ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิเอากุสตุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ออคตาเวียน)
จักรพรรดิเอากุสตุส
พระบรมราชานุสาวรีย์เอากุสตุสแห่งปรีมาปอร์ตา จากคริสต์ศตวรรษที่ 1
ปฐมจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน
ครองราชย์16 มกราคม 27 ปีก่อน ค.ศ. –
19 สิงหาคม ค.ศ. 14 (40 ปี)
ถัดไปจักรพรรดิติแบริอุส
ประสูติ23 กันยายน 63 ปีก่อน ค.ศ.
โรม, สาธารณรัฐโรมัน
กาอิอุส อ็อกตาวิอุส ทูรินุส
สวรรคต19 สิงหาคม ค.ศ. 14 (75 ปี)
โนลา, อีตาลิอา, จักรวรรดิโรมัน
ฝังพระศพสุสานเอากุสตุส, โรม
คู่อภิเษก
พระนามเต็ม
  • กาอิอุส อ็อกตาวิอุส ทูรินุส
    (ชื่อเกิด จนถึง 44 ปีก่อน ค.ศ.)
  • กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอานุส
    (44–42 ปีก่อน ค.ศ.)
  • กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส
    (42–38 ปีก่อน ค.ศ.)
  • อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส
    (38–27 ปีก่อน ค.ศ.)
  • อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส
    (27 ปีก่อน ค.ศ. จนกระทั่งสวรรคต)
ราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส
พระราชบิดา
พระราชมารดาอาติอา บัลบา ไกโซนิอา
ศาสนาศาสนาโรมันโบราณดั้งเดิม

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (ละติน: IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช ประมาณ 436-1492) เป็นจักรพรรดิโรมันองค์แรก พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาลจนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 14[a] พระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งจักรวรรดิโรมัน และถือเป็น 1 ในผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

จักรพรรดิเอากุสตุสมีชื่อเกิดว่า กาอิอุส อ็อกตาวิอุส ทูรินุส (GAIVS OCTAVIVS THVRINVS) เขามาจากสายขุนนางที่เก่าแก่และมั่งคั่งสายหนึ่งของตระกูลอ็อกตาวิอุสซึ่งเดิมเป็นตระกูลสามัญชน ต่อมา จูเลียส ซีซาร์ (น้องชายของยายของเขา) ถูกลอบสังหารเมื่อ 44 ปีก่อนคริสต์ศักราช ปรากฏว่าอ็อกตาวิอุสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองตามพินัยกรรมของซีซาร์ เขาจึงเปลี่ยนชื่อตามธรรมเนียมโรมันเป็น กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอานุส (GAIVS IVLIVS CAESAR OCTAVIANVS) ไม่นานนักเขาก็ตัดชื่อ "อ็อกตาวิอานุส" ออก และเปลี่ยนชื่ออีกสองครั้งเป็น กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส (GAIVS IVLIVS CAESAR DIVI FILIVS) และ อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS) แต่ระหว่างนี้ นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันยังคงเรียกชื่อเขาอย่างสั้นว่า "อ็อกตาวิอานุส"[2] จนกระทั่งในปีที่ 27 ก่อนคริสต์ศักราช วุฒิสภาโรมันได้ลงคะแนนเสียงถวายพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า เอากุสตุส (AVGVSTVS, แปลว่า "ผู้ได้รับความเคารพนับถือ") ทำให้พระนามอย่างเป็นทางการกลายเป็น อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส นับแต่นั้น

ในปีที่ 43 ก่อนคริสต์ศักราช อ็อกตาวิอานุสเข้าร่วมกองกำลังกับมาร์ก แอนโทนี และมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ในการปกครองระบอบเผด็จการทหารซึ่งรู้จักกันในชื่อคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สอง ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการ ออกเตเวียนมีอำนาจปกครองเหนือโรมและอีกหลายจังหวัดของสาธารณรัฐ แต่ในที่สุดคณะผู้สำเร็จราชการดังกล่าวก็ล่มสลายลงเพราะความทะเยอทะยานของผู้ร่วมคณะทั้งสามเอง แลปิดุสถูกเนรเทศ และแอนโทนีได้ทำอัตวินิบาตกรรมหลังจากความพ่ายแพ้ในยุทธนาวีที่อักติอูงโดยกองเรือของอ็อกตาวิอานุส (ภายใต้บังคับบัญชาของมาร์กุส วิปซานิอุส อากริปปา) ในปีที่ 31 ก่อนคริสต์ศักราช

หลังจากการล่มสลายของคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สอง อ็อกตาวิอานุสได้ฟื้นฟูสาธารณรัฐโรมัน โดยให้อำนาจบริหารอยู่ภายใต้วุฒิสภา แต่ในทางปฏิบัติเขาเป็นผู้ผูกขาดอำนาจเผด็จการไว้แต่เพียงผู้เดียว อ็อกตาวิอานุสใช้เวลาหลายปีเพื่อพัฒนาโครงสร้างที่ชัดเจนที่ซึ่งสาธารณรัฐจะสามารถอยู่ภายใต้การนำของผู้นำเพียงคนเดียวได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งผลที่ได้กลายมาเป็นจักรวรรดิโรมัน ตำแหน่งจักรพรรดิมิใช่ตำแหน่งอย่างผู้เผด็จการโรมันที่ซีซาร์และซุลลาเคยรับตำแหน่งมาก่อนหน้านี้ ด้วยเขาได้ยุบตำแหน่งดังกล่าวเมื่อมหาชนโรมัน "ยอมรับให้เขามีอำนาจเผด็จการ"[3] ตามกฎหมาย เอากุสตุสทรงมีอำนาจหลายประการที่มีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพโดยได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา รวมไปถึงตริบูนุสของสภาสามัญชนและเกงซอร์ พระองค์ทรงเป็นกงสุลจนกระทั่งปีที่ 23 ปีก่อนคริสต์ศักราช[4] พระราชอำนาจสำคัญของพระองค์มาจากความสำเร็จทางการเงินและทรัพยากรซึ่งได้รับระหว่างการสงคราม การสร้างระบบอุปถัมภ์ตลอดทั้งจักรวรรดิ ความจงรักภักดีของนายทหารและทหารผ่านศึกจำนวนมาก อำนาจซึ่งได้รับจากวุฒิสภา[5] และความเคารพจากประชาชน การที่พระองค์ควบคุมกองทัพโรมันส่วนใหญ่ได้ถือเป็นภัยติดอาวุธที่อาจใช้คุกคามวุฒิสภา โดยทำให้พระองค์สามารถบีบบังคับการตัดสินใจของวุฒิสภาได้ และด้วยความสามารถในการกำจัดคู่แข่งในวุฒิสภาโดยการใช้กำลัง วุฒิสภาที่เหลือจึงยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ การปกครองด้วยระบบอุปถัมภ์ อำนาจทางการทหาร และการสะสมตำแหน่งในระบบสาธารณรัฐเดิมได้กลายมาเป็นรูปแบบการปกครองสำหรับจักรพรรดิในเวลาต่อมา

หมายเหตุ

[แก้]
  1. The dates of his rule are contemporary dates; Augustus lived under two calendars, the Roman Republican until 45 BC and the Julian calendar after 45 BC. Due to departures from Julius Caesar's intentions, Augustus finished restoring the Julian calendar in March AD 4 and the correspondence between the proleptic Julian calendar and the calendar observed in Rome is uncertain before 8 BC.[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Blackburn & Holford-Strevens 2003, pp. 670–671.
  2. Jo-Ann Shelton, As the Romans Did (Oxford University Press, 1998), 58.
  3. Gruen (2005), 35.
  4. Dio (1987), 153.
  5. Eck (2003), 3.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bivar, A.D.H. (1983). "The Political History of Iran Under the Arsacids," in The Cambridge History of Iran (Vol 3:1), 21–99. Edited by Ehsan Yarshater. London, New York, New Rochelle, Melbourne, and Sydney: Cambridge University Press. ISBN 0-521-20092-X.
  • Blackburn, Bonnie & Holford-Strevens, Leofranc. (1999). The Oxford Companion to the Year. Oxford University Press. Reprinted with corrections 2003.
  • Bourne, Ella. "Augustus as a Letter-Writer," Transactions and Proceedings of the American Philological Association (Volume 49, 1918): 53–66.
  • Bowersock, G. W. (1990). "The Pontificate of Augustus". ใน Kurt A. Raaflaub and Mark Toher (eds.) (บ.ก.). Between Republic and Empire: Interpretations of Augustus and his Principate. Berkeley: University of California Press. pp. 380–394. ISBN 0-520-08447-0. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Brosius, Maria. (2006). The Persians: An Introduction. London & New York: Routledge. ISBN 0-415-32089-5 (hbk).
  • Bunson, Matthew. (1994). Encyclopedia of the Roman Empire. New York: Facts on File Inc. ISBN 0-8160-3182-7
  • Chisholm, Kitty and John Ferguson. (1981). Rome: The Augustan Age; A Source Book. Oxford: Oxford University Press, in association with the Open University Press. ISBN 0-19-872108-0
  • Dio, Cassius. (1987) The Roman History: The Reign of Augustus. Translated by Ian Scott-Kilvert. London: Penguin Books. ISBN 0-14-044448-3.
  • Eck, Werner; translated by Deborah Lucas Schneider; new material by Sarolta A. Takács. (2003) The Age of Augustus. Oxford: Blackwell Publishing (hardcover, ISBN 0-631-22957-4; paperback, ISBN 0-631-22958-2).
  • Eder, Walter. (2005). "Augustus and the Power of Tradition," in The Cambridge Companion to the Age of Augustus (Cambridge Companions to the Ancient World), ed. Karl Galinsky, 13–32. Cambridge, MA; New York: Cambridge University Press (hardcover, ISBN 0-521-80796-4; paperback, ISBN 0-521-00393-8).
  • Everitt, Anthony (2006) Augustus: The Life of Rome's First Emperor. Random House Books. ISBN 1400061288.
  • Green, Peter (1990). Alexander to Actium: The Historical Evolution of the Hellenistic Age. Hellenistic Culture and Society. Berkeley, CA; Los Angeles; London: University of California Press. ISBN 0-520-05611-6 (hbk.); ISBN 0-520-08349-0 (pbk.). {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  • Gruen, Erich S. (2005). "Augustus and the Making of the Principate," in The Cambridge Companion to the Age of Augustus (Cambridge Companions to the Ancient World), ed. Karl Galinsky, 33–51. Cambridge, MA; New York: Cambridge University Press (hardcover, ISBN 0-521-80796-4; paperback, ISBN 0-521-00393-8).
  • Kelsall, Malcolm. "Augustus and Pope," The Huntington Library Quarterly (Volume 39, Number 2, 1976): 117–131.
  • Mackay, Christopher S. (2004). Ancient Rome: A Military and Political History. Cambridge University Press. ISBN 0521809185.
  • Scott, Kenneth. "The Political Propaganda of 44–30 B.C." Memoirs of the American Academy in Rome, Vol. 11, (1933), pp. 7–49.
  • Scullard, H. H. (1982) [1959]. From the Gracchi to Nero: A History of Rome from 133 B.C. to A.D. 68 (5th ed.). London; New York: Routledge. ISBN 0415025273.
  • Shaw-Smith, R. "A Letter from Augustus to Tiberius," Greece & Rome (Volume 18, Number 2, 1971): 213–214.
  • Shotter, D.C.A. "Tiberius and the Spirit of Augustus," Greece & Rome (Volume 13, Number 2, 1966): 207–212.
  • Southern, Pat. (1998). Augustus. London: Routledge. ISBN 0-415-16631-4.
  • Starr, Chester G., Jr. "The Perfect Democracy of the Roman Empire," The American Historical Review (Volume 58, Number 1, 1952): 1–16.
  • Syme, Ronald (1939). The Roman Revolution. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-280320-4 (pbk.). {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
  • Rowell, Henry Thompson. (1962). The Centers of Civilization Series: Volume 5; Rome in the Augustan Age. Norman: University of Oklahoma Press. ISBN 0-8061-0956-4
ก่อนหน้า จักรพรรดิเอากุสตุส ถัดไป
สถาปนาตำแหน่ง จักรพรรดิโรมัน
(27 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 14)
จักรพรรดิติแบริอุส