หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (เล็ก)
หม่อมเจ้า พระสังวรวรประสาธน์ (เล็ก ) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
ประสูติ | หม่อมเจ้าเล็ก พ.ศ. 2345 |
สิ้นชีพิตักษัย | พ.ศ. 2426 (81 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
บุพการี |
|
ราชวงศ์ | ปาลกะวงศ์ (ราชวงศ์จักรี) |
นิกาย | เถรวาท |
สำนัก | มหานิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดอมรินทรารามวรวิหาร จังหวัดธนบุรี |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดอมรินทรารามวรวิหาร |
หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าเล็ก ราชสกุลปาลกะวงศ์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย
ประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าเล็ก ประสูติเมื่อปีจอ พ.ศ. 2345 เป็นพระโอรสในพระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (ต้นราชสกุลปาลกะวงศ์) ประสูติแต่หม่อมทองสุก
หม่อมเจ้าเล็ก ปาลกะวงศ์ ทรงผนวชในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แล้วทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระ ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ และเป็นเจ้าอาวาสวัดอมรินทรารามวรวิหาร ทรงถวายตาลปัตรแฉกงาปรุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นลักษณะอย่างพัดด้ามจิ้ว รูปกลมมนอย่างพัดหน้านาง ยอดพัด และส้นพัด แกะลายบัว เหมือนพัดแฉก ใช้เป็นตาลปัตรสำหรับพระราชาคณะในราชตระกูลฝ่ายวิปัสสนาธุระ เดิมทรงเตรียมถวายพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าอำไพ ซึ่งทรงผนวชอยู่ แต่ทรงลาผนวชเสียก่อน หม่อมเจ้าพระสังวรประสาธน์ทรงถือเป็นพระองค์แรก[1] จนสิ้นชีพิตักษัยในปี พ.ศ. 2426[2]
ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เป็นประธานสงฆ์ 15 รูปเจริญพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีพืชมงคล[3]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าพระสังวรวรประสาธน์ (เล็ก) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พัดยศพิเศษ[ลิงก์เสีย] สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๑ ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์
- ↑ สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 91, 95. ISBN 974-417-530-3
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 21, รัตนชัยการพิมพ์, 2552. 296 หน้า. หน้า 234. ISBN 978-974-417-594-6