ข้ามไปเนื้อหา

อนันต์ กาญจนพาสน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนันต์ กาญจนพาสน์
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2484[1]
ประเทศไทย
เสียชีวิต13 เมษายน พ.ศ. 2563 (78 ปี)
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสโซฟี กาญจนพาสน์[2][3]
บุตรปีเตอร์ กาญจนพาสน์
พอลล์ กาญจนพาสน์

อนันต์ กาญจนพาสน์ หรือ เสี่ยช้าง (2 มิถุนายน พ.ศ. 2484 – 13 เมษายน พ.ศ. 2563) ประธานกรรมการบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)[4] และเป็นเจ้าของโครงการเมืองทองธานี ซึ่งเขาเคยได้รับการจัดเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศไทย[5]

ประวัติ

[แก้]

อนันต์ เป็นทายาทรุ่นที่สองของมงคล กาญจนพาสน์[6] โดยเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องที่มีอยู่ทั้งหมด 10 คน และเป็นพี่ชายของคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) อนันต์สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยสวอซ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เริ่มดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทบางกอกแลนด์ รวมถึงเป็นเจ้าของโครงการเมืองทองธานี ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนถึง พ.ศ. 2563

อนันต์เป็นบุคคลสำคัญของตระกูลกาญจนพาสน์ ที่เคยสร้างชื่อเสียงในการสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ จนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการ ก่อนที่จะประสบกับวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ส่งผลให้ต้องเร่งทำการสะสางหนี้ เนื่องด้วยค่าเงินบาทลอยตัว[7]

พ.ศ. 2550 ธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมลงนามกับอนันต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทบางกอก แอร์พอร์ท อินดัสตรี จำกัด เพื่อทำสัญญาซื้อขายอาคาร 10 ชั้น เพื่อเป็นสำนักงานของธนาคารที่แจ้งวัฒนะ[8] ปัจจุบันเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (Kasikorn Business-Technology Group) หรือ เคบีทีจี (KBTG) เป็นกลุ่มบริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย โดยลักษณะธุรกิจจะเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีให้กับบริษัทในเครือฯ ทั้งหมด

พ.ศ. 2555 ภายหลังจากที่อนันต์ได้สะสางหนี้เสร็จสิ้น อนันต์ได้ร่วมกับบุตรชายสองคน ได้แก่ ปีเตอร์ กาญจนพาสน์ และพอลล์ กาญจนพาสน์ ได้ทำการรุกขยายในธุรกิจหลักทั้งสาม ซึ่งได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ธุรกิจศูนย์ประชุมศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี และธุรกิจขนส่งมวลชน[9] ที่ซึ่งอนันต์ ได้ทำการซื้อหุ้นคืนจากบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เมเนจเม้นท์ จำกัด โดยภายใต้การซื้อขายดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทนี้มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบางกอกแลนด์[10] และได้มีการจัดกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ขึ้นเป็นบริษัทแรกของประเทศไทยในปีต่อมา[11]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อนันต์ สมรสกับโซฟี กาญจนพาสน์ มีบุตร 2 คน คือ ปีเตอร์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบางกอกแลนด์[12][13] และพอลล์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น เมเนจเม้นท์ จำกัด[14][15]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ประวัติย่อ นายอนันต์ กาญจนพาสน์
  2. “อนันต์ กาญจนพาสน์” ถึงแก่กรรมแล้ว - ผู้จัดการออนไลน์
  3. "อนันต์ กาญจนพาสน์" เจ้าพ่ออสังหาฯ "บางกอกแลนด์" เสียชีวิตด้วยโรคชรา
  4. "อิมแพ็คให้กสิกรไทย และเมย์แบงก์ กิมเอ็ง ขายกองทรัสต์อิมแพ็คโกรท 20,000 ล้านบาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.
  5. "5 ปี ขอบัลลังก์คืน "ปีเตอร์ กาญจนพาสน์" - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-08. สืบค้นเมื่อ 2022-02-20.
  6. ก้าวใหม่'บางกอกแลนด์' ถอดบทเรียนจากอดีต - ฐานเศรษฐกิจ
  7. "'คีรี'ทวงบัลลังก์บิ๊กอสังหาฯ - Daily News - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.
  8. กสิกรไทย ลงนามซื้อตึกเป็นสำนักงาน แจ้งวัฒนะ
  9. "อนันต์"เปิดตัว 2 ทายาทลุย 3 ธุรกิจหลักกระหึ่ม! "บางกอกแลนด์"กลับมาผงาด!
  10. "เสี่ยช้าง-อนันต์ กาญจนพาสน์" กำเงินสดหมุนเวียนเพิ่มพันล้าน หลังบางกอกแลนด์ซื้อคืนหุ้นอิมแพ็ค
  11. อิมแพ็คฯ แต่งตั้งให้กสิกรไทย และเมย์แบงก์ กิมเอ็งเป็นที่ปรึกษาและผู้จัดการการจัดจำหน่ายกองรีทส์อิมแพ็คโกรท มูลค่าร่วม 20,000 ล้านบาท เป็นกองแรกของประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
  12. MiX Magazine : ปีเตอร์ กาญจนพาสน์
  13. "ต้อนรับงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 30". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.
  14. พอลล์ กาญจนพาสน์ ผู้สืบทอดศูนย์แสดงสินค้า “ต้องใหญ่และท้าทายกว่าเก่า”[ลิงก์เสีย]
  15. "ต้อนรับงานมันนี่ เอ็กซโป 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 2014-09-02.