ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตจากเทศกาลโนวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตจากเทศกาลโนวา
אנדרטת נרצחי פסטיבל נובה
อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตจากเทศกาลโนวา
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งใกล้กับคิบบุตซ์เรอิม

อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตจากเทศกาลโนวา (ฮีบรู: אנדרטת נרצחי פסטיבל נובה) เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหยื่อของการสังหารหมู่ที่เทศกาลโนวา อนุสรณ์สถานนี้ตั้งอยู่ในลานจอดรถเรอิมใกล้กับคิบบุตซ์เรอิม ซึ่งเป็นสถานที่จัดเทศกาลในวันที่ 6–7 ตุลาคม พ.ศ. 2566[1][2][3]

ภูมิหลัง

[แก้]

ในเวลากลางคืนระหว่างวันที่ 6 ถึง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เทศกาลดนตรีโนวาถูกจัดขึ้นที่ลานจอดรถเรอิมใกล้กับคิบบุตซ์เรอิมใกล้กับเขตฉนวนกาซา

ในเช้าวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 6:29 น. การโจมตีด้วยจรวดจากฉนวนกาซาไปยังชุมชนโดยรอบได้เริ่มต้นขึ้น ภายใต้ระยะโจมตีของจรวด ฮะมาสได้เปิดฉากจู่โจมอิสราเอลแบบฉับพลัน โดยกองกำลังนุคบะฮ์ (نخبة) ได้ก่อเหตุสังหารหมู่ที่เทศกาลดังกล่าว

อนุสรณ์สถาน

[แก้]
ภาพถ่ายของผู้ที่ถูกสังหารในงานเทศกาล จัดแสดงอยู่ที่อนุสรณ์สถานในลานจอดรถของหมู่บ้านเรอิม

ภาพถ่ายของเหยื่อจากงานเทศกาลจัดแสดงอยู่ที่อนุสรณ์สถานในที่จอดรถของหมู่บ้านเรอิม ณ สถานที่เกิดเหตุสังหารหมู่ อนุสรณ์สถานแห่งนี้ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหยื่อ โดยในวันเทศกาลตู บิชวัท (ט"ו בשבט) ศักราชฮีบรู 5784 (พ.ศ. 2566) ครอบครัวของเหยื่อได้ปลูกต้นไม้เพื่อรำลึกถึงคนที่พวกเขารัก และกองทุนแห่งชาติยิว (קרן קיימת לישראל; Jewish National Fund, JNF) ได้ตั้งเสาที่แสดงภาพถ่ายของผู้ที่ถูกสังหารและลักพาตัว พร้อมด้วยธงชาติอิสราเอลที่ฐานของเสาเหล่านี้ ศิลปินจากทั่วประเทศได้วางประติมากรรม ดอกอะเนโมนี (anemone) สีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาวในป่าเรอิมบริเวณใกล้เคียง และทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์แทนชีวิตของเยาวชนที่สูญเสียไป[4][5][6]

นอกจากนี้ สมาชิกหน่วยช่วยเหลือฉุกเฉินพลเรือนยังได้นำป้ายที่มีข้อความว่า "Bring Them Home Now" พร้อมกับผ้าที่ประกอบด้วยภาพวาดผีเสื้อสีสันสดใส 40 ตัว ซึ่งแสดงถึงจำนวนคนที่ถูกจับตัวไปจากงานเทศกาลมาประดับไว้[2][7]

นับตั้งแต่เกิดการสังหารหมู่ มีผู้คนนับพันเดินทางมาที่สถานที่นี้เพื่อวางพวงหรีด คณะกลุ่มโรงเรียน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คณะผู้แทนจากต่างประเทศ และอื่น ๆ ได้เดินทางมาเยี่ยมชมอนุสรณ์สถานแห่งนี้สม่ำเสมอ[1][8][9][10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Kershner, Isabel (13 พฤษภาคม 2024). "Israelis Visit Nova Festival Site for National Day of Mourning". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. 2.0 2.1 "חרבות ברזל: מקומות שמומלץ לבקר ביישובי עוטף עזה שנפגעו". mako. 21 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  3. AFP News Agency (13 ธันวาคม 2023). A memorial at site of Nova festival to remember the victims of Hamas attack on October 7 | AFP. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  4. Amir Cohen (24 มกราคม 2024). "קק״ל נוטעת עצים בחניון רעים -"יש המשכיות" (קק״ל x כיפה)". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  5. חדשות כיפה בשיתוף קק"ל (24 มกราคม 2024). ""יש המשכיות" - האם השכולה נטעה עץ המסמל תקווה בחניון רעים בו נרצח בנה". כיפה. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024. (ในภาษาฮีบรู).
  6. ""מחווה מרגשת ומצמררת בדמעות": נטיעת עצים חדשים במתחם הנובה לזכר ההרוגים". www.maariv.co.il. 22 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024. (ในภาษาฮีบรู).
  7. Zoya Vaisbein (9 มีนาคม 2024). "חניון רעים, עצים לזכר הנרצחים, 9.3.2024". สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024 – โดยทาง ยูทูบ.
  8. "Never Forgotten: Memorializing the Victims of the Nova Massacre". Tazpit Press Service (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  9. Zitser, Joshua. "Israeli tour guides say leading groups to October 7 terror sites is the only way for them to make money now". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2024.
  10. ari (29 มีนาคม 2024). "Resilience Amidst Ruins: A Journey Through the Gaza Envelope". Exclusive Israel Tours (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2024.