ข้ามไปเนื้อหา

ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อรพรรณ บางประภากร)
ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 3
สัญลักษณ์ของ ยูบีซี-ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่น 3
พิธีกรเศรษฐา ศิระฉายา
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
จำนวนตอน10
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตอรรถพล ณ บางช้าง
สถานที่ถ่ายทำโครงการบ้านแมกโนเลีย
(บ้านพักนักล่าฝัน)
ธันเดอร์โดม
(คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 1-9)
อิมแพ็ค อารีน่า
(คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 10)
ความยาวตอนถ่ายทอดสด
เรียลลิตี้: 24 ชั่วโมง
คอนเสิร์ตสัปดาห์ที่ 1-10:
21.00 - 23.30 น. (2 ชั่วโมง 30 นาที)
ออกอากาศ
เครือข่ายยูบีซี , ทรู เรียลิตี้ , ยูบีซี อินไซด์ , โมเดิร์นไนน์ทีวี
ออกอากาศ3 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เวลา 00.00 น. –
9 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 24.00 น.

ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 3 (ชื่อเดิม : ยูบีซี-ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ฤดูกาลที่ 3) จัดระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม - 9 กันยายน พ.ศ. 2549 เป็นครั้งแรกที่มีผู้เข้าแข่งขันเริ่มต้นจำนวนทั้งสิ้น 13 คน เนื่องจากมีฝาแฝดเข้าสู่บ้านและได้ใช้รหัสเดียวกัน คือ V3 แอปเปิ้ล-เชอรี่ โดยสิทธิต่าง ๆ จะเหมือนกับคนอื่นทุกประการในรหัสเดียวกัน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตประจำสัปดาห์ ทุกวันเสาร์ เวลา 21.00 น. - 23.30 น. ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี

ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ

[แก้]

ผู้สนับสนุนสถานที่ถ่ายทำ

[แก้]

ผู้ร่วมสนับสนุน

[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันรายการ

[แก้]

Trainer และ บุคลากร

[แก้]

พิธีกรประจำรายการ

[แก้]

ฝ่ายบริหาร

[แก้]
  • ครูขวัญ - ดร.วรรณ์ขวัญ พลจันทร์ (ครูใหญ่ประจำบ้าน UBC Aacademy Fantasia Season 3)
  • ครูรัก (ครูพิเศษ)

Voice Trainer จาก Gen X Academy

[แก้]
  • ครูปุ้ม - อรวรรณ เย็นพูนสุข (หัวหน้าทีม Voice Trainer)
  • ครูกานต์ - กานต์ จั่นทอง
  • ครูบิ๊ก - ธนัท ธัญญหาญ
  • ครูบี - เนตรนภา หาญโรจนวุฒิ

Dance Trainer จาก La Danse

[แก้]
  • ครูเป็ด - วาเนสซ่า กัณโสภณ (หัวหน้าทีม Dance Trainer)
  • ครูอาร์ท - อัศกร สุจาริธรรม
  • ครูปุ้ม - อนุสรณ์ มุสิกสินธ์
  • ครูอาร์ทเล็ก
  • และทีม

Acting Trainer จากสถาบันดนตรีมีฟ้า

[แก้]
  • ครูน้ำมนต์ - ธีรนัยน์ ณ หนองคาย (หัวหน้าทีม Acting Trainer)
  • ครูบัว
  • ครูโมเม
  • ครูโกะ - โซโนโกะ พราว
  • ครูเป๋อ - ภคกุล สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

Commentator

[แก้]

เซอร์ไพรส์และเหตุการณ์สำคัญในฤดูกาลนี้

[แก้]
  • สัปดาห์ที่ 1 เพลงพระราชนิพนธ์ ไม่มีการคัดคนออก (V11 บรูน่า คะแนนน้อยที่สุดในสัปดาห์ที่ 1)
  • สัปดาห์ที่ 2 เพลงคู่ ก่อนประกาศผู้ออกจาก อาต้อยประกาศว่ามีคนที่คะแนนน้อยเท่ากัน 2 คน จึงมีคนที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุด 4 คน
  • สัปดาห์ที่ 6 เพลงเพื่อแม่ ไม่มีการคัดคนออก และ V12 ตุ้ย ได้รับรางวัลจากการได้คะแนนโหวตสูงสุดประจำสัปดาห์โดยรางวัลที่ได้รับคือ ได้ท่องเที่ยวที่ประเทศฮ่องกง เป็นเวลาทั้งสิ้น 3 วัน 2 คืนตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม - 16 สิงหาคม พร้อมกับแม่ และร่วมเดินทางไปกับผู้ฝึกสอน 2 คนคือ กานต์ จั่นทอง ผู้ฝึกสอนสาขา Voice และ วาเนสซ่า กัญโสภณ ผู้ฝึกสอนสาขา Dance เพื่อทำการฝึกสอนโจทย์เพลงในสัปดาห์ที่ 7 ระหว่างที่ V12 ตุ้ย อยู่ในฮ่องกง และนอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้ไปพบกับ อู๋ จัวซี ดาราและนักร้องชาวฮ่องกงที่สถานีโทรทัศน์ทีวีบี ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดถูกถ่ายทอดสดกลับสู่ประเทศไทยอีกด้วย
  • สัปดาห์ที่ 8 เพลงลูกทุ่ง ได้มีนักแสดงตลก จอย ชวนชื่น , ต๋อง ชวนชื่น , ค่อม ชวนชื่น มาสร้างสีสันให้กับคอนเสิร์ต
  • สัปดาห์ที่ 9 มีการให้นักล่าฝันที่ออกจากบ้านไปแล้วทั้ง 7 คนมาร่วมแสดงละครบนเวทีและร้องเพลงร่วมกับนักล่าฝันคนที่ยังอยู่ในการแข่งขันด้วย
  • หลังการแข่งขัน มีการเปิดเผยว่าในฤดูกาลนี้มีผลโหวตทั้งหมด 13 ล้านโหวตแต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ใน 13 ล้านโหวตเป็นของตุ้ย V12 เพียงคนเดียวมากถึง 11.5 ล้านโหวตคิดเป็น 88.48% ของการโหวตทั้งหมด

รูปแบบเวทีคอนเสิร์ตของ TrueAF3

[แก้]

เวทีในซีซั่นนี้จัดแสดงที่ ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี โดยรูปแบบเวทีมีลักษณะ สถาปัตยกรรมกอทิก แบบยุโรป ฉากหลังกลางเวทีเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ ในฉากประกอบไปด้วยแผงไฟและป้ายโลโก้ ข้างหน้าฉากมีบันได แต่จะเป็นบันไดที่แตกต่างรูปแบบไปเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ รูปแบบฉากออกแนวยุโรปสีน้ำตาลเหมือนเป็นก้อนอิฐ ที่เล่นของวงดนตรีอยู่ข้าง ๆ บันไดทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งซ้ายและขวาเวทีเป็นฉากประตูยุโรปขนาดใหญ่ มีฝั่งละ 6 ประตู เป็นสีน้ำตาลเหมือนเป็นก้อนอิฐ ออกแนวปราสาทเหมือนโบสถ์ของยุโรป ฝั่งซ้ายสุดของเวทีคือที่นั่งพักของนักล่าฝัน โดยที่นั่งของนักล่าฝันจะเป็นขั้นบันไดที่ลงมาจากประตู และ ฝั่งขวาของเวทีคือมุมสัมภาษณ์ โดยมุมสัมภาษณ์จะอยู่ริมฮอลล์ ฝั่งซ้ายและขวาเวทีมีบันไดที่ออกมาจากประตู พื้นเวทีเป็นสีดำ ขอบเวทีเป็นเส้นสีทอง และ มีลวดลายที่เวทีหลักเป็นลายดอกไม้ แคทวอล์คยื่นออกไปกลางฮอลล์ สุดแคทวอล์คคือจุดศูนย์กลางวงกลม ที่จุดกลางลายเวทีเป็นลายดอกไม้ ข้างในเวทีมีระเบิดไฟที่ประกอบการแสดง ผิวขอบเวทีเป็นลายอิฐสีน้ำตาล ริมขอบเวทีมีเปลวเพลิงอยู่ บนเพดานมีผ้าที่มัดรวมเป็นกันเป็นช่อโยงไปทั่วฮอลล์ และในบางสัปดาห์มีการจัดแต่งเวทีเพิ่มดังนี้ สัปดาห์ที่ 2 ได้ย้ายที่นั่งสัมภาษณ์ไปฝั่งขวาสุดฮอลล์จากที่ตั้งที่เวทีตรงบันได สัปดาห์ที่ 6 ได้เปลี่ยนฉากกลางเวทีเป็นจอ LED ขนาดใหญ่ และ บันไดกลางเวทีเป็นบันไดที่มีไฟ LED หลากสีติดอยู่ข้างใน สัปดาห์ที่ 7 ได้เปลี่ยนวงกลมปลายสุดของแคทวอล์คเป็นที่เล่นดีเจ สัปดาห์ที่ 8 ได้ปรับแต่งเวทีให้เข้ากับสัปดาห์ลูกทุ่ง โดยกลางฉากมีประตูลูกทุ่ง สัปดาห์ที่ 10 สัปดาห์สุดท้ายของการแข่งขันได้เปลี่ยนเวทีการแสดงไป ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ลักษณะเวทีได้ปรับแต่งดังนี้ ที่นั่งพักของนักล่าฝันได้ย้ายไปซ้ายสุดฮอลล์ และ แคทวอล์คได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นตัว T โดยแคทวอล์คหลักมีแคทวอล์คแยกซ้ายขวาออกมา แต่พื้นแคทวอล์คยังเป็นแบบเดิม และ ฉากหลักเป็นรูปแบบเหมือนสัปดาห์ปกติ แต่ฉากหลังกลางเวทีเป็นจอ LED ขนาดใหญ่

โจทย์ในแต่ละสัปดาห์ และ ลำดับการร้องในคอนเสิร์ต

[แก้]

สัปดาห์ที่ 1 (8 กรกฎาคม 2549) : Theme เพลงพระราชนิพนธ์

[แก้]
  • V4 ซาร่า : สายฝน
  • V10 ลูกตาล : ดวงใจกับความรัก
  • V3 แอปเปิ้ล-เชอร์รี่ : แสงเดือน
  • V1 ต้า : ชะตาชีวิต
  • V6 ตูน : เราสู้
  • V5 มิ้น : ลมหนาว
  • V11 บรูน่า : Somewhere Somehow
  • V9 ก้อ : แสงเทียน
  • V12 ตุ้ย : ยามเย็น
  • V2 เพชร : อาทิตย์อับแสง
  • V7 โด่ง : Oh I Say
  • V8 บอย : ใกล้รุ่ง

สัปดาห์ที่ 2 (15 กรกฎาคม 2549) : Theme เพลงคู่

[แก้]

สัปดาห์ที่ 3 (22 กรกฎาคม 2549) : Theme เพลงประจำสไตล์ตัวเอง

[แก้]

สัปดาห์ที่ 4 (29 กรกฎาคม 2549) : Theme เพลงฮิตติดชาร์ต

[แก้]

สัปดาห์ที่ 5 (5 สิงหาคม 2549) : Theme สัตว์โลกกับเสียงเพลง

[แก้]

สัปดาห์ที่ 6 (12 สิงหาคม 2549) : Theme เพลงเพื่อแม่

[แก้]

สัปดาห์ที่ 7 (19 สิงหาคม 2549) : Theme เพลงเต้น

[แก้]

สัปดาห์ที่ 8 (26 สิงหาคม 2549) : Theme เพลงลูกทุ่ง

[แก้]

สัปดาห์ที่ 9 (2 กันยายน 2549) : Theme เพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]
  • โชว์รวมละครเวทีสั้น 6 นักล่าฝัน Snow White The Comedy และรับเชิญจาก 7 นักล่าฝันที่ออกไปแล้ว

6 โชว์แรก

6 โชว์สุดท้าย

สัปดาห์ที่ 10 (9 กันยายน 2549) : Theme Last Song

[แก้]

5 โชว์แรก

5 โชว์สุดท้าย

เพลงแต่ง และ เมดเลย์โชว์ประทับใจ

ผลการแข่งขัน

[แก้]
รหัส ชื่อ สัปดาห์ ตำแหน่งที่ได้รับ/โจทย์เพลงในสัปดาห์ที่ตกรอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
V12 ตุ้ย - เกียรติกมล ล่าทา                 สุดยอดนักล่าฝัน
V1 ต้า - สักกทัศน์ กุลไพศาล             รองชนะเลิศอันดับ 1
V8 บอย - สิทธิชัย ผาบชมภู                 รองชนะเลิศอันดับ 2
V5 มิ้น - มิณฑิตา วัฒนกุล             รองชนะเลิศอันดับ 3
V4 ซาร่า - นลิน โฮเลอร์               รองชนะเลิศอันดับ 4
V9 ก้อ - ธรรมนูญ ตั้งบุญธินา             ออก (เพลงประกอบภาพยนตร์)
V7 โด่ง - ศิระ รัตนโภคาสถิต             ออก (เพลงลูกทุ่ง)
V6 ตูน - ธัชพล ชุมดวง             ออก (เพลงเต้น)
V3 แอปเปิ้ล - อรพรรณ บางประภากร + เชอร์รี่ - พรรณสิริ บางประภากร     ออก (สัตว์โลกกับเสียงเพลง)
V11 บรูน่า - โชติกา เบนเนลลี่   ออก (เพลงฮิตติดชาร์ต)
V2 เพชร - พชร พูลสวัสดิ์     ออก (เพลงประจำสไตล์ตัวเอง)
V10 ลูกตาล - ธนวรรณ ดีพัฒนบูลย์   ออก (เพลงคู่)
  •   หมายถึง ผู้ที่ยังอยู่ในการแข่งขัน
  •   หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุด 1 ใน 3 อันดับ
  •   หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดแต่ไม่ต้องออก
  •   หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนโหวตน้อยที่สุดและต้องออกจากการแข่งขัน
  •   หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดอันดับ 1 ในสัปดาห์นั้น
  •   หมายถึง ผู้ที่มีคะแนนสูงสุดอันดับ 2 หรือ 3 ในสัปดาห์นั้น
  •   หมายถึง ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]