ข้ามไปเนื้อหา

อภิมหาบรรษัท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อภิมหาบรรษัท หรือ เมกาคอร์เพอเรชัน (อังกฤษ: Megacorporation, mega-corporation หรือ megacorp) เป็นคำที่ Alfred Eichner บัญญัติไว้ในหนังสือของเขาชื่อ The Megacorp and Oligopoly: Micro Foundations of Macro Dynamics[1] แต่ผู้ทำให้คำนี้ได้รับความนิยมคือ วิลเลียม กิบสัน[2][3] โดยมีที่มาจากอุปสรรคเมกะตามด้วยคำว่า คอร์เพอเรชัน อภิมหาบรรษัทกลายมาเป็นที่แพร่หลายในวรรณกรรมไซเบอร์พังก์ คำนี้มีความหมายเหมือนกันกับ syndicate, globalist- หรือ transnational capital คำนี้หมายถึงบริษัท (โดยทั่วไปเป็นบริษัทสมมุติ) ที่มีขนาดใหญ่ ประกอบธุรกิจหลายประเภท (มักเป็นของเอกชน) ซึ่งทำการผูกขาด หรือเกือบจะผูกขาดในหลายตลาด (ซึ่งแสดงการผูกขาดทั้งแนวนอนและแนวตั้ง) อภิมหาบรรษัทมีอำนาจมากจนอยู่เหนือกฎหมายของรัฐบาล มีกองทัพส่วนตัวที่ติดอาวุธหนัก (เทียบเท่าการทหาร) ควบคุมกองกำลังตำรวจแปรรูป มีดินแดน "อธิปไตย" และกระทั่งทำหน้าที่เป็นรัฐบาลโดยตรง บริษัทเหล่านี้มักจะควบคุมพนักงานอย่างเด็ดขาด โดยนำแนวคิดเรื่อง "วัฒนธรรมองค์กร" มาใช้อย่างสุดขั้ว

ตัวอย่างในภาพยนตร์[แก้]

ในภาพยนตร์แฟรนไชส์เอเลี่ยน ตัวละครต่าง ๆ ถูกจัดการและคุกคามซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยอภิมหาบรรษัทขนาดใหญ่ไร้ยางอายนาม Weyland-Yutani ซึ่งแสวงหาผลกำไรจากเอเลี่ยน

โลโก Buy N' Large

ในภาพยนตร์แอนิเมชั่นของพิกซาร์เรื่องวอลล์ - อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย อภิมหาบรรษัท Buy n' Large ได้เข้ามาแทนที่รัฐบาลของดาวเคราะห์ทุกแห่งโดยบริบูรณ์

ในภาพยนตร์ชุด อวตาร Resources Development Administration (RDA) เป็นอภิมหาบรรษัทที่มีความสามารถเหนือกว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ในด้านความมั่งคั่ง อิทธิพล และอำนาจทางการทหาร RDA ได้ผูกขาดกรรมสิทธิ์ในอาณานิคมและทรัพย์สินต่างดาวทั้งหมด ซึ่งได้รับอนุมัติตลอดไปจากคณะกรรมการระหว่างประเทศ

ตัวอย่างในเกม[แก้]

ในเกมวางแผนแนวไซไฟ Stellaris ผู้เล่นสามารถเลือกควบคุมบริษัทขนาดใหญ่ที่กลืนกินรัฐบาลต่างดาวในทุกด้าน ด้วยนโยบายที่หลากหลาย เช่น ภาระจำยอมตามสัญญา กลุ่มบริษัทสื่อ หรือแม้แต่การฟื้นคืนชีพของพนักงาน[4]

ในวิดีโอเกม The Outer Worlds บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งซื้อสิทธิ์ในระบบสุริยะจากรัฐบาลโลก อาณานิคมของบริษัทซึ่งห่างไกลจากอิทธิพลของรัฐบาลหลายปีแสง จะถูกควบคุมโดยบริษัทแม่โดยพฤตินัย โดยการมีงานทำนั้นถือเป็นการมีสัญชาติ[ จำเป็นต้องอ้างอิง ]

ในแฟรนไชส์วิดีโอเกม Doom บริษัท Union Aerospace Corporation (UAC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกัน ประกอบกิจการบนดาวเคราะห์หลายดวง มักถูกเรียกว่าเป็นอภิมหาบรรษัท[5]

ในแรทเช็ทแอนด์แคลงค์ แต่ละกาแล็กซีถูกครอบงำโดยผู้ผลิตอาวุธที่ผูกขาดทางการค้าเกือบทั้งหมด ซึ่งผู้ผลิตอาวุธรายที่ใหญ่มีชื่อว่า "เมกาคอร์ป"[ต้องการอ้างอิง]

ในไซเบอร์พังก์ 2077 อภิมหาบรรษัทหลายแห่ง (ที่โดดเด่นที่สุดคือ Arasaka และ Militech) ให้บริการรักษาความปลอดภัยและจำหน่ายอาวุธ พร้อมทั้งควบคุมประชากรด้วยวิธีการต่าง ๆ ในแบบดิสโทเปีย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Eichner, Alfred S., บ.ก. (1976), "The nature of the megacorp", The Megacorp and Oligopoly: Micro Foundations of Macro Dynamics, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 19–54, doi:10.1017/CBO9780511895647.003, ISBN 978-0-521-06861-1, สืบค้นเมื่อ 2023-01-02
  2. Tatsumi, Takayuki (2006). Full metal apache : transactions between cyberpunk Japan and avant-pop America. Internet Archive. Durham, NC : Duke University Press. ISBN 978-0-8223-3762-1.
  3. "Salon Books | "An engine of anarchy"". 2008-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-08. สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
  4. "Stellaris: MegaCorp - Paradox Interactive".
  5. "UAC". DoomWiki.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  6. Harvey, Angie; L, Wesley; Hoolihan, Hannah (October 30, 2020). "Cyberpunk 2077 Guide – Corporations". IGN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-25.