หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล
หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 |
สิ้นชีพิตักษัย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (54 ปี) |
หม่อม | หม่อมเกื้อ สวัสดิกุล ณ อยุธยา |
พระบุตร | 4 คน |
ราชสกุล | สวัสดิกุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ |
พระมารดา | หม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา |
มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483) เป็นพระโอรสในมหาอำมาตย์เอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา
พระประวัติ
[แก้]มหาเสวกตรี หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ประสูติแต่หม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 เมื่อเจริญชันษาพระบิดาได้ส่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งจบมหาวิทยาลัย[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาราวปี พ.ศ. 2455 หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ ซึ่งทรงศึกษาวิชายิวยิตสูที่ทวีปยุโรป เสด็จกลับมาอาณาจักรสยาม ทรงเห็นว่าวิชานี้มีประโยชน์ต่อสวัสดิภาพสังคมเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงเผยแพร่แก่ครูและนักเรียนโรงเรียนพลศึกษากลาง (โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในปัจจุบัน) เป็นแห่งแรก ต่อมาทรงนำวิชายิวยิตสูไปทรงสอนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และได้มีการปฏิรูปใหม่เป็นวิชายูโด[1]
หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ ทรงเริ่มเข้ารับราชการ และทรงดำรงตำแหน่งอัครราชทูตประจำสำนักงานประจำที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างปี พ.ศ. 2467 – 2472[2] ต่อมาทรงเข้ารับราชการเป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ต้องเสด็จออกจากประเทศสยาม ในเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และประทับที่รัฐปีนัง กระทั่งสิ้นชีพิตักษัย[ต้องการอ้างอิง] เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 สิริชันษา 54 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ในปี พ.ศ. 2493
พระทายาท
[แก้]หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล เสกสมรสกับหม่อมเกื้อ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ระนอง; ธิดาของพระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) กับคุณหญิงคลับ ณ ระนอง) มีโอรส-ธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์อัญชนี สวัสดิกุล
- หม่อมราชวงศ์ดุษฎีวิบูลย์ สมรสกับจงกล สวัสดิกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม มิลินทราวิจิตร) มีบุตร 3 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงเยาวมาลย์ สมรสกับสุกริด ธารีนาค มีบุตร 1 คน คือ
- กิติมา ธารีนาค
- หม่อมหลวงศานติ์ศรี สวัสดิกุล
- หม่อมหลวงกีรณา สมรสกับพูลสมบัติ อุษามานนท์ มีบุตร 1 คน คือ
- ซินดี้ อุษามานนท์
- หม่อมหลวงเยาวมาลย์ สมรสกับสุกริด ธารีนาค มีบุตร 1 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ จิรประวัติ สมรสและหย่ากับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร มีพระธิดา 1 องค์ คือ
- หม่อมเจ้าจามเทพี ยุคล
ต่อมาหม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์สมรสใหม่กับหม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์ จิรประวัติ มีบุตร 1 คน คือ
- หม่อมราชวงศ์สุรภี สมรสกับหม่อมราชวงศ์วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงเสาวรส สวัสดิวัตน์
- หม่อมหลวงกุลยา สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์สุรภี สมรสกับหม่อมราชวงศ์วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์โสตถินันทน์ สมรสกับภารดี สวัสดิกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม แสงวิริยากุล) มีบุตร 3 คน ได้แก่
- หม่อมหลวงปรียา สมรสกับมีชัย มณีนาวา มีบุตร 3 คน ได้แก่
- ปริยธิดา มณีนาวา
- เดโชชัย มณีนาวา
- ปรียพงศ์ พันธุฟัก
- หม่อมหลวงวิสุทธิพงษ์ สมรสกับสุพัตรา สวัสดิกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมบูรณ์) มีบุตร 2 คน ได้แก่
- สวัสดิวงศ์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
- วงศ์วิบูลย์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงขัตติยานี สวัสดิกุล
- หม่อมหลวงปรียา สมรสกับมีชัย มณีนาวา มีบุตร 3 คน ได้แก่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2461 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[6]
- พ.ศ. 2473 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- 8 มีนาคม 2452 – เข็มพระชนมายุสมมงคล ชั้นที่ 3 เงิน ส่งไปพระราชทาน[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2468 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[9]
- นอร์เวย์:
- พ.ศ. 2470 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 1[10]
- สวีเดน:
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 1[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ JUDO ASSOCIATION OF THAILAND UNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING เก็บถาวร 2013-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ olympicthai.or.th สืบค้นเมื่อ 11-05-57.
- ↑ List of Ambassadors จากเว็บไซต์ thaiembassy.se สืบค้นเมื่อ 11-05-57.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๐, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๕, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๗๗, ๒ มีนาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๓๙, ๒๖ มกราคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๓๒, ๑ มิถุนายน ๒๔๗๓
- ↑ พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๙๖, ๒๑ มีนาคม ๒๔๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๕๑, ๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๕๖, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒