หลวงปราโมทย์จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล)
หน้าตา
หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล) | |
---|---|
หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2508 | |
เกิด | ปราโมทย์ 23 มีนาคม พ.ศ. 2446 เมืองจันทบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (70 ปี) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย |
สาเหตุเสียชีวิต | หัวใจวาย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2463 – พ.ศ. 2516 |
นายจ้าง | ธนาคารไทยพาณิชย์ |
องค์การ | กระทรวงศึกษาธิการ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ที่มีความสำคัญต่อวงการศึกษาของไทย |
คู่สมรส | ทัสนีย์ ประโมทย์จรรยาวิภาช |
บุตร | 2 คน |
บิดามารดา | เหม็ง จันทวิมล วรรณ จันทวิมล |
ญาติ | อภัย จันทวิมล (น้องชาย) |
ครอบครัว | จันทวิมล |
รองอำมาตย์เอก หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช[1] นามเดิม ปราโมทย์ จันทวิมล (23 มีนาคม พ.ศ. 2446 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516) อดีตประธานกรรมการองค์การค้าของคุรุสภา ในราชการเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษา และเคยทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จนถึงเกษียณอายุ และเป็นพี่ชายของอภัย จันทวิมล อดีตปลัด, รัฐมนตรีช่วย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตำแหน่ง
[แก้]- อธิบดีกรมอาชีวศึกษา
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวัง (โรงเรียนหอวัง) คนที่ 4 พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2476
- อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน) คนที่ 13 ระหว่าง พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2477
- อาจารย์ใหญ่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพในปัจจุบัน) คนแรก ระหว่าง พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2496
ผลงาน
[แก้]ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมการวิทยาลัยวิชาการศึกษา อันประกอบด้วย
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประธานกรรมการ
- หลวงสวัสดิสารศาสตร์พุทธิ กรรมการ
- หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช กรรมการ
- นายอภัย จันทวิมล กรรมการ
- นายวิทูร ทิวทอง กรรมการ
- นายสนั่น สุมิตร กรรมการ
- นายเยื้อ วิชัยดิษฐ กรรมการ
- นายเชื้อ สาริมาน กรรมการ
- นายพร ทองพูนศักดิ์ กรรมการ
- นายรอง ศยามานนท์ กรรมการ
- หม่อมหลวงบุญเหลือ กุญชร กรรมการ
- นางสมัยสวาท พงศ์ทัต กรรมการ
- นายสวัสดิ์ สิงหพงษ์ กรรมการ
- นายสาโรช บัวศรี กรรมการและเลขานุการ
- ในการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ครั้งที่ 17 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2496 เรื่องที่ 7 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ประธานกรรมการกล่าวเปิดประชุม และแถลงว่า เพื่อที่จะให้กิจการด้านฝึกหัดครูได้ขยายตัวกว้างขวางยิ่งขัน “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ณ ถนนประสานมิตร”เดิมจึงได้เปลี่ยนรูปมาเป็น “วิทยาลัยวิชาการศึกษา” และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นบริหารงานให้เหมาะสมกับงานที่ขยายออกไป และประธานกรรมการได้ถือโอกาสแสดงความยินดี ที่คณะกรรมการชุดใหม่จะได้ดำเนินงานอันสำคัญต่อไป
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2503 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2515 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[4]
- พ.ศ. 2489 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บทละครเรื่อง เงาะป่า พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุรุสภาพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงประโมทย์จรรยาวิภาช (ปราโมทย์ จันทวิมล) ม.ว.ม.,ป.ช.,ต.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันพุธที่ ๒๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ง หน้า ๒๙๙๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๑๙๗๑, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๙
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2446
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2516
- ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- บรรดาศักดิ์ชั้นหลวง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- ครูชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์