อรุณ ทวาทศิน
อรุณ ทวาทศิน | |
---|---|
ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 | |
ก่อนหน้า | พลตรี เอื้อม จิรพงศ์ |
ถัดไป | พลตรี พัฒน์ อุไรเลิศ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กันยายน พ.ศ. 2465 อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 26 มีนาคม พ.ศ. 2520 (54 ปี) วชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[1] |
สาเหตุการเสียชีวิต | ถูกพลเอกฉลาด หิรัญศิริยิงเสียชีวิต |
คู่สมรส | จำลอง กาญจนกุญชร (สมรส 2491) |
บุตร | 1 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2520 |
ยศ | พลเอก |
บังคับบัญชา | กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (2) กองพลทหารราบที่ 9 กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ |
ผ่านศึก | สงครามมหาเอเซียบูรพา สงครามเวียดนาม |
พลเอก อรุณ ทวาทศิน (17 กันยายน พ.ศ. 2465 – 26 มีนาคม พ.ศ. 2520) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, สมาชิกวุฒิสภา และราชองครักษ์เวร เป็นนายทหารชั้นนายพลที่เสียชีวิตในการก่อกบฏ 26 มีนาคม พ.ศ. 2520
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พลเอก อรุณ ทวาทศิน[2] เกิดวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2465 เกิดที่ตำบลสุริยวงศ์ อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ พันโท หลวงเลขกิจสุนทร (บั้ม ทวาทศิน) และสร้อย เลขกิจสุนทร
พลเอก อรุณ ทวาทศิน ได้สมรสกับจำลอง ทวาทศิน (สกุลเดิม กาญจนกุญชร) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2491 และธิดา 1 คน คือ ลานทิพย์ ทวาทศิน
การศึกษา
[แก้]พลเอก อรุณ เรียนจากโรงเรียนหลายแห่ง แต่ได้ไปเรียนที่โรงเรียนหอวัง จบการศึกษาในชั้นมัธยมปีที่ 6 และต่อมาไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารบก และโรงเรียนนายร้อยทหารบกจนจบหลักสูตร และศึกษาต่อวิชาด้านการทหาร ดังนี้[2][3]
- พ.ศ. 2496 : หลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับกองร้อย โรงเรียนทหารราบ
- พ.ศ. 2499 : หลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับกองพัน โรงเรียนทหารราบ
- พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2509 : หลักสูตรประจำชุดที่ 40 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
- พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2512 : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 14
การทำงาน
[แก้]พลเอก อรุณ ทวาทศิน จบออกมารับราชการ เป็น นายร้อยตรี เมื่อปี พ.ศ. 2488 ในตำแหน่งเป็นผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 15 พลออก อรุณ เป็นทหารที่เจริญเติบโตมาในราชการเป็นอย่างดี ถึงปี พ.ศ. 2496 ก็ได้ยศเป็น พันตรี ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และอรุณ มาได้ยศเป็น พันเอก ในปี พ.ศ. 2505 เมื่อครั้งที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นอีก 10 ปีต่อมาในสมัยที่จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี อรุณก็ได้รับการเลื่อนยศขึ้นเป็น พลตรี ในปี พ.ศ. 2515 ครั้นถึงปี พ.ศ. 2518 ท่านได้ตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ที่มีหน้าที่สำคัญในการดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร[3][2]
พลเอก อรุณ ทวาทศิน ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น[2]
ราชการทหาร
[แก้]- พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2513 : ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2513 : ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2 กองพลทหารอาสาสมัคร
- พ.ศ. 2513 – พ.ศ. 2515 : รองผู้บัญชาการกองพลที่ 9
- พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2518 : ผู้บังคับบัญชากองพลที่ 9[4]
- พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2520 : ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[5]
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2499, พ.ศ. 2514 : ราชองครักษ์เวร[6][7]
- พ.ศ. 2502 : สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[8]
- พ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2514 : สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 3[9]
- พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2520 : นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2520 : นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[10]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พล.ต. อรุณ ทวาทศิน ตรงเข้าแย่งปืนเอ็ม 16 จาก นายทหารยศร้อยโท และปืนเอ็ม 16 กระบอกนั้นกำลังตกอยู่ในมือของ พล.ต. อรุณ อย่างเป็ดเสร็จ พล.อ. ฉลาด หิรัญศิริ ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ก่อการสั่งให้ พล.ต. อรุณ วางปืนแต่พอสิ้นคำว่าวางปืน พล.อ. ฉลาด ทำการยิงใส่ตัว พล.ต. อรุณ จนไม่สามารถถือปืนเอ็ม 16 ได้แล้ว พลเอก ฉลาด ก็ยิงซ้ำอีกจนร่างของ พล.ต. อรุณ ทรุดลงและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ไปถึงโรงพยาบาลได้ไม่นาน พล.ต. อรุณ ถึงแก่อนิจกรรมในวันก่อการ[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลเอก อรุณ ทวาทศิน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[13]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[15]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[16]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[17]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[18]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[20]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[21]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง (พร้อมสายสะพาย)[22]
- เวียดนามใต้ :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2514 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[23]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับ วี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ถูกกระสุน 11 มม. 6 นัด". หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. 27 March 1977. p. 3.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา, 2405-2486 (2521). พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 อรุณ ทวาทศิน : วันดับกับเหตุการณ์ดุ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติ ที่ ๓๗๓/๒๕๑๕ เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๖ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๐๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งราชองครักษ์เวร, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๗๑ ง หน้า ๒๕๒๐, ๔ กันยายน ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๘๒, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๒๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๘๙, ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑๙๖๗, ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑๙๖๖, ๓ พฤษภาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๓๕๒, ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๗๑๑, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๖, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๙
- ↑ https://www.parlament.gv.at/dokument/XXIV/AB/10542/imfname_251156.pdf
- ↑ AGO 1971-31 — HQDA GENERAL ORDERS: MULTIPLE AWARDS BY PARAGRAPHS