อธิการ
หน้าตา
อธิการ (อังกฤษ: authority; superior) มาจากคำในภาษาบาลี "อธิการ" (adhikāra, ออกเสียงว่า "อะธิการะ") แปลว่าเจ้าหน้าที่ การหมายใจ หรือความดี[1] ในภาษาไทยปัจจุบันใช้คำนี้หมายถึงผู้มีอำนาจในด้านการปกครอง พบทั้งในศาสนจักร และการทหาร
ศาสนจักร
[แก้]พุทธจักร
[แก้]- ดูบทความหลักที่ พระสังฆาธิการ
อธิการของพระสงฆ์เรียกว่าพระสังฆาธิการ ซึ่งหมายถึงพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ไทยตั้งแต่ระดับเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาส[2] และเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่มีสมณศักดิ์ว่าพระอธิการ เรียกเจ้าคณะตำบลหรือพระอุปัชฌาย์ที่ไม่มีสมณศักดิ์ว่าเจ้าอธิการ
คริสตจักร
[แก้]ในคริสตจักร คำว่าอธิการใช้หมายถึงนักบวชที่มีตำแหน่งในการปกครอง ถ้าเป็นสตรีเรียกว่าอธิการิณี อธิการมีหลายประเภท ดังนี้
- อธิการโบสถ์ (parish priest) คือ บาทหลวงที่ได้รับมอบหมายจากมุขนายกประจำมุขมณฑลให้มีหน้าที่ปกครองเขตแพริช มีผู้ช่วยเรียกว่าผู้ช่วยอธิการโบสถ์ (curate)
- อธิการเซมินารี (rector (of seminary)) คือบาทหลวงที่มีหน้าที่ปกครองเซมินารี
- อธิการบ้านนักบวช (superior of religious house) คือนักบวชคาทอลิก (อาจไม่ใช่บาทหลวงก็ได้) ที่มีหน้าที่ปกครองบ้านนักบวช
- อธิการเจ้าคณะแขวง (provincial superior) คือนักบวชคาทอลิกที่ปกครองแขวงคณะนักบวช (เป็นหน่วยเขตการปกครองที่ประกอบด้วยบ้านนักบวชหลายบ้านในพื้นที่เดียวกัน)
- อธิการอาราม (abbot) หมายถึงนักพรตที่ปกครองอารามหรือแอบบีย์
- อัคราธิการหรือมหาธิการ (superior general; master superior) หมายถึงนักบวชที่เป็นผู้ปกครองสูงสุดในคณะนักบวชคาทอลิกแต่ละคณะ ในกฎหมายศาสนจักรจึงเรียกว่าอธิการสูงสุด[3]
- อธิการชั้นผู้ใหญ่ (major moderator) ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรหมายถึงอธิการสูงสุดและอธิการเจ้าคณะแขวง (รวมถึงผู้ช่วยของตำแหน่งเหล่านี้) ส่วนอธิการอารามถือว่ามีฐานะเทียบเท่าอธิการชั้นผู้ใหญ่ แต่ไม่ได้มีอำนาจเท่าอธิการชั้นผู้ใหญ่เสียทั้งหมด
การทหาร
[แก้]อธิการอาจหมายถึง
- พลาธิการ (quartermaster) คือหน่วยงานทหารและตำรวจที่ควบคุมการจัดที่พัก เครื่องใช้ อาหาร[4]
- เสนาธิการ (chief of staff) คือทหารที่ทำหน้าที่หาข่าวสาร ประมาณการ แนะนำ ทำแผนและคำสั่ง ประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชากับหน่วยทหาร แต่ไม่มีอำนาจบัญชาการหน่วยทหาร[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) และจำลอง สารพัดนึก, พจนานุกรม บาลี-ไทย สำหรับนักศึกษา ฉบับปรับปรุงใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2538, หน้า 16
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 1,200. ISBN 978-616-7073-56-9
- ↑ ประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ 2 มาตรา 622
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 818
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 1254
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |