ข้ามไปเนื้อหา

อริยา อรุณินท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อริยา อรุณินท์
เกิด21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 (60 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากผู้ร่วมออกแบบงานผังของ สวนหลวง ร.9 และได้ออกแบบงานภูมิสถาปัตย์ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บิดามารดาโอภาส อรุณินท์
ทันตแพทย์หญิงยิ่งกมล อรุณินท์

ศาสตราจารย์ อริยา อรุณินท์ (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) อาจารย์ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภาสถาปนิกไทย (จากการแต่งตั้ง) พ.ศ. 2550–2553[1] [2] [3] คณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551–2552 ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรมในเขตศาสนสถานและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง [4] คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษานโยบาย กฎหมาย และโครงสร้างหน่วยงานการตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง [5] วุฒิสภา คณะกรรมการ/ที่ปรึกษา โครงการออกแบบอนุสรณ์สถาน ฯพณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล เพื่อประดิษฐาน ณ สนามหน้าหอประชุม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คณะทำงานการปฏิรูประบบการผังเมืองและการใช้พื้นที่ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูประบบผังเมืองและการใช้พื้นที่ (ในส่วนคณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาปฏิรูปแห่งชาติ) ที่ปรึกษางานวางผังแม่บทโครงการศูนย์การเรียนรู้การพัฒนา ศูนย์ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ และ ต้นน้ำห้วยลู่ จ.น่าน (โครงการพระราชดำริ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) และเป็นภูมิสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบงานผังของ สวนหลวง ร.9 และผู้ออกแบบงานภูมิสถาปัตย์ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน 2564 [6] นับเป็นศาสตราจารย์ท่านที่ 3 ของ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติ

[แก้]

อริยาเกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรของโอภาส อรุณินท์ และทันตแพทย์หญิงยิ่งกมล อรุณินท์ เข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ในสหรัฐอเมริกา ปริญญาเอกที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ผลงาน

[แก้]

อาจารย์อริยาเริ่มทำงานในตำแหน่งภูมิสถาปนิกภายใต้คำแนะนำของศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำในโครงการสวนหลวง ร.9 หลังจากนั้นในระหว่างที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ได้ทำงานกับสำนักงานภูมิสถาปนิกดีไซน์เวิร์กชอป (Design Workshop Inc) ในเมืองเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ภายหลังจบการศึกษาได้มาประจำที่กรมโยธาธิการในตำแหน่งภูมิสภาปนิก และได้ทำโครงการ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ที่ทุ่งมะขามหย่อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ราชการจังหวัดอีกหลายแห่ง และในปี พ.ศ. 2532 ได้มาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ในประเทศเยอรมนี VDM Verlag Dr. Müller เป็นหนังสือชื่อ "Public Land Management Policy for Urban Vacant Land." Aruninta, A. และสำนักพิมพ์ในประเทศอังกฤษ Alpha Science International ชื่อหนังสือ "Landscape Architectural Design and Construction Technology" Aruninta, A.

อาจารย์อริยา ยังเป็นประธานกรรมการจัดงานการประชุมนานาชาติทางด้านภูมิสถาปัตยกรรม 2011 IFLA-Asia Pacific Regional Congress [7] และกรรมการตัดสินการประกวดแบบภูมิสถาปัตยกรรมระดับนานาชาติ ได้แก่ 1) 2017 SILA Awards โดย Singapore Institute of Landscape Architects 2) 2017 Gantim PALA Awards โดย Philippine Association of Landscape Architects [8] 3) MLA Award โดย ILAM - Institute of Landscape Architects Malaysia

ผลงานหนังสือ

[แก้]

รางวัลและทุนการศึกษาที่ได้รับ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 38ง. ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2550
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาสถาปนิก เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๙๒ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ พิเศษ 101ง. ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2553 หน้า 10
  4. "รายนามคณะกรรมาธิการฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
  5. "รายนามคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษานโยบาย กฎหมาย และโครงสร้างหน่วยงานการตั้งถิ่นฐานและการผังเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-01-24.
  6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 223 ง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์
  7. เว็บไซต์การประชุมนานาชาติของสหพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ เก็บถาวร 2018-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เปิดดู กันยายน 2553
  8. เว็บไซต์ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดดู กุมภาพันธ์ 2561
  9. ข้อมูลหนังสือจากเว็บไซต์ Chulabook ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  10. ข้อมูลหนังสือจากเว็บไซต์ Alpha Sci[ลิงก์เสีย]
  11. ข้อมูลหนังสือ Public Land Management Policy for Urban Vacant Land : The Development of a Public Land Management Policy for Under-Utilized Space in Bangkok, Thailand. VDM Verlag Dr. Müller (25.08.2010)
  12. ข้อมูลหนังสือ จากเว็บไซต์ Amazon
  13. จากเว็บไซต์ Amazon
  14. จากเว็บไซต์ Alpha Sci[ลิงก์เสีย]
  15. จากเว็บไซต์ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
  16. จากเว็บไซต์ร้านนายอินทร์
  17. ศูนย์หนังสือจุฬาฯ
  18. จากเว็บไซต์ร้านนายอินทร์
  19. จากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ด
  20. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจิยแห่งชาติ เรื่อง รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ประจำปี ๒๕๕๔[ลิงก์เสีย]
  21. Fulbright 2003 - 2004 Visiting Scholar Directory เก็บถาวร 2011-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข้อมูลนักวิจัย เปิดดู กันยายน 2553
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๙, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๓๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจําปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๗๖, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]