ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรี ทับสุวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรี ทับสุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองรวมพลัง (2561–2565)
ภูมิใจไทย (2565–2566)
ชื่อเล่นอาย

อนุสรี ทับสุวรรณ (เกิด 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมพลัง อดีตสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ประวัติ

[แก้]

อนุสรี ทับสุวรรณ เกิด 23 พฤษภาคม 2512 เป็นบุตรของ พล.ต.ท.อนุชา ทับสุวรรณ และ สิตางศุ์ บูรณสิงห์ ทับสุวรรณ บิดาเป็นนายตำรวจคนสนิทของพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เธอได้เข้าเรียน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนจบปริญญาตรี เกียรตินิยม อันดับ 2 และปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (นโยบายการพัฒนา) จากมหาวิทยาลัย United States International University - Europe กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

การทำงาน

[แก้]

อนุสรี ทับสุวรรณ เคยเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2537 ทำงานที่กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมสารนิเทศ กรมเอเชียตะวันออก สำนักนโยบายและแผน สำนักบริหารบุคคล ที่สำคัญ เป็นกงสุล ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง 4 ปี ระหว่างปี 2547-2550 เคยเป็นเลขานุการ รมช.และ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ)[1] ต่อมาลาออกจากราชการมาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยอาจารย์สมัยรัฐศาสตร์จุฬาฯ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ชวนให้มาทำงานในตำแหน่ง เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [2] ถือเป็นงานการเมืองครั้งแรก ระหว่างปี 2554-2557

จากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ได้ชักชวนให้มาทำงานที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[3] และต่อด้วยกระทรวงแรงงาน ในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีบทบาทในการดูแลด้านยุทธศาสตร์ปฏิบัติการข่าวสารและมิติการเมือง รวมทั้งงานด้านต่างประเทศ สตรี เด็ก ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และเจรจากับกลุ่มองค์กรต่างๆ

อนุสรี ทับสุวรรณ เข้าสู่การเมืองอย่างจริงจังโดยการรับตำแหน่ง ผู้อำนวยการพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) เมื่อปี 2561 และต่อมารับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในลำดับที 4 เมื่อวันที 7 ก.พ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในนามพรรครวมพลังประชาชาติไทย ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรครวมพลัง

หลังจากทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนเกือบครบวาระสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ นางสาวอนุสรีฯ ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกพรรครวมพลัง ในวันที่ 15 ธันวาคม 2565 และเข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย วันที่ 16 ธันวาคม 2565 และลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566

ด้านสังคม

[แก้]

ในปี 2564 เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรสาธารณะประโยชน์ "สถาบันอนุสรีรวมใจให้กัน" เพื่อช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ใช้แรงงานที่ด้อยโอกาส ที่ได้รับความ เดือดร้อนจากผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายที่ผ่านมา
  • ธันวาคม 2546 – ธันวาคม 2550 ตำแหน่ง กงสุล ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
  • กรรมการจัดการเลือกตั้ง สส. และ สว. นอกราชอาณาจักรในฮ่องกง/มาเก๊า ตั้งแต่ ปี 2548 -2550
  • กงสุลปฏิบัติงานด้านการตรวจลงตรา และการคุ้มครองคนไทยในฮ่องกง/มาเก๊า
  • เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร14 ธันวาคม 2553 - 10 กุมภาพันธ์ 2557
  • ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงานที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการรณรงค์ให้ นายมณเฑียร บุญตัน เป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการประจำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ แห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก มิถุนายน 2560
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม 2nd ASEAN Ministerial Meeting on Women (AMMW)
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม China-ASEAN Disability Forum at Nanning,
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมผู้ประกอบการสตรีดีเด่นอาเซียน ASEAN WomemEntrpreneurs Forum 2015
  • หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม The 5th Asia Pacific Ministerial Conference on Housing and Urban development (APMCHUD)
  • โฆษกประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติงานที่ กระทรวงแรงงาน
  • ฝ่ายยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
  • ได้รับการรับรองการเป็น ส.ส. จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
  • กรรมการบริหารกลุ่มมิตภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เมียนมาร์
  • คณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมใหญ่สมัชชารัฐสภาอาเชียน AIPA ครั้งที่ 40
  • โฆษกคณะกรรมาธิการแรงงาน
  • ที่ปรึกษากลุ่มมิตภาพไทย-กัมพูชา
  • โฆษกคณะกรรมาธิการการแรงงาน

ประวัติการอบรม

[แก้]
  • 1. หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่63
  • 2. หลักสูตรนวัตกรรมการบริหาร (NIDA Max) จากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • 3. หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่น2) จากมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • 4. หลักสูตรอบรมโครงการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รวมมิตร)
  • 5. โครงการพัฒนาเครือข่ายและพัฒนาศักยภาพผู้บริหารระดับสูง (WiNSรุ่น3 ) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปี 2566

รางวัลเกียรติยศ

[แก้]
  • สตรีไทยดีเด่น สาขานักการเมือง จากสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ ปี 2558[4]
  • รางวัลต้นธรรม ต้นแบบบุคคลผู้ทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ ปี 2561[5]
  • รางวัลลูกผู้มีความกตัญญูกตเวที จากสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ฯ 12 สิงหาคม 2565

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สิ่งสุดท้ายที่อยากทำของสุรินทร์ พิศสุวรรณ สร้าง กทม.เป็นมหานครของโลก
  2. แต่งตั้ง "อนุสรี ทับสุวรรณ" เลขาฯ ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่
  3. พม.ย้ำทำงานเชิงรุก
  4. บุคคลในข่าว 29/02/59
  5. "อนุสรี"คว้ารางวัล "ต้นธรรม" เชื่อผลจากการทำงานเพื่อสังคม
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔