กุมภาพันธ์ 1958 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวาหัรลาล เนหรู |
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง |
ถัดไป | เค แอล ศรีมาลี |
สมาชิกรัฐสภารัฐธรรมนูญอินเดีย | |
ดำรงตำแหน่ง พฤศิจกายน 1946 – 26 มกราคม 1950 | |
ประธานคองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |
ดำรงตำแหน่ง 1923–1924 | |
ก่อนหน้า | โมฮัมมัด อะลี ชาวหัร |
ถัดไป | มหาตมะ คานธี |
ดำรงตำแหน่ง 1940–1946 | |
ก่อนหน้า | ราเชนทร ประสาท |
ถัดไป | เจ บี กรีปาลานี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1888[1] มักกะฮ์ เฮยัซ จักรวรรดิออตโตมัน (ปัจจุบัน ซาอุดิอาระเบีย) |
เสียชีวิต | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 เดลี อินเดีย | (69 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิต | เส้นเลือดในสมองแตก |
ที่ไว้ศพ | มัสยิดจามา เดลี |
พรรคการเมือง | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย |
คู่สมรส | Zulaikha Begum |
อาชีพ | นักเทววิทยา, นักวิชาการ, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง |
รางวัล | ภารตรัตนะ (หลังเสียชีวิต, 1992) |
ลายมือชื่อ | |
อะบุล กะลาม ฆุลาม มุฮิยุดดีน อาห์เมด บิน ไครุดดีน อัล-ฮุสไซนี อาซาด (อักษรโรมัน: Abul Kalam Ghulam Muhiyuddin Ahmed bin Khairuddin Al-Hussaini Azad, (; 11 พฤศจิกายน 1888 – 22 กุมภาพันธ์ 1958) หรือเป็นที่รู้จักสั้น ๆ ว่า เมาลานาอาซาด ( )อักษรโรมัน: Maulana Azad) เป็นนักเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชอินเดีย, นักเทววิทยาอิสลาม, นักเขียน และผู้นำอาวุโสของคองเกรสแห่งชาติอินเดีย หลังอินเดียได้รับเอกราช เขาขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีศึกษาธิการคนแรกของอินเดีย ชื่อ "เมาลานาอาซาด" ของเขามาจากคำว่า "เมาลานา" เป็นคำเรียกนำหน้าเชิงให้เกียรติที่แปลว่า "นายท่าน" ส่วน "อาซาด" (อิสระ) เป็นนามปากกาของเขา เขามีบทบาทสำคัญมากต่อการวางรากฐานการศึกษาในประเทศอินเดีย วันเกิดของเขาได้รับการเฉลิมฉลองเป็นวันการศึกษาแห่งชาติ (National Education Day) ไปทั่วประเทศอินเดีย[2][3]
เมื่อครั้นเป็นหนุ่ม อาซาดเป็นผู้ประพันธ์บทกวีภาษาอูรดู และยังศึกษาปรัชญากับศาสนา เขาเริ่มมีบทบาทมากขึ้นจากการทำงานเป็นนักข่าวและตีพิมพ์ชิ้นงานที่วิจารณ์รัฐบาลของบริติชราชและสนับสนุนแนวคิดชาตินิยมอินเดีย อาซาดได้กลายมาเป็นผู้นำขบวนการกีลาฟัต ที่ซึ่งเขาได้มีโอกาสใกล้ชิดกับมหาตมะ คานธี ต่อมาอาซาดจึงมีความสนใจมากต่อขบวนการดื้อแพ่งของคานธีและทำงานเพื่อจัดการประท้วงโดยขบวนการดื้อแพ่งเพื่อต่อต้านพระราชบัญญัติโรวราตปี 1919 อาซาดวางตนสนับสนุนแนวคิดของคานธี สนับสนุน สวเทศี (ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น) และ สวราช (ปกครองตนเอง) ในปี 1923 เมื่ออายุได้ 35 ปี เขาขึ้นเป็นประธานคองเกรสแห่งชาติอินเดีย เป็นประธานคนที่อายุน้อยที่สุดในตอนนั้น
ในปี 1931 เขามีบทบาทมากในการจัดการธรรสนสัตยเคราะห์ และกลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำการเรียกร้องเอกราชที่โดดเด่นที่สุดในเวลานั้น โดยมีบทบาทเด่นในการชูความสามัคคีระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิม และยังผลักดันแนวคิดแบบฆราวาสนิยมและสังคมนิยม เขายังทำงานให้กับ อัลฮิลาล หนังสือพิมพ์สนับสนุนแนวคิดสามัคคีระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมเช่นกัน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fahad, Obaidullah (2011). "Tracing Pluralistic Trends in Sīrah Literature: A Study of Some Contemporary Scholars". Islamic Studies. 50 (2): 238. JSTOR 41932590.
- ↑ "International Urdu conference from Nov. 10". The Hindu. 7 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2010. สืบค้นเมื่อ 13 April 2012.
- ↑ Chawla, Muhammad (2016). "Maulana Azad and the Demand for Pakistan: A Reappraisal". Journal of the Pakistan Historical Society. 64 (3): 7–24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-30.
- ↑ "Maulana Abul Kalam Azad Biography – Maulana Azad Indian Freedom Fighter – Information on Maulana Azad – History of Maulana Abul Kalam Azad". www.iloveindia.com. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.
บรรณานุกรม
[แก้]- Gandhi, R (1990). Patel: A Life. Navajivan, Ahmedabad.
- Pant, Vijay Prakash (2010). "MAULANA ABUL KALAM AZAD: A Critical Analysis Life and Work". The Indian Journal of Political Science. 71 (4): 1311–1323. ISSN 0019-5510. JSTOR 42748956.
- Qaiyoom, Nishat (2012). "Maulana Azad's Journalistic Crusade Against Colonialism". Proceedings of the Indian History Congress. 73: 678–685. ISSN 2249-1937. JSTOR 44156263.
- Douglas, Ian Henderson (1993). Abul Kalam Azad: An Intellectual and Religious Biography (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-563279-8.