ห่านที่วางไข่ทองคำ
ห่านที่วางไข่ทองคำ (อังกฤษ: The Goose that Laid the Golden Eggs) เป็นนิทานอีสปหมายเลขที่ 87 ตามระบบจำแนกนิทานสอนใจของ B. E. Perry เป็นนิทานตะวันตกที่มีเรื่องคล้าย ๆ กันของชาวตะวันออก หลายเรื่องก็มีห่านวางไข่ทองคำเหมือนกัน ในขณะที่บางเรื่องจะแทนห่านด้วยแม่ไก่หรือสัตว์ปีกอื่นที่วางไข่ทองคำ นิทานเรื่องนี้เป็นที่มาของสำนวนภาษาอังกฤษว่า 'ฆ่าห่านที่วางไข่ทองคำ' (killing the goose that lays the golden eggs) ซึ่งหมายถึงการทำลายทรัพยากรอันมีค่าโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา หรือการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์เนื่องจากความโลภ
เนื้อเรื่องและคติสอนใจ
[แก้]Avianus และ Caxton ต่างเล่าเรื่องเป็นห่านออกไข่ทองคำ ในขณะที่มีรูปแบบเรื่องอื่น ๆ ที่เล่าเรื่องเป็นแม่ไก่ออกไข่ทองคำ[1] เช่นในเรื่องที่แปลโดย Townsend มีใจความว่า "ชาวบ้านคนหนึ่งและภรรยาของเขามีแม่ไก่ที่วางไข่ทองคำทุกวัน พวกเขาคิดว่าแม่ไก่มีทองขนาดใหญ่ภายในตัว จึงฆ่าไก่เพื่อที่เอาทองออกมา หลังจากที่ลงมือทำไปแล้ว พวกเขากลับต้องแปลกใจที่แม่ไก่นั้นไม่ได้แตกต่างไปจากแม่ไก่ตัวอื่นที่พวกเขามี ผลจากความอยากรวยในเวลาอันสั้นได้ทำให้คู่สามีภรรยาที่โง่เขลาพลาดผลประโยชน์ที่เขาควรได้รับทุกวันจากการกระทำอันโง่เขลาของตน"[2]
สำนวนภาษาอังกฤษ "อย่าฆ่าห่านที่วางไข่เป็นทองคำ" (Kill not the goose that lays the golden egg)[3] หรือที่บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า "การฆ่าห่านทองคำ" (killing the golden goose) มาจากนิทานเรื่องนี้ สำนวนนี้มักใช้กับการกระทำสิ้นคิดที่ทำลายความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ ในนิทานสำนวนของ Caxton เล่าว่าเจ้าของห่านมีความโลภ ต้องการไข่สองฟองต่อวัน เมื่อห่านทำไม่ได้จึงฆ่ามันเสีย[4] คติสอนใจทำนองเดียวกันยังสอนไว้ในนิทานของ Ignacy Krasicki ในเรื่อง "ชาวสวน" (The Farmer) ที่มีความโลภอยากได้ผลผลิตจากที่ดินเป็นสองเท่า
มีนิทานอีกสำนวนหนึ่งโดย Syntipas (Perry Index 58) ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือของ Roger L'Estrange เมื่อ ค.ศ. 1692 ในเรื่อง "ผู้หญิงและแม่ไก่อ้วน" (A Woman and a Fat Hen นิทายหมายเลข 87) ความว่า สุภาพสตรีนางหนึ่งมีแม่ไก่ที่ออกไข่วันละหนึ่งฟอง เธอคิดไปว่าหากเธอให้ข้าวโพดแก่แม่ไก่มากขึ้น แม่ไก่อาจออกไข่วันละสองครั้ง เธอจึงทำการทดลองดังที่คิด แม่ไก่อ้วนท้วนขึ้นและเลิกออกไข่ ผู้แด่งให้ความเห็นว่า 'เราทุกคนควรกำหนดข้อจำกัดของความต้องการและมีความพึงพอใจกับสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เนื่องจากกลัวที่จะสูญเสียสิ่งที่มีอยู่' นิทานอีสปอีกเรื่องหนึ่งที่มีคติสอนใจอย่างเดียวกัน คือสุนัขและกระดูก
การประยุกต์ใช้ในงานศิลป์
[แก้]ภาพประกอบ "ห่านกับไข่ทองคำ" โดยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นชาวนาที่สิ้นหวังหลังจากค้นพบว่าเขาได้ฆ่าห่านไปอย่างไร้ความหมาย นิทานเรื่องนี้ยังเป็นหนึ่งในนิทานที่ถูกประยุกต์ใช้กับปัญหาการเมืองโดยนักวาดภาพประกอบชาวอเมริกันโธมัส แนสต์ ภาพประกอบแสดงถึงชาวนาที่กำลังสับสนจากคำแนะนำของนักการเมืองคอมมิวนิสต์ ปรากฏในนิตยสาร Harpers Weekly ฉบับวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2421 มีข้อความประกอบว่า ฆ่าห่านที่วางไข่ทองคำตลอด ("Always killing the goose that lays the golden eggs")[5] ภาพประกอบสื่อถึงเหตุการณ์ The Rail Strike ใน พ.ศ. 2420 ชาวนาในภาพหมายถึงสมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกปั่นประสาททางการเมือง มีภรรยาและลูกโศกเศร้าอยู่บริเวณพื้นหลังของภาพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Man And The Golden Eggs". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
- ↑ "163. The Hen and the Golden Eggs (Perry 87)". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
- ↑ Marvin, Dwight Edwards (1922). The Antiquity of Proverbs: Fifty Familiar Proverbs and Folk Sayings with Annotations and Lists of Connected Forms, Found in All Parts of the World. G. P. Putnam's Sons. pp. 188–189.
- ↑ "Avyan 24. Of the goos and of her lord (Perry 87)". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
- ↑ "Always Killing the Goose that Lays the Golden Eggs". Sophia.smith.edu. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.