อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย
อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 1 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | เฉลิมชาติ การุญ |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 | |
ก่อนหน้า | ทวีวัฒน์ ฤทธิ์ฤๅชัย |
ถัดไป | เฉลิมชาติ การุญ |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | ชาญชัย พรหมสาขา ณ สกลนคร |
ถัดไป | เจริญ การุญ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | สุภนันท์ ตีรสวัสดิชัย |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขต 1 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ที่ตำบลขัวก่าย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายเต็ก และนางเอ็ง ตีรสวัสดิชัย มีพี่น้อง 4 คน หนึ่งในนั้นคือนางลดาวัลย์ รามางกูร ภรรยานายวีรพงษ์ รามางกูร หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ได้เข้าไปศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร และได้สำเร็จการศึกษา พาณิชย์ศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สำเร็จการศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สมรสกับเภสัชกรหญิงสุภนันท์ มีบุตร 2 คน
งานการเมือง
[แก้]นายอภิชาติ ได้เริ่มทำงานการเมืองระดับท้องถิ่น ในปี 2529 -2534 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร 2 สมัย เป็นประธานสภาจังหวัดสกลนคร 2 สมัย และก้าวเข้าสู่การเมืองระดับชาติในการเลือกตั้งสส.ทั่วไปปี 2535 นายอภิชาติได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร เขตเลือกตั้งที่ 1ในนามพรรคประชาธิปัตย์สามสมัยติดต่อกัน(2535/1,2535/2 และ 2538) ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 และในปี 2535/2 ได้รับตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[1] ต่อมา พ.ศ. 2539 ไม่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่เข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้ง หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 นายอภิชาติย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับการรับเลือกในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตาม ต่อมาในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 นายอภิชาติย้ายกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทย และกลับมาได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยปัจจุบันได้ตำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการคนที่หนึ่ง ของคณะกรรมาธิการการเงินการคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อภิชาติ ตีรสวัสดิชัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย ได้รับเลือกตั้งหลายสมัยมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๗/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑ นายคำรณ ณ ลำพูน ๒ นายอภิชาติ ตรีสวัสดิชัย ๓ นายแก้ว บัวสุวรรณ ๔ นายพรเทพ วิริยพันธ์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอวานรนิวาส
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.